ทั้ง 10 ปัจจัยนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการพิจารณาดูว่าผู้ประกอบการหรอืธุรกิจมีปัจจัยใดอยู่บ้าง จะได้ทราบว่าจะมีโอกาสได้รับคำปฏิเสธหรือไม่ และจะได้จัดการแกไช้ปัจจัยเหล่านั้นออกไปก่อนจะทำเรื่องกู้เงินจากธนาคาร
1.ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ถือเป็นปัจจัยส่วนใหญ่ หรืออาจเรยีกได้ว่าเป็นปัจจัยมาตราฐานของการขอสินเชื่อไม่ผ่านของผู้ประกอบการ เนื่องจากในระบบธนาคารหรือสถาบันการเงินใดก็ตามจำเป็นต้องมีการเรียกหลักประกันสำหรับค้ำประกันสินเชื่อทั้งสิ้น เพียงแต่หลักประกันที่ธนาคารเรียกเพื่อการค้ำประกันสินเชื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดเท่านั้นเอง
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่มักเป็นรายเล็กๆ ซึ่งมักจะเริ่มดำเนินธุรกิจใหม่ หรือถ้าเริ่มดำเนินธุรกิจก็มักจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ยังไม่มีฐานะการเงินที่มั่นคงเพียงพอที่จะมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจได้กับธนาคาร
2.ไม่มีประสบการณ์แต่เล็งผลเลิศ
ถือเป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ผู้ประกอบการใหม่หลายรายมักจะได้รับคำปฏิเสธจากธนาคาร กล่าวคือในการเริ่มดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากความชอบส่วนตัวหรือแรงบันดาลใจจากที่ใดก็ตาม เช่น จากหนังสือเกี่ยวกับ SME, จากหนังสือพิมพ์ จากการไปเห็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ก็มักจะเกิดความคิดที่ว่าถ้าเป็นเราก็ทำได้ โดยไม่มีการศึกษาให้รู้แจ้งเห็นจริงในธุรกิจที่จะทำ ไม่รู้ถึงปัญหาในการดำเนินการ
และธุรกิจที่เกิดขึ้นน้อยใหญ่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็น Me Too Business คือถ้าธุรกิจอะไรดี ฉันขอทำด้วย ทำให้เมื่อผู้ประกอบการติดต่อขอสินเชื่อกับทางธนาคาร และเจ้าหน้าที่สินเชื่อได้ทำการพิจารณาในเรื่องของประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ จะพบว่าผู้ประกอบการใหม่เหล่านี้ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับสินค้าหรือธุรกิจที่ตนเองจะเริ่มทำ หรือมักจะเป็นการเล็งผลเลิศหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นความฝันของ
โดยไม่เคยคิดว่าแล้วถ้าไม่ได้ตามที่คาดไว้ตนเองหรือธุรกิจจะทำอย่างไร ในขณะที่การพิจารณาในการให้สินเชื่อโดยส่วนใหญ่จะตั้งบนพื้นฐานว่า “ถ้าไม่ได้ตามที่คาด” แล้วธุรกิจจะเป็นอย่างไร ผู้กู้หรือธุรกิจจะมีความสามารถในการผ่อนชำระคืนสินเชื่อ กับทางธนาคารได้หรือไม่
3.ไม่มีรายได้ให้ปรากฏ
เป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้สำหรับผู้ประกอบการ มักจะไม่มีการนำรายได้หรือรายจ่ายในการทำธุรกิจผ่านระบบธนาคาร โดยมักจะเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสดหักลบกลบหนี้กันแต่ละวัน อาจเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจบุันนั้นมีอัตราที่ต่ำมาก การจะเข้าบัญชธีนาคารหรือไม่ก็มีผลเท่ากันแถมยังต้องเสียเวลาไปเข้าหรือเบิกถอนจากธนาคาร หรืออาจเป็นการนำเข้าบัญชีที่ผสมปนเปกับเงินส่วนตัวของ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเปิดแยกในนามบริษัท
หรืออาจเป็นเหตุผลเกี่ยวกับการหักภาษี ทำให้เมื่อผู้ประกอบการเหล่านี้มีความจำเป็นไปติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งทุกธนาคารจะมีเงื่อนไขมาตรฐานในการของกู้เงินเป็นไฟต์ ที่จะขอเอกสารจากผู้กุ้เพื่อพิจารณา กล่าวคือ ขอดกูารเคลื่อนไหวทางการเงินกับธนาคารย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หรือขอดู Statement ย้อนหลังไป 6 เดือนว่าธุรกิจมีรายรับรายจ่ายและเงินคงเหลือหรือผลกำไรเป็นเท่าใด เพื่อพิจารณาว่ารายได้คงเหลือในการดำเนินธรุกิจสามารถผ่อนชำระคืนกับทางธนาคารตามวงเงินที่ขอกู้ได้หรือไม่
4.ไม่มี Business Plan หรือแผนธุรกิจ
การมีหรือการจัดทำ Business Plan หรือแผนธุรกิจถือเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะมีผลให้ผู้ประกอบการสามารถกู้เงินจากธนาคารได้สำเร็จตามที่ต้องการ หรืออาจจะทำให้ได้รับคำปฏิเสธก็ได้เช่นเดียวกัน โดยเกือบทุกธนาคารถ้าเป็นการขอกู้เพื่อการทำธุรกิจทางธนาคารจะขอให้ผู้ประกอบการทุกรายจัดทำ Business Plan หรืออาจจะใช้คำพูดว่าเสนอโครงการเข้ามา ซึ่งถือเป็นเอกสารประกอบในการพิจารณาสินเชื่อว่าธุรกิจมีลักษณะในการดำเนินการอย่างไร รายรับรายจ่ายเป็นเท่าใด การลงทุนในธุรกิจ จุดคุ้มทนุ ผลกำไรของธุรกิจเป็นเท่าใดโดยเฉพาะการดำเนินการของธุรกิจต่อไปในอนาคต
