Quick Response Payments หรือการชำระเงินด้วย QR code นั้นเป็นที่นิยมในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) โดย 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมดเคยชำระเงินด้วย QR code แล้ว โดยในกลุ่มที่เคยชำระเงินด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวายนิยมใช้มากที่สุด (53 เปอร์เซ็นต์) เมื่อเทียบกับผู้ใช้ในกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (29 เปอร์เซ็นต์)
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์การชำระเงินด้วย QR code ชื่นชอบวิธีการนี้ โดยกว่าครึ่งระบุว่า “มีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานดีเยี่ยม” (47 เปอร์เซ็นต์) มีเพียงแค่หนึ่งเปอร์เซ็นต์ที่บอก “ไม่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้” สืบเนื่องจากผลตอบรับจากประสบการณ์การใช้ที่ดีของผู้บริโภค วีซ่าได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรจากหลากหลายสถาบันการเงิน เพื่อให้ผู้ถือบัตรเครดิตวีซ่าสามารถใช้งาน QR code ได้อย่างเต็มรูปแบบในต้นปี 2561
คุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อต้นปีเราได้มีการเปิดตัว ‘QR Code มาตรฐาน’ เพื่อให้ร้านค้าสามารถรับการชำระเงินด้วย QR code จากทุกสถาบันได้โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน โซลูชั่นการชำระเงินแบบเต็มรูปแบบที่ยึดเอาผู้ใช้เป็นสำคัญและสามารถใช้งานร่วมกันได้ในทุกแพลตฟอร์มนั้น จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การชำระเงินด้วย QR code ประสบความสำเร็จในทุกภาคส่วน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลในยุคที่มีการเชื่อมต่อสูงไปพร้อมกัน”
ภายหลังจากความสำเร็จในการเปิดตัวและเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National ePayments Plan) ทำให้ QR code เป็นที่จับตามองเพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสามารถช่วยขยายการชำระเงินในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และด้วยความต้องการของคนในการชำระด้วย QR code มีเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้โซลูชั่นนี้ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีผู้เล่นมากกว่า 20 สถาบันการเงินและธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน อาทิ เครือข่ายโทรคมนาคม ที่ให้บริการชำระเงินด้วย QR code ซึ่งหลายแห่งยังเป็นระบบปิดที่ไม่รองรับการชำระเงินจากแพลตฟอร์มอื่น
“การสร้างแรงจูงใจให้ทุกกลุ่มผู้บริโภคหันมาลองใช้ QR Code มาตรฐานเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง นอกจากผู้บริโภคต้องการจุดชำระเงินทั้งในและต่างประเทศ และความปลอดภัยระดับสากลแล้ว พวกเขายังต้องการเพลิดเพลินไปกับสิทธิประโยชน์ที่เครือข่ายระบบชำระเงินดิจิตอลอย่างวีซ่าคัดสรรมาให้ เช่น สิทธิพิเศษ โปรโมชั่น และโปรแกรมรีวอร์ดสำหรับการจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรวีซ่าในชีวิตประจำวัน” คุณสุริพงษ์ กล่าวเสริม
ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นถึงสามหมวดหมู่หลักๆที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการชำระด้วย QR code คือ การชำระบิลต่างๆ (50 เปอร์เซ็นต์) การชำระเงินในร้านสะดวกซื้อ (39 เปอร์เซ็นต์) และในร้านขายของชำ (36 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า มีผู้คนส่วนมากพร้อมที่จะชำระเงินด้วย QR code ในชีวิตประจำวัน
คุณสุริพงษ์ กล่าวเพิ่มว่า “ถ้าผู้คนต้องการชำระเงินด้วย QR code เป็นประจำ สิ่งที่สำคัญคือ แหล่งที่มาของเงินที่ชำระเงินของผู้ใช้งานไม่ควรถูกจำกัดด้วยช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นในขั้นต่อไปของการพัฒนาระบบการชำระเงิน ผู้บริโภคควรสามารถเลือกได้ว่าจะชำระเงินผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือบัตรพรีเพด ที่ลงทะเบียนในแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ของพวกเขาได้ และไม่ว่าผู้บริโภคจะเลือกชำระผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือบัตรพลาสติก ความต้องการของผู้บริโภคต้องมาก่อนเสมอ”
ความต้องการในการชำระด้วย QR code ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การที่จะเป็นที่นิยมนั้น 54 เปอร์เซ็นต์เจาะจงว่าต้องง่ายต่อการใช้งานและขั้นตอนน้อย ขณะที่ 52 เปอร์เซ็นต์ต้องการความความรวดเร็วเพื่อประหยัดเวลา และ 36 เปอร์เซ็นต์ต้องการวิธีการใช้งานที่สนุกและน่าสนใจ อย่างไรก็ดีความปลอดภัย (36 เปอร์เซ็นต์) ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้การชำระเงินแบบ QR code
ไม่นานมานี้ วีซ่าเพิ่งได้ประกาศประกาศรับใบอนุญาตเป็นเครือข่ายจัดการธุรกรรมการเงินผ่านบัตรเดบิตในประเทศไทยจากธนาคารแห่งประเทศไทย ใบอนุญาตเดบิตที่วีซ่าได้รับ ช่วยให้วีซ่าสามารถเข้าร่วมในตลาดเดบิตในประเทศไทยได้อย่างเต็มรูปแบบและผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นในการชำระด้วย QR Code มาตรฐาน ผ่านบัตรวีซ่าเดบิตของพวกเขา