ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

ชี้ช่องรวย แนะรู้ทัน 8 ปัญหาที่อาจทำให้ธุรกิจ “แฟรนไชส์” ที่ทำอยู่ไม่ประสบความสำเร็จ


การทำธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ การตัดสินใจลงทุนแฟรนไชส์ ดูจะไม่ใช่เรื่องอยากอะไร ด้วยตัวธุรกิจที่เป็นแบบสำเร็จรูปทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องเริ่มนับหนึ่ง แต่ทว่ามีไม่น้อยที่ลงทุนแล้วธุรกิจไปไม่รอด เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้สาเหตุว่าเกิดขึ้นจากอะไร หรืออย่างน้อยผู้ที่กำลังวางแผนจะลงทุนแฟรนไชส์จะได้รับรู้ถึงปัญหาและเตรียมวิธีการรับมือกับมัน วันนี้ ชี้ช่องรวย จึงอยากจะขอนำเสนอ ข้อผิดพลาดที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไปไม่รอด ว่ามีอะไรบ้าง

1.เลือกคนให้ถูก (แฟรนไชส์ซอ)

ปัญหาที่เกิดกับเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอ) ส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นแต่การขยายสาขาโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพซักเท่าไหร่หนัก โดยคุณภาพในที่นี้ คือ คุณภาพของผู้ที่จะเข้ามาเป็น แฟรนไชส์ซี เพราะถือเป็นตัวหลักที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างการเติบโตของกิจการ

ดังนั้น การคัดเลือกผู้ลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ให้ลองดูตัวอย่างแบรนด์แฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่มียอดการเติบโตสูงขยายสาขาไปได้ทั่วโลก จะมีการคัดผู้ลงทุนที่มีความพร้อม มีความสามารถที่จะบริหารธุรกิจนั้นจริงๆ ไม่ใช่เพียงมีแค่เงินลงทุนอย่างเดียวก็สามารถทำได้ เพราะหากลงทุนแล้วธุรกิจไปไม่รอดก็จะส่งผลไม่ดีถึงแฟรนไชส์ซอด้วย

2.เลือกผิดตั้งแต่แรก (แฟรนไชส์ซี)

แฟรนไชส์ที่ดีต้องมีระบบการบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง ทั้งระบบการตลาด การดำเนินงาน และการเงิน ซึ่งหากผู้ลงทุนไม่คำนึงถึงส่วนนี้แล้วตัดสินใจเลือกธุรกิจที่จะลงทุนเพียงเพราะความน่าสนใจ แต่ไม่มองถึงการบริหารจัดการโดยภาพรวมว่าเขาจะมีแผนการสนับสนุนเราอย่างไร เมื่อจ่ายเงินลงทุนแล้วก็ตัวใครตัวมันเหล่านี้ธุรกิจไปไม่รอดมานับไม่ถ้วนแล้ว จงนึกไว้เสมอว่าเงินทุกบาทที่เราจะลงทุนไม่ว่าจะก้อนเล็กหรือก้อนใหญ่มันต้องคุ้มค่า คุ้มความเสี่ยง

3.ไม่สนใจกฎกติกา

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ล้มเหลวส่วนมาก คือ ผู้ที่แหกกฎ ไม่เดินตามกติกามาตรฐานที่ตั้งเอาไว้ เช่น วัตถุดิบที่ใช้ถูกกำหนดว่าให้ใช้ในคุรภาพนี้ ราคาเท่านี้ แต่แฟรนไชส์ซีปรับเปลี่ยนต้นทุนที่ถูกลงโดยหวังที่จะได้กำไรมากขึ้น ทำให้สินค้ามีคุณภาพที่ต่ำลงนั่นจึงส่งผลให้ไม่มีลูกค้าสุดท้ายธุรกิจก็ต้องปิดตัวลง

4.ลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่ลงรายละเอียด

หลายคนคิดว่าการลงทุนแฟรนไชส์ใช้เงินอย่างเดียวแล้วจบบริหารแบบผิวเผิน เน้นจ้างคนทำงานโดยที่ตัวเองไม่รู้รายละเอียดอะไรซักอย่าง นี่ถือเป็นข้อผิดพลาดที่ใหญ่ที่จะทำให้เกิดรอยรั่วในทุกด้าน ยกตัวอย่าง

เจ้าของธุรกิจ ควรรู้ถึงจำนวนของวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในแต่ละวัน รายได้เท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ อย่างระเอียด เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่เกิดจากลูกจ้าง รวมไปถึงปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น เจ้าของธุรกิจเองควรรู้ทุกรายละเอียด

5.ไม่ทำบัญชี รายรับ รายจ่าย

ขายดีแต่ธุรกิจไปไม่รอด นั่นเป็นเพราะไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ไม่มีการแบ่ง ต้นทุน กำไร อย่างชัดเจน มันจะส่งผลให้เราไม่รู้เลยว่าเงินที่เราใช้เป็นส่วนของกำไรหรือต้นทุน หากดึงเงินในส่วนของต้นทุนออกมาใช้แล้ววันต่อไปจะเอาเงินที่ไหนมาทำทุนต่อ มันอาจจะดุไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร แต่มีแฟรนไชส์ซีไม่น้อยที่ต้องปิดกิจการเพราะปัญหาเล็กๆ เหล่านี้

6.ไม่วางแผนการตลาด

อยากคิดว่าขายดีแล้วไม่ต้องทำการตลาดก็ได้ ไม่มีสินค้าไหน ผลิตภัณฑ์ใด ที่จะขายดีตลอดไป การที่ไม่ทำการตลาดอาจจะเปิดการปิดกิจการไปอย่างช้าๆ ยิ่งนับวันคู่แข่งมากขึ้น สิ่งใหม่เกิดขึ้นเสมอ หากเจ้าของกิจการไม่สร้างแรงจูงใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อของซ้ำรับรองได้ว่าธุรกิจอยู่ได้อีกไม่นาน

7.ไม่พัฒนาบุคลากร

แม้ว่าบริษัทแฟรนไชส์จะสร้างระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานแล้ว แต่ถ้าแฟรนไชส์ซีไม่มีการพัฒนาบุคลากร หรือ ทีมงานของตัวเองให้มีคุณภาพ ธุรกิจอาจไม่สำเร็จได้ เพราะอย่าลืมแฟรนไชส์ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ หากพนักงานในร้านไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส บริการลูกค้าไม่ดี ก็เจ๊งได้ ดังนั้น แฟรนไชส์ซีต้องสร้างทีมของตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ

8.ชะล่าใจเกินไป

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซีอยู่บ่อยครั้ง ก็คือ คิดว่าซื้อแฟรนไชส์มาแล้วมีโอกาสประสบความสูง หรือประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน จะบริการจัดการธุรกิจอย่างไรก็ได้ เพราะบริษัทแม่แฟรนไชส์ได้สร้างระบบมาแล้ว ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วเปิดร้านขายสินค้าได้อย่างแน่นอน

แต่อย่าลืมว่าหากแฟรนไชส์ซีไม่มีความเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่มีความอดทน ไม่มีทักษะการขาย ไม่ใส่ใจลูกค้า ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ ดังนั้น ถ้ามีความเป็นเจ้าของธุรกิจ จะรู้ว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด ไม่ขาดทุน หรือได้กำไร ต้องปรับธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์อย่างไร