ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

คนสิงห์ หัวใจชลประทาน สุจินต์ หลิ่มโตประเสริฐ” ผู้ชำนาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน


“คนเราหนีอะไรก็ได้ แต่หากจะให้หนีโชคชะตานั้นย่อมเป็นไปไม่ได้” นี่คือสิ่งที่เล่าผ่านประวัติชีวิตของนายสุจินต์ หลิ่มโตประเสริฐ หรืออาจารย์สุจินต์ ของคนชลประทาน ผู้ชำนาญการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน และเป็นบุคคลชลประทานของเราในฉบับนี้

เด็กสิงห์บุรี ไม่อยากเป็นครู

นายสุจินต์ หลิ่มโตประเสริฐ เล่าให้ฟังว่า พื้นเพเป็นคนจังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) จากโรงเรียนสิงห์บุรี เมื่อปี 2518 หลังจากนั้นก็มาสอบเอ็นทรานซ์ติดคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน (มหาวิทยาลัยบูรพาในปัจจุบัน) แต่กระนั้นด้วยลิขิตของชีวิต เขาจึงเลือกมาศึกษาในรั้วโรงเรียนการชลประทาน รุ่นที่ 32 (วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปัจจุบัน) ตามคำแนะนำของบิดาที่ต้องการให้เรียน เพื่อเมื่อจบมาจะได้รับราชการในกรมชลประทาน

หลังจากนั้นจึงเลือกมาเติมเต็มปริญญาตรีอีก 2 ปี ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปัจจุบัน) “ใจผมไม่อยากมีอาชีพเป็นครูจึงไม่ได้เลือกคณะศึกษาศาสตร์ แต่ถึงวันที่จบปริญญาตรี ผมก็ยังไม่รู้ใจของตนเองว่าอยากเป็นในสิ่งที่พ่อแนะนำหรือไม่

ค้นพบอาชีพที่มองหามาตลอด

เมื่อนายสุจินต์เรียนจบ เขาได้มีโอกาสเข้ามารับราชการในกรมชลประทานเมื่อปี 2524 ในตำแหน่งวิศวกรโยธาซึ่งมีหน้าที่ออกแบบโครงการชลประทานขนาดเล็ก ต้องออกไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อพบปะเกษตรกรทั่วภาคอีสานตอนล่างซึ่งเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้นายสุจินต์ได้สัมผัสถึงความยากจน และความลำบากในการทำนา จึงเกิดความผูกพันกับคนรากหญ้านับจากนั้นมา

ถาม คือ สอน แบบพ่อสอนลูก

ปี 2536 นายสุจินต์มารับตำแหน่งหัวหน้าโครงการคันคูน้ำและจัดรูปที่ดินที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก พร้อมกับศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ นิด้า ซึ่งเปิดสอนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐ สำหรับนายสุจินต์แล้ว ถือเป็นความแปลกและใหม่มาก และทุกครั้งที่นายสุจินต์มาทำงาน เขาจะนำความรรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการบริหารโครงการอยู่ตลอดซึ่งเขาเรียกสิ่งนี้ สั้นๆ ว่า “แนวทางการทำงานแบบมีส่วนร่วม” นายสุจินต์ อธิบายว่า
เทคนิคการทำงานแบบมีส่วนร่วมนั้น อยู่ที่การตั้งคำ ถามและใช้การฟังจับประเด็นเพื่อการตั้งคำถามแบบเจาะลึกต่อไป เช่น ชุดคำถามเพื่อวางแผนงานก่อสร้างคันคูน้ำหรือชุดคำถามเพื่อพิจารณา 2 ขั้น โดยเขายกตัวอย่างที่ใช้กับลูกๆ ของตนเองให้ฟังว่า

“ผมมักตั้งคำถามกับลูกๆ อยู่เสมอ เช่น ถามว่าลูกรู้สึกอย่างไรกับการที่เห็นคนกวาดถนน เขาก็ตอบว่ารู้สึกเห็นใจคนทำอาชีพนี้ แม้จะได้คำตอบสั้นๆ แต่การตั้งคำถามให้ลูกๆ ได้แสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกบ่อยครั้งต่อปัญหาหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต ได้สร้างการซึมซับพอเติบใหญ่ก็จะมีภูมิค้มุ กัน และสามารถนำเทคนิคนี้ไปแก้ไขปัญหาชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้”

