ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

Trick เล็กๆ การเลือกสินเชื่อเพื่อธุรกิจ “แฟรนไชส์” เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ตรงจุด


แม้ว่าเศรษฐกิจตอนนี้จะชะลอตัว หลายธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนจึงต้องชะลอตาม แต่เชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจ “แฟรนไชส์” ยังคงเป็นธุรกิจที่ผู้คนยังคงนิยมที่จะลงทุนและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเสียด้วย เหตุผลเพราะ แฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่มีระบบ ระเบียบแบบแผนที่จัดการง่าย แค่ลงทุนซื้อระบบที่เจ้าของแบรนด์ทำจนประสบความสำเร็จแล้วมาลงมือปฏิบัติบริหารต่อยอดได้ทันที

นอกจากนี้ ทางฟากฝั่งของภาครัฐเองโดยปัจจุบัน ก็ให้การสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟรนไชส์ขนาดเล็กที่ลงทุนไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มรถเข็น คีออสก์ ที่มีรูปแบบการผลิตไม่ยุ่งยาก ยกตัวอย่างเช่น กาแฟ เครื่องดื่ม หมูปิ้ง ลูกชิ้น ฯลฯ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือไปยังกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ให้มีอาชีพและยังสามารถลงทุนได้ ภายใต้การสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ SME D Bank เป็นต้น

โดยแหล่งเงินของการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์ คือสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีข้อดีข้อดสียที่แตกต่างกันดังนี้

1.สถาบันการเงินของรัฐ

โดยลักษณะการปล่อยสินเชื่อจะเป็นแบบ ปลอดดอกเบี้ย และไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ เนื่องจากนโยบายรัฐอยากให้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยเงินลงไป แต่ธนาคารของรัฐกลับไม่ค่อยอำนวยความสะดวกเลย อาจเป็นเพราะความเสี่ยงในการปล่อยกู้ที่จะเป็นหนี้สูญสูงมากๆ ทำให้การปล่อยเงินกู้เป็นไปด้วยความล่าช้า และไม่เป็นไปตามที่คุยกันไว้ นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญ คือ ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ยังขาดประสบการณ์และความรู้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไปไม่ถึงไหน นี่คือข้อดีและข้อเสียของการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐบาล

2.สถาบันการเงินภาคเอกชน

ปัญหาเรื่องการปล่อยเงินกู้ลงไปยังกลุ่มผู้ลงทุนแฟรนไชส์ซึ่งยังขาดประสบการณ์ และยิ่งติดเรื่องสถานะการเงินแล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือ แทบไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรมากนัก แต่ฝั่งธนาคารพาณิชย์อย่างธนาคารกสิกรไทย ที่มุ่งปล่อยสินเชื่อแฟรนไชส์ระดับกลาง-บน ดูความสามารถแฟรนไชส์ และดูข้อมูลการเงินแฟรนไชส์ กลับส่งผลดี มีอัตราปล่อยกู้ได้มาก และอัตราหนี้เสียต่ำ เก็บกำไรจากดอกเบี้ยเข้าเป็นผลประกอบการธนาคารได้มากขึ้น

ถ้าเลือกได้ และไม่อยากเสียหาย แนะนำให้นำแฟรนไชส์ขนาดเล็กเหล่านี้ ไปเสนอขายให้กับเหล่าธุรกิจที่มีพื้นที่เหลือบริเวณหน้าร้าน ซื้อแฟรนไชส์เปิดเพิ่มเพื่อเสริมรายได้ และยังมุ่งไปยังกลุ่มพนักงานประจำที่ต้องการทำเป็นอาชีพเสริมช่วงเย็น –วันหยุด ได้ด้วย เพราะเป็นกลุ่มที่มีความยั่งยืนในการทำธุรกิจมากกว่า

ดังนั้น ไม่ว่าจะลงทุนหรือทำอะไรก็อย่าเพิ่งประมาท ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปบริหารเงินให้ดี ศึกษาแหล่งเงินทุนและเงื่อนไขให้ละเอียดรอบคอบและเลือกให้เหมาะกับเราที่สุด อย่างน้อยควรมีเงินทุนสำรองบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นหนี้ และธุรกิจเสียหายครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : อ.จิรภัทร สำเภาจันทร์ ที่ปรึกษาด้านการตลาด และธุรกิจแฟรนไชส์
ขอขอบคุณที่มาจาก : สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์