ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

เปิดมุมมอง “ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร” กับภารกิจ บสย. ช่วยเหลือผู้ประกอบการฝ่าวิกฤต ด้วยคู่มือ “Operation Manual”


หากเอ่ยถึงบทบาทหน้าที่ของ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือผลักดันให้เหล่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยการปรับกระบวนการขั้นตอนการขอสินเชื่อ การเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบการ รวมไปถึงการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ให้สามารถข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้

 

และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่ประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้กล่าวถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยผ่านรายการ SME Smart Service โดยให้แง่คิดและแนวทางการฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

วิกฤตโควิด-19 ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน?

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกับ 2 บริบท โดยบริบทแรกในมุมของตัวเลขเศรษฐกิจ อาจมีหลายอย่างที่ทำให้มองว่าเป็นปัจจัยด้านลบ ไม่ว่าจะเป็น หนี้เสีย การเข้าโครงการพักชำระหนี้ของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม เรายังคงมีความหวังเนื่องจากหนี้เสียไม่ได้มากอย่างที่คิด จากตัวเลข ณ สิ้นปี 2562 หนี้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จากประมาณใกล้ๆ 6 ล้านล้านบาท ทั้งธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์มีหนี้ NPL ประมาณ 5.6 % ที่คาดว่าจะมีผู้ประกอบการล้มหายตายจาก จาก 5.6 % ก็ขยับขึ้นมาเป็น 6.5 % เฉลี่ยคิดเป็นเพียง 0.9 % ถามว่ามูลหนี้ที่เห็นอยู่ในตะกร้า NPL สูงมากหรือไม่ ผมคิดว่าไม่สูงมากเพราะอยู่ในสภาวะที่พอเข้าใจได้ และยิ่งหนี้เสียเร็วนั่นหมายความว่ายังจะสามารถฟื้นกลับมาได้

 

 

ในช่วงโควิด-19 ได้รับทราบถึงปัญหาของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอะไรบ้าง?

เรื่องแรกเลยคือ การเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน อย่างเช่นสิ่งที่เราร่วมทำกับธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าไปช่วยยืดอายุการชำระเงิน ภายใต้โครงการ “บสย. Soft Loan Plus” จากเดิมที่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ภายในระยะเวลา 24 เดือน เรามองเห็นว่าสถานการณ์สภาพคล่องทางการเงินแทบจะไม่เข้า ลูกค้าหดหาย จึงคิดว่าจะดีกว่าไหมหากเราขยายการผ่อนชำระ โดยเราเข้าไปต่อความคุ้มครองสถาบันการเงินในปีที่ 3 ถึงปีที่ 10 ทำให้ประชาชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ของ Soft Loan นั้นได้

 

 

มองว่ากว่าจะฟื้นตัวต้องใช้ระยะเวลานานหรือไม่?

ทุกอย่างมีจุดเริ่มต้นและมีจุดสิ้นสุด ผมมองว่าระยะเวลาจะอยู่ที่ประมาณ 12-18 เดือน คาดว่าน่าจะกลับมามีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้าง จริงๆ แล้ว ผมมองว่าผู้ประกอบการเหล่านี้ได้เรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับมันให้ได้ อย่างเมื่อก่อนผู้คนจะบอกว่า จะอยู่กับ Next Normal ได้อย่างไร ในช่วงเดือนมีนาคม พอเราเริ่มที่จะปิดประเทศ เริ่มที่จะมีมาตรการควบคุมต่างๆ ช่วงแรกอาจจะรู้สึกอึดอัด แต่ตอนนี้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกับมันได้ ซึ่งบางคนกลับมองว่าวิกฤตนี้เป็นโอกาสด้วยซ้ำ

 

 

“จะเห็นได้ว่าช่วงโควิด-19 คนอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น เมื่อมีเวลามากขึ้นก็เสพสิ่งที่เป็นธุรกิจให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การสั่งสินค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เพราะฉะนั้นมันมีธุรกิจที่เติบโตในช่วงระยะเวลาโควิด เขาเหล่านั้นได้รับโอกาสจากวิกฤต เพราะฉะนั้นการที่จะลุกขึ้นมาฟื้นได้ใหม่ขึ้นอยู่กับว่าคุณปรับตัวได้เร็วแค่ไหน กับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป” 

 

 

บสย.มีการปรับตัวในช่วงวิกฤตอย่างไรบ้าง?