การทำงานแบบมีส่วนร่วม ในรั้วกรมชลประทาน
ปี 2545 นายสุจินต์เริ่มแผนงานใหญ่อยากเปลี่ยนจากงานบู๊ มาเป็นบุ๋นแบบเต็มตัว เพื่อนำเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับงานชลประทานมากขึ้น ซึ่งแนวคิดของเขาก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริหารกรมชลประทานเป็นอย่างดี จึงเปิดหลักสูตรวิทยากรกระบวนการกับงานชลประทานขึ้น สอนโดยทีมงานจากกระทรวงสาธารณสุข พิษณุโลก

ปี 2547 ในตำแหน่งหัวหน้าโครงการ แม้จะมีความสุขดี แต่นายสุจินต์กลับมองว่าการถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มคนนั้นเริ่มแคบเกินไป เพราะความรู้ที่มีต้องกระจายไปยังทั่วประเทศ ถึงจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

“หลังจากที่ได้ไปสอนครั้งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรี กลับมาพิษณุโลกเกิดความภาคภูมิใจกับคำนำหน้าชื่อใหม่ที่ผู้เรียนเรียกผมว่า อาจารย์ เพราะลูกน้องที่พิษณุโลกมักเรียกผมว่า นาย แต่คำว่าอาจารย์นี้ ทำให้ผมรู้สึกอิ่มเอิบมากกว่าสิ่งที่ผมหนีมาทั้งชีวิต คือไม่อยากเป็นครูตั้งแต่ปี 2519 ผมจำได้ว่าถึงกับนำกระดาษที่ผู้เรียนประเมินการสอน 40 กว่าแผ่นมาอ่านแล้วอ่านอีก”

ปลายปี 2547 จึงเป็นจุดเปลี่ยนของเขา โดยทำเรื่องขอย้ายมายังแหล่งต้นทางความรู้ เช่น วิทยาลัยการชลประทาน เพื่อเปิดสอนหลักสูตรวิทยากรกระบวนการขั้นต้น รวมถึงปัจจุบัน 52 รุ่นแล้วตราบที่ความรู้ยังมีไม่สิ้นสุด นายสุจินต์ก็มักพบว่าความรู้ที่มีนั้นยังไม่พอ เหตุนี้เขาจึงสืบเสาะจนพบกับสถาบันเสมสิกขาลัยซึ่งสอนวิทยากรกระบวนการขั้นสูงด้วยหลักคิดแบบอริยสัจ 4 การตั้งคำถามและการฟังอย่างลึกซึ้ง

“ระหว่างที่ผมฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการขั้นต้น ผู้เรียนที่มีบุคลิกโดดเด่น มีการตั้งคำถามแปลกๆ เป็น Rising star ผมจะคัดไปอบรมต่อที่สถาบันเสมสิกขาลัย โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 10 รุ่นประมาณ 300 คนที่เป็นหัวกะทิ เช่น นายสุรินทร์ ทรัพย์สกุล ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวรนายณัฐวุฒิ สร้อยประเสริฐ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสระแก้ว ฯลฯ แต่ละคนที่จบหลักสูตรก็จะสามารถสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของตนเอง”

ผลงานที่ประทับใจ

ส่วนผลงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่นายสุจินต์ ปลาบปลื้มใจ คือ ปี 2561 กรมชลประทานได้รับรางวัลเลิศรัฐสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมดีเด่น ถึง 2 รางวัล และรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้แก่ รางวัลเปิดใจใกล้ชิดประชาชน และรางวัลสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำจากโครงการอ่างเก็บน้ำดอยงู อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ปัจจุบันสุจินต์เกษียณอายุราชการแล้วในตำแหน่งสุดท้ายภายในรั้วกรมชลประทานคือ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ในวัย 60 ปี ชีวิตที่ผูกพันกับน้ำของนายสุจินต์ยังคงเดินหน้าต่อไป ซึ่งเขาได้รับการชักชวนจากนายวีระวงศ์แสงนาค อดีตรองอธิบดีกรมชลประทานให้มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) กับภารกิจการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน

“ท้ายนี้ ทีมงานวารสารข่าวชลประทานขออวยพรให้ อาจารย์สุจินต์ เดินหน้าอย่างมั่นคงกับภารกิจใหม่ ไร้ซึ่งอุปสรรค มีสุขและสมหวังตลอดไป”