ณ งานเสวนาบนเวทีกลาง ภายในงาน Smart SME Expo 2024 ระหว่าง 4-7 กรกฎาคม 2567 ฮอลล์ 7-8 เมืองทองธานี ได้มีการพูดคุยในหัวข้อ “อัพเกรดธุรกิจ โตคูณร้อย ด้วยระบบแฟรนไชส์” โดย ดร.วิชัย เจริญธรรมานนท์ และ อ.ชานนท์ มหาสิงห์ สรุปได้ดังนี้
ปัจจุบัน ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของคนไทยและชาวต่างชาติแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากผู้ลงทุนแฟรนไชส์ยังขาดความรู้ด้านการเลือกแฟรนไชส์ ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยกลับมีโอกาสเติบโตถึงขีดสุดไปได้นานไม่ต่ำกว่า 5 ปี ยกตัวอย่างแบรนด์ไก่ทอดแบรนด์ไทยที่มีโอกาสเติบโตไม่แพ้ของแบรนด์ต่างชาติ แต่เจ้าของแฟรนไชส์ หรือแฟรนส์ซอร์ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ขาดการพัฒนาระบบที่ดี จนไม่สามารถเพิ่มอัตราการประสบความสำเร็จได้
หากมองถึงผู้พัฒนาระบบแฟรนไชส์ในประเทศไทย รูปแบบ “โปรดัคท์แฟรนไชส์” มีความเหมาะกับการดำเนินกิจการของชาวไทยมากกว่า เนื่องจากชาวไทยถนัดการพัฒนาสินค้าเพื่อเข้าสู่ระบบ พร้อมกันนั้นการทำ Operation Manual ก็จะช่วยให้คนไทยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น เนื่องจากถือเป็นคู่มือที่จะช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไปสู่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี ให้เกิดการดำเนินกิจการตามมาตรฐานเดียวกันได้ การทำ Operation Manual จึงถือเป็นอีกความยากของการสร้างแฟรนไชส์ เนื่องจากต้องมีการควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ให้มีความคงเส้นคงวา เช่น การลวกก๋วยเตี๋ยวให้ได้ระดับเส้นและปริมาณเดียวกัน ทำให้ปัจจุบันนี้ แฟรนไชส์ซอร์หลายรายต่างมุ่งพัฒนานวัตกรรม หรือเครื่องจักรเป็นของตนเอง
สำหรับการสร้างรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์ นอกจากแฟรนไชส์แล้ว ยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายกับแฟรนไชส์ซีด้านอื่น ๆ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ค่าแรกเข้า ค่าต่อสัญญา ค่าส่วนแบ่งทางการตลาด โดยผู้ที่เริ่มต้นขยายแฟรนไชส์อาจต้องมองถึงเรื่องนี้ใหม่ เนื่องจากแบรนด์ยังไม่มีความแข็งแรงพอ จึงต้องมีข้อเสนอที่ผ่อนปรน เพื่อสามารถอยู่รอดต่อไปได้ อีกมุมหนึ่งคือการขายส่งค่าวัตถุดิบที่ผู้ขายแฟรนไชส์ต้องคิดไตร่ตรองให้ดีเพื่อทั้งแฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์ สามารถอยู่ร่วมกันต่อไปได้ในระยะยาว
เพราะแฟรนไชส์เปรียบเสมือนผู้ให้เช่าแบรนด์ หากผู้เช่านำไปทำต่อโดยขาดระบบ ขาดมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งผลเสียต่อแบรนด์ในระยะยาวได้ ซึ่งการที่แฟรนไชส์ซอร์จะสามารถยกระดับธุรกิจให้สามารถโตคูณ 100 เราก็ควรเริ่มต้นจากการค่อย ๆ เติบโต จากสาขาใกล้จุดที่เราอยู่ ไม่เกิน 200 กิโลเมตร เพื่อการดูแลได้อย่างทั่วถึง และให้การจัดส่งวัตถุดิบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเทรนนิ่งบุคลากรให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างสะดวก โดยแฟรนไชส์ซอร์ต้องมีความสามารถในการทำต้นทุนให้ต่ำที่สุด เพื่อให้แฟรนไชส์ซีมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า เพื่อให้แฟรนไชส์ซีมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 50% ดังนั้นในการทำราคาขายแฟรนไชส์ รวมถึงการตั้งราคาขายปลีกของสินค้า แฟรนไชส์ซีควรวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด และปัจจัยความเป็นไปได้รอบด้าน
สำหรับหลักการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ มีดังนี้
• เลือกดูจากแนวคิดผลิตภัณฑ์
• หาทำเล หากเจ้าของมีทำเลเสนอ หรือหากเรามีเงินทุนก็เป็นเจ้าของธุรกิจดีๆที่เราชอบได้
• เลือกซื้อแฟรนไชส์ที่มีอนาคต
• ดูจากชื่อเสียงและเครื่องหมายการค้า
• ดูจากอัตราการประสบความสำเร็จ การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
• แฟรนไชส์มีอะไรให้บ้าง
• ดูจากแฟรนไชส์ลงทุนน้อย และโปรโมชั่นต่าง ๆ
• ดูจากระบบของแฟรนไชส์ ที่เราดูแลได้ง่าย
• อัตราการคืนทุนโดยเฉลี่ย
• เจ้าของแฟรนไชส์ต้องมีคู่มือการทำแฟรนไชส์ หรือ Operation Manual
ผู้สนใจความรู้ด้านแฟรนไชส์ สามารถสมัครเรียนได้ในหลักสูตร Chain Store Management & Franchise System (CMF) หรือสามารถมาหาโอกาสเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ได้ที่ งาน Smart SME Expo 2024 ระหว่าง 4-7 กรกฎาคม 2567 ฮอลล์ 7-8 เมืองทองธานี