แน่นอนว่าวิกฤตโควิด-19 ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการ หรือปลุกคู่ค้าของ บสย.เท่านั้นที่ปรับตัว ทาง บสย.เองก็ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน สิ่งที่ บสย.ต้องทำ คือ ให้ช่องทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการมากขึ้น เช่น การเข้างานแบบเหลื่อมเวลา โดยการเข้างานของ บสย.มีตั้งแต่ 07.00 น.ไปจนถึง 09.00 น. และเวลาเลิกงานตั้งแต่ 16.00-18.00 น. เพื่อทำให้ลดความหนาแน่นของสำนักงาน ซึ่งข้อดีคือ ผู้ประกอบการจะได้รับบริการตั้งแต่ 07.00-18.00 น. นอกจากนี้ ยังมีระบบ Boundary Basic คือ ให้เพื่อนพนักงานสามารถเข้าทำงานในช่วง 18.00-22.00 น. ดูแลผู้ประกอบการผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านไลน์แอด หมอหนี้ บสย. ที่สามารถแชทพูดคุยได้ และเรามีช่องทาง Facebook ที่สามารถให้คำตอบ หรือตั้งประเด็นที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ สามารถตั้งกระทู้ถามหรือเขียนประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ เพราะฉะนั้น บสย.พยายามทำตัวเองให้ Pro Digital มากขึ้น ให้เหมาะกับจริตในยุคโควิด-19 มากขึ้น

 

เกี่ยวกับมาตรการ บสย.เอสเอ็มอี ต้องชนะ มีอะไรบ้าง?

ในช่วงโควิด-19 เราจะทำอย่างไรให้เขามีทางเลือกเพื่ออยู่รอด ฉะนั้นคุณต้องเลือกเพื่อเป็นผู้ชนะด้วยการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ นอกจากเราจะเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน จูงมือเขาไปเจอกับเหล่าสถาบันการเงิน วันนี้เราพยายามเอาความยากในอดีตของผู้ประกอบการมาเป็นโจทย์ เพื่อให้บริการให้สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินในทุกช่องทาง โดยการทำงานแบบ One Stop Service เราช่วยเตรียมความพร้อมไปสู่ธนาคาร จากเดิมที่เดินมาแบบไม่ได้จัดบัญชีหมวดหมู่ ไม่มีคนดันตัวเลขให้ วันนี้เราแต่งตัวให้กับผู้ประกอบการที่เป็นพี่น้องเรา ให้เดินเข้าไปสู่ธนาคาร เพราะเรารู้ว่าธนาคารจะดูเรื่องไหนก่อนที่จะให้สินเชื่อ เพราะฉะนั้น เราจะช่วยดูเรื่องความพร้อมของผู้ประกอบการ และช่วยดูสถาบันการเงินที่เหมาะสม

“เราทำหน้าที่เตรียมความพร้อมในการให้ข้อมูล เอกสารการขอสินเชื่อ หรือสิ่งที่ธนาคารให้ความคำนึงถึงในการที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า เราเอามุมมองของคนปล่อยเงิน และคนขอสินเชื่อมาพูดคุยกัน เพื่อทำให้ระยะเวลาการขอสินเชื่อสั้นลง”

 

ในช่วงโควิด-19 มีผู้ประกอบการธุรกิจไหนเข้ามาขอคำปรึกษามากที่สุด?

กลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ซึ่งเรามีผลิตภัณฑ์ที่มีวงเงินค้ำประกันประมาณ 4,000 ล้านบาท และมีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Pro ชีวิตใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ต้องการจะปรับตัว หรือต้องการสภาพคล่องในช่วงวิกฤต ทั้งนี้ เราเองก็ต้องปรับจริตของผลิตภัณฑ์ของเราด้วยเช่นกัน โดยคุยกับคู่ค้าสถาบันการเงินมากขึ้น การเข้าไปดูแลการเจ็บป่วยของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น

 

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่เป็นลูกโซ่ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง เช่น อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีผลต่อการลดเงินเดือน หรือเลิกจ้าง นำมาซึ่งกระเป๋าเงินที่แคบลงของคนที่ต้องการที่อยู่อาศัย ภาพนี้จาก New Normal มาเป็น Now Normal คือ ทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และอยู่กับมันให้ได้ ต้องหาทางให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนมาทำธุรกิจเสริมได้ ยกตัวอย่างเช่น ร้านตัดผมขนาดใหญ่ ตอนนี้เริ่มมี โฮมเดลิเวอรี่ การให้บริการตัดผมถึงบ้าน โดยมีอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ง่ายๆ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ช่างตัดผมก็สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้อยู่รอดจากทุกสถานการณ์ได้

เอสเอ็มอีไทยตอนนี้ยังขาดองค์ความรู้เรื่องอะไรบ้าง?

ผมคิดว่ายังขาดการบริหารสภาพคล่อง บางคนขายดีจนเจ๊ง หรือบางครั้งขายเงินเชื่อซื้อเงินสด ขายดีมากแต่ลูกค้าสัญญาว่าจะจ่ายในอีก 90 วัน แต่ตอนซื้อของเราซื้อเงินสด นี่คือวิธีการบริหารสภาพคล่องที่ไม่เหมาะสม บสย.จึงเข้าไปช่วยปรับชีพจรเงินทั้งเงินเข้า-ออกให้เหมาะสม หรือบางครั้งเข้าไปช่วยปรับลักษณะของวงเงินจากการที่ บสย.เข้าไปช่วยค้ำในหลายๆ ธนาคาร เราดูแลสุขภาพหนี้ของผู้ประกอบการทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงมีปัญหา มีให้ความรู้เรื่องการตลาดด้วยหรือไม่

เกี่ยวกับโครงการหลักสูตร Chain Store Management & Franchise System มีความคิดเห็นอย่างไร?