5.มีประวัติหนี้ NPL
การเป็นหรือเคยมีประวัติว่าเป็น NPL (Non Performing Loan) นั้น ปัจจัยข้อนี้แทบจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการปฎิเสธการให้กู้จากธนาคารเกือบ 100% แม้ว่าผู้ประกอบการอาจจะเคยเป็น NLP มานานแล้วและปัจจุบันมีรายได้เพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ได้แล้ว แต่ทว่าจากประวัติที่เคยอยู่ในระบบข้อมูลเครดิตจะแสดงผลของชื่อของผู้ประกอบการนั้นอยู่เสนมอ ตราบใดที่ยังชำระหนี้ที่มีอยู่ไม่หมด เมื่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อตรวจพบข้อมูลในลักษณะนี้ก็จะปฏิเสธการให้กู้แทบทุกรายไป เพราะถือว่าผู้ประกอบการดังกล่าวไม่มีวินัยทางการเงินในการชำระคืนสินเชื่อกับทาง
6.ไม่รู้ต้นทุนหรือไม่รู้รายได้
ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการ “มือใหม่” เนื่องจากไม่สามารถคำนวณต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการลงทนุในทรัพย์สิน หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ ช่วงเริ่มธุรกิจ และช่วงที่เริ่มดำเนินการธุรกิจแล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่การประมาณการเกี่ยวกับต้นทุนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ดังกล่าว มักจะต่ำกว่าความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างมาก
หรือจะเป็นในทางที่คิดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในทางที่น้อยที่สุด ในขณะที่เมื่อเริ่มทำธุรกิจค่าใช้จ่ายดังกล่าวมักเป็นไปในทางที่มากที่สุดอยู่ดี หรืออาจเรียกว่า “งบบานปลาย” ทำให้เมื่อทงธนาคารพิจารณาเกี่ยวกับโครงการหรือธุรกิจที่ขอกุ้แล้วเห็นว่าต้นทุนที่ระบุไว้ต่ำกว่าที่จะดำเนินการได้ตามจริง ทำให้ธนาคารอาจปฏิเสธหรืออาจให้มีการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับประมาณการในการลงทุน
7.ไม่รู้ข้อจำกัด
เป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการเก่าหรือใหม่ ในการติดต่อขอกู้เงินจากทางธนาคารไม่ใช่ว่าทุกๆ ธนาคารจะให้วงเงินกู้กับทุกๆ ธุรกิจหรือให้บริการทุกๆ ด้านทางการเงิน เช่น ธุรกิจที่ทำด้านการเกษตรก็อาจติดต่อขอเงินกู้ได้เฉพาะจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น ธนาคารอื่นอาจจะปฏิเสธเนื่องจากไม่มีบริการเกี่ยวกับการเกษตรพื้นฐาน
ในขณะที่ถ้าเป็นธุรกิจอุตสหกรรมแต่ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ก็อาจได้รับการปฏิเสธเช่นกัน เป็นต้น แต่หากธุรกิจมีความคาบเกี่ยวธนาคารจะมุ่งเน้นพิจารณาจากตัวรายได้ของกิจการว่าเกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือลักษณะการดำเนินการใดของธุรกิจเป็นสำคัญ ดังนั้นในการกู้เงินก็สมควรเลือกใช้บริการหรือติดต่อขอกู้เงินกับทางธนาคารที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมกับธุรกิจของตนให้มากที่สุด
8.ไม่สามารถผ่อนชำระ
ถ้าหากธนาคารได้พิจารณาแล้วว่าผู้ประกอบการหรือธุรกิจนั้นไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะผ่อนชำระเงินกู้ตามวงเงินที่ขอกู้ ไม่ว่าจะเกิดจากการที่ธุรกิจมีกระแสเงินสดจากผลกำไรหรือผลการดำเนินการของธรุกิจ ที่ไม่เพียงพอหรือมียอดคงเหลือภายหลังการชำระเงินกู้น้อบเกินไป เกินกว่าจะบริหารธุรกิจได้
9.ไม่มีการเตรียมตัว
ถือเป็นปัจจัยที่อาจจะไม่ส่งผลร้านแรงถึงระดับที่จะถูกปฏิเสธ แต่บางครั้งอาจก่อให้เกิดความล่าช้าในการอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคาร อย่างการไม่มีเอกสารประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น งบการเงิน ใบอนุญาตต่างๆ เอกสารเกี่ยวกับยอดขาย เอกสารเกี่ยวกับลูกค้า เอกสารเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย เพื่อใช้ประกอบในการพจิารณาการขอเงินกู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ธนาคารพจิารณาได้ว่าผู้ประกอบการยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ
10.มีทัศนคติเชิงลบ
เป็นเรื่องของทัศนคติหรือการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้บริการจากทางธนาคารในด้านลบด้วยสาเหตุต่างๆ กันไป และอาจจะส่งผลให้ธนาคารพิจารณาผู้ประกอบการดังกล่าวมีลักษณะเป็น “บุคคลเจ้าปัญหา” ซึ่งจะทำให้ไม่ผ่านการประเมินในแง่ของการพิจารณาด้าน Character เกี่ยวกับตัวผู้ประกอบการ ทำให้ได้รับปฏิเสธไปในที่สุด