ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

พิษโควิด-19 กระทบกิจการ ทำคน “ซึมเศร้า” หนัก พบไทยมีผู้ป่วยด้านจิตเวชมากถึง 3.3 ล้านคน


นับเป็นเวลาล่วงเลยเกือบจะครบปีแล้ว กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจ ทั้งกิจการร้านค้า ทำคนตกงานนับสิบล้านคน ส่งผลให้คนไทยเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เข้าสู่ภาวะซึมเศร้าและยังซึมลึกไปถึงทุกคนแบบไม่รู้ตัวเสียด้วย บางคนรู้ตัวรักษาทัน แต่สำหรับบางคนต้องจบชีวิตตัวเองเพื่อหนีปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา

ข้อมูลจาก องค์กรอนามัยโลก พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วโลกมากกว่า 300 ล้านคนคิดเป็น 4% ของจำนวนประชากรทั้งโลก 7,500 ล้านคน และในทุกๆ ปีจะมีอัตราผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 800,000 คน โดย 78% เกิดในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง

และข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้านจิตเวชมากถึง 3.3 ล้านคน แบ่งเป็น โรคจิตเภท 455,118 คน โรคซึมเศร้า 370,885 คน โรควิตกกังวล 485,621 คน พยายามฆ่าตัวตาย 31,610 คน ในขณะที่ประชากรที่สามารถเข้าถึงบริการด้านโรคจิตเวช คิดเป็น 61.21% ของจำนวนผู้ป่วยเท่านั้น

สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาเรื่องปากท้อง เพราะพิษภัยเศรษฐกิจหลักๆ มาจากไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้คนทำงานประจำต้องตกงาน เจ้าของกิจการค้าขายไม่ได้ หรือขายไม่ได้กำไร เมื่อคนไม่มีรายได้แต่มีรายได้เท่าเดิมหรือบางครอบครัวก็มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น หลายคนเลือกที่จะกลับบ้านต่างจังหวัด พร้อมเดินหน้าทำอาชีพเกษตรกรรมพร้อมทำการตลาดบนโลกออนไลน์จนกลายเป็นอาชีพใหม่ แต่สำหรับบางคนที่ไม่มีทางเลือกมากนักและไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ถือว่าน่าเป็นห่วงมาก

ดังนั้น หนทางที่จะช่วยแก้ไขในเบื้องต้น คือ สมาชิกในครอบครัวหรือคนรอบข้างต้องพร้อมรับฟังและสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ 3 ด้าน ได้แก่

1.ฟื้นฟู

ทำให้คนพ้นจากความเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศร้า โดยอยู่เคียงข้างให้กำลังใจ ให้มุมมองในมิติใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความสุขด้วยตัวเอง

2.ป้องกัน

ทำให้คนมีภูมิคุ้มกันจากสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกที่ต้องเผชิญกับภาวะความเครียดความกังวล ไม่ให้เกิดปัญหาบานปลาย สามารถอยู่กับตัวเองและสังคมอย่างมีความสุข

3.พัฒนา

ด้วยการดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ได้อย่างมั่นใจ สามารถสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี

อย่างไรก็ตาม คนในครอบครัวถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเหล่านี้มีทางออก การรับฟังปัญหาจากคนเหล่านี้อย่างเข้าใจ พร้อมทั้งร่วมกันหาวิธีแก้ไข จะช่วยให้ผู้ป่วยลดการทำร้ายตัวเอง

สิ่งสำคัญที่สุดคือ การหากิจกรรม หรือหากมีทุนรอนสักก้อนลองหันมาลงทุนอย่างเช่นการ ซื้อแฟรนไชส์ ที่ลงทุนน้อย ซึ่งประเภทของแฟรนไชส์ก็มีให้เลือกหลากหลายด้วยเงินลงทุนตั้งแต่หลักพันก็มี การได้เริ่มต้นทำกิจการเล็กๆ ในระหว่างช่วยวิกฤตเช่นนี้ ชี้ช่องรวย เชื่อว่าจะช่วยลดความกังวลของคนหรือผู้ป่วยได้ไม่มากก็น้อย ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