ผมคิดว่ามันคือทางรอดของผู้ประกอบการที่ไม่สามารถไปต่อได้ให้มีทางรอดหรือทางเลือก นี่คือหนทางเลือกให้กับผู้ประกอบการให้สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ กับผลิตภัณฑ์ บสย. เรียกว่า “สินเชื่อ ชีวิตใหม่” สำหรับผู้ประกอบการมือสมัครเล่นหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งเขาเหล่านี้จะต้องเข้ามาเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่น่าเจ็บปวดของตัวเอง เช่น ไปไม่รอด สูญทั้งเงินทุน เป็นหนี้ ไม่ประสบความสำเร็จ คุณสามารถเข้ามาเรียนรู้วงจรชีวิตของธุรกิจ Chain Store หรือ Franchise ได้จากหลักสูตรที่จัดขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการให้องค์ความรู้แล้ว ยังแนะนำทางเลือกอย่างสินเชื่อว่ามีธนาคารพันธมิตรใดบ้าง ในอัตราดอกเบี้ยเท่าไร และทาง บสย.จะช่วยค้ำประกันสินเชื่อได้ยาวนานขนาดไหน เหล่านี้จะสามารถนำมาให้กับนักเรียนที่อยู่ในคอร์ส ให้เขามีทางเลือกและทางรอดมาสู่ชีวิตได้

“ผมว่าบางอย่างก็เหมือนเส้นผมบังภูเขา บางครั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาจยังบริหารงานไม่เก่ง คือ บริหารงานในมุมของการขายหรือผลิตเก่ง แต่พอพูดถึงการบริหารความเสี่ยงหลายคนเริ่มงงว่า ความเสี่ยงอะไร เราจะแนะนำผู้ประกอบการว่า อย่าเอาไข่ใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว การทำธุรกิจจะต้องวางแผน A B ถ้าแผน A ไปต่อไม่ได้ แล้วแผน B จะทำอย่างไร เราตั้งคำถามให้กับผู้ประกอบการ พร้อมเครื่องมือที่จะแสวงหา” 

“ผมมองว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ทำให้ความเจ็บปวดในการที่จะลองผิดลองถูกของพี่น้องผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะคนที่อยากจะเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ไม่ต้องไปเรียนผิดเรียนถูก เราพยายามที่จะรวบรวมองค์ความรู้โดยเฉพาะ Key Success Factor สูตรเคล็ดลับความสำเร็จต่างๆ ออกมาเป็น โอปอลเรชั่นแมนนวล หรือคู่มือง่ายๆ สำหรับผู้ประกอบการที่อยากจะมีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตัวเอง หรือบางคนอาจจะมีธุรกิจหลักอยู่แล้ว แต่ต้องการขยายคู่ค้าให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น หลักสูตรนี้น่าจะเหมาะกับทุกคน หรือบางครั้งสำหรับคนที่ยังมีแค่ความฝันอยู่ ยังไม่มีการเจียระไนความฝันให้เป็นความจริงได้อย่างไร หลักสูตรนี้ที่ PMG อะคาเดมี่ก็สามารถที่จะสอดรับและตอบคำถามให้กับผู้ประกอบการได้”

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่านใดต้องการขอคำปรึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดกับทาง บสย.ได้ที่ช่องทาง
https://www.tcg.or.th/
https://www.facebook.com/tcg.or.th/
http://line.me/ti/p/[email protected]

และสำหรับในงาน Smart SME 2020 ปีนี้ บสย.ได้เตรียมวงเงินคำประกันไว้มากถึง 77,000 ล้านบาท เพื่อร่วมกับธนาคารของทั้งภาครรัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยได้เตรียมโครงการช่วยเหลือตั้งแต่รายเล็กวงเงิน 10,000 บาท จนถึงรายใหญ่วงเงิน 100 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งรายใหญ่-รายย่อย หรือผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นทำธุรกิจ

ผู้ที่กำลังวางแผนเริ่มต้นธุรกิจหรือผู้ประกอบการท่านใด ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการขอสินเชื่อประกอบการธุรกิจสามารถแวะเข้ามาขอรับคำปรึกษากับทาง บสย. ได้ที่บูธ J1a ในงาน Smart SME Expo 2020 ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2563 – 1 พฤศจิกายน 2563 ณ Hall 9 – 10 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าพร้อมแสดงหลักฐานรับของที่ระลึกในงานฟรี !

ลงทะเบียนล่วงหน้าคลิก >> https://expo.smartsme.co.th/register/

หรือสอบถามโทร. 08-6314-1482