ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

ไอเดียปลูกพืชหน้าแล้ง


             

เข้าสู่ช่วงเดือนมีนาคม หนึ่งในปัญหาที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญทุกปีคือภัยแล้ง ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนนํ้าและไม่สามารถปลูกพืชพันธุ์ได้ตามที่ต้องการ แต่สำหรับกลุ่มบริหารการใช้นํ้าอ่างเก็บนํ้าแม่ตํ๋า จ.พะเยา ถือว่าหมดห่วง เพราะเกษตรกรมีวิธีการบริหารจัดการนํ้าที่เรียบง่าย แต่ได้ประสิทธิภาพโดยเน้นนำภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เรียกว่า “แตรแบ่งนํ้า” มาใช้ โดยคุณอนันต์ วงศ์บุตร ประธานกลุ่มบริหารการใช้นํ้าอ่างเก็บนํ้าแม่ตํ๋าเล่าว่า “สมัยอดีตนั้นพื้นที่โดยรอบจะประสบปัญหาการขาดแคลนนํ้าในการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง โดยการแก้ปัญหาส่วนใหญ่จะเน้นใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแก้ปัญหากันเอง ดังนั้น ทิศทางการบริหารจัดการนํ้าจึงเป็นไปอย่างไม่เป็นระบบ กระทั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2547 มีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มบริหารการใช้นํ้าอ่างเก็บนํ้าแม่ตํ๋า” โดยการรวมกลุ่มนั้นทำให้เกิดพลังอันมหาศาล เพราะเกษตรกรมากมายที่ต่างเข้ามาร่วมแชร์ความคิดการบริหารจัดการนํ้าร่วมกัน ได้ทำให้เกิดวิธีการบริหารจัดการนํ้าที่เกิดประสิทธิผลขึ้น ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา กลุ่มฯจึงมีความเข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังตกผลึกวิธีบริหารจัดการนํ้าที่น่าสนใจจนทำให้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผู้ใช้นํ้าชลประทานดีเด่น ประจำปี 2560”

         

แตรแบ่งนํ้า ภูมิปัญญารักษาระดับนํ้าเข้าสู่คลอง นายอนันต์ อธิบายว่า กลุ่มฯ มีพื้นที่ในการเพาะปลูก 10,971 ไร่ มีคลองส่งนํ้าไปยังพื้นที่การเกษตรจำนวน 6 สาย การบริหารจัดการนํ้าของกลุ่มจะใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบดั้งเดิม คือ การสร้างแตรแบ่งนํ้าที่ทำจากคอนกรีต และประยุกต์เข้ากับอาคารบังคับนํ้าชลประทานซึ่งมีประตูปิด – เปิด โดยใช้หลักการทำให้ปากคลองแต่ละสายมีระดับเท่ากัน เมื่อมีการส่งนํ้า ระดับนํ้าก็จะไหลเข้าสู่คลองเท่ากัน แต่ความกว้างของแตรจะขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูก ดังนั้นยิ่งพื้นที่เพาะปลูกมาก แตรก็จะถูกขยายกว้างขึ้นตามสัดส่วน ทำให้เกษตรกรได้รับนํ้าเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ ทั้งนี้กระบวนการส่งนํ้าจะไม่ประสบความสำเร็จออกมาเป็นรูปธรรมได้เลยหากขาดบรรดาอาสาชลประทานเป็นผู้ติดตามการส่งนํ้า โดยนายอนันต์ อธิบายว่าเมื่อพื้นที่ใดได้รับนํ้าพอเพียงแล้ว อาสาชลประทานก็ทำการสั่งปิดประตูนํ้า เพื่อให้นํ้าไหลไปยังพื้นที่อื่นที่ยังมีความต้องการใช้นํ้าอยู่ ซึ่งกลไกนี้ใช้เพียงอาสาชลประทานช่วยดูแตรแบ่งนํ้าเพียงแตรละ 1 คนเท่านั้น เรียกว่าประหยัดทั้งเวลาและกำลังคนเลยทีเดียว ไม่เพียงเท่านี้ กลุ่มฯ มีการสนับสนุนการทำธนาคารนํ้าไว้บริเวณหัวไร่ปลายนา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพื้นที่การเพาะปลูกของเกษตรกรบางรายอยู่ไกลดังนั้น ในบางปีเมื่อเกิดวิกฤตภัยแล้งจะส่งผลให้พื้นที่ท้ายคลองอาจรับนํ้าได้อย่างไม่เต็มที่ นํ้าที่สะสมไว้จึงถูกนำมาใช้เพื่อทดแทน และเมื่อสถานการณ์นํ้ากลับเข้าสู่สภาวะปกติ กลุ่มฯ ก็จะปล่อยนํ้าลงสู่ธนาคารนํ้าเพื่อเก็บไว้ใช้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินครั้งต่อไป

         

หอมแดงและกระเทียม ตัวชูโรงสำหรับการเพาะปลูกในหน้าแล้งเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนปริมาณนํ้าในโครงการอ่างเก็บนํ้าแม่ตํ๋า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะมีปริมาณนํ้าเต็มความจุอ่างคือ 37 ล้านลูกบาศก์เมตร จากมติที่ประชุมของกลุ่มฯ สำหรับแผนการใช้นํ้าในปี 2560 ได้แบ่งการบริหารจัดการนํ้าเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูแล้งจะใช้นํ้า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนนํ้าในอ่างที่เหลืออีก 20 ล้านลูกบาศก์เมตร จะใช้เป็นทุนสำรองไว้ปลูกข้าวนาปี การอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศของตัวอ่าง นอกจากนี้ ปัจจุบันกลุ่มฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ นั่นคือการปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อยทดแทนการทำนาปรัง เช่น หอมแดง และกระเทียม ซึ่งใช้นํ้าประมาณ 450 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ เท่านั้น ส่วนการใช้นํ้าของนาปรังมากถึง 1,860 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ และมีเคล็ดลับในการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวนาปี ซึ่งแบบเดิมเป็นนาดำมาเป็นนาหว่านแห้ง โดยการไถกลบที่นาให้แสงแดดฆ่าเชื้อราประมาณ 20 – 30 วันจากนั้นทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวได้เลยโดยไม่ต้องปลูกกล้าก่อน จากนั้นไถกลบเมล็ดพันธุ์ข้าว และปล่อยนํ้าไหลผ่านแปลงนาและระบายออกเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นเท่านั้น โดยไม่ปล่อยให้นํ้าท่วมขังเพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวเน่าและเกิดความเสียหาย เมื่อต้นกล้าเริ่มโตก็ทิ้งนํ้าไว้ประมาณ 2 เซนติเมตร และหมั่นคอยกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ย วิธีนี้จะทำให้ผลผลิตพร้อมเก็บเกี่ยวในระยะเวลา 4 เดือน การทำนาหว่านแห้งมีข้อดีคือ ลดขั้นตอนในการเพาะปลูก และประหยัดการใช้นํ้าได้มากนอกจากนี้ หากเปรียบเป็นการลงทุนก็ถือเป็นการลดต้นทุนการผลิตโดยคุณภาพยังคงเดิม แม้ผลผลิตต่อไร่จะได้น้อยกว่าการทำนาดำ แต่กำไรจากการทำนาหว่านแห้งจะได้มากกว่าเฉลี่ยไร่ละ 1,000 บาท

           

โดยเคล็ดลับการปลูกพืชเหล่านี้ให้ได้ผลผลิตดีคือ การใช้นํ้าผ่านเข้าไปในพื้น ที่เพาะปลกู เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินเท่านั้น ไม่ปล่อยให้ท่วมขังเพราะจะทำให้ผลผลิตเสียหาย นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อยชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น แตงโม ขอบคุณนายช่างชลประทาน ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากลุ่มบริหารการใช้นํ้าอ่างเก็บนํ้าแม่ตํ๋าได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผู้ใช้นํ้าชลประทานดีเด่นปี 2560 มาครอง สