ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

ปิด 3 จุดอ่อน ดัน 5 จุดแข็ง สินค้า “OTOP” ไทยอย่างไร ให้ผงาดในตลาดโลก


เมื่อเอ่ยถึงสินค้าชุมชน หรือที่เรียกติดปากในนาม สินค้า OTOP ที่ไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตงานฝีมือที่มีคุณภาพอีกแห่งของโลก ด้วยความมีเอกลักษณ์ ความสวยงาม และคุณภาพในเรื่องของการใช้งาน จนทำให้สินค้าไทยขึ้นอันดับต้นๆ ของผู้ที่ชื่นชอบงานฝีมือในโลกอีกด้วย

อย่างไรก็ตามพบว่า สินค้าโอทอปไทยก็ยังมีจุดอ่อนสำคัญ 3 ด้าน คือ

1.การตลาด

สินค้าไม่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ สินค้ามีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่าง บรรณจุภัณฑ์ หีบห่อไม่สวยงามและทันสมัย

2.ตั้งราคาไม่สอดคล้องกับต้นทุนของสินค้า

ทำให้ประสบปัญหาทางการเงินจนเกิดภาวะขาดทุน

3.ขาดช่องทางการจำหน่าย

ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงสินค้า และไม่มีการทำการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้จักแบรนด์และสินค้า

ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ดังนี้

1.ความแตกต่าง สะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

2.การบอกต่อจากคนใกล้ชิด ทำให้อยากลองซื้อ ลองใช้ ลองชิม

3.คุณภาพดี อร่อย สะอาด

4.ทำแบรนด์ดิ้ง และแพ็คเกจจิ้ง ที่แตกต่างจากคู่แข่ง

5.ช่องทางจำหน่ายต้องชัดเจน และควรเพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น ด้วยช่องทางออนไลน์

เมื่อเจาะลึกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของแบรนด์ไทย ประกอบด้วย

1.คุณภาพ ถือเป็นหัวใจหลัก ต้องดีจริงตามโฆษณา

2.ราคาต้องมีความเหมาะสมไม่แพงกว่าแบรนด์ต่างประเทศ

3.แบรนด์ต้องมีการสื่อสารไปยังผู้บริโภค มีการรีวิวผ่านสื่อสังคมออนไลน์

4.สินค้าจะเอกลักษณ์ในเรื่องบรรจุภัณฑ์และการทำแบรนด์จะต้องแตกต่างไม่เหมือนใคร มีความทันสมัยและน่าเชื่อถือ

นอกจากนี้ การที่ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าไทยนั้น “ไม่ได้ต้องการเลือกซื้อสินค้าไทยเพราะสะท้อนถึงความเป็นไทย แต่มุ่งเน้นที่คุณภาพของสินค้าเป็นหลัก”

ในส่วนของการสนับสนุนในการยกระดับแบรนด์สินค้า OTOP ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ประกอบไปด้วย 5 ด้านสำคัญ ได้แก่

1.มองหาภูมิปัญญาในการต่อยอด (Roots of wisdom)

พัฒนาให้เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่น สะท้อนถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต รวมถึงความเป็นอยู่ของสังคมไทย เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้สินค้ามีความแตกต่างจากสินค้าทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาด

2.คุณภาพไทยมาตรฐานโลก (Product Quality)

ปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจสูง เรื่องคุณภาพจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ ทำให้ผู้ผลิตต้องใส่ใจในกระบวนการและวางมาตราฐานของสินค้าของตนให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

3.โดดเด่นด้วยความแตกต่าง (Product Differentiation)

การสร้างสรรค์สินค้าให้มีความแตกต่างโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการใส่นวัตกรรม การใส่แนวคิดและความคิดสร้างสรรคต่างๆเข้าไปในสินค้า ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากท้องตลอด

4.สร้างเรื่องให้จดจำ (Brand Storytelling)

การที่แบรนด์สร้างเรื่องเล่าถือเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคผ่านสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการตกแต่งร้าน บรรจุภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งเรื่องราวเบื้องหลังเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิต ล้วนส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น การจดจำ และการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค

5.พลังแห่งการบอกต่อ (Advocacy)

เมื่อแบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคผ่านการสื่อสารครบทั้ง 4 เรื่องที่ผ่านมาแล้ว แบรนด์ที่มีเรื่องราวโดนใจผู้บริโภค ผู้บริโภคจะทำหน้าที่บอกต่อเรื่องราวดี ๆ ของแบรนด์ให้ผู้บริโภครายอื่นๆ ต่อกันไปในวงกว้าง ซึ่งสามารถช่วยให้แบรนด์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก สามารถเป็นที่รู้จักจนขยายเป็นวงการในระดับประเทศได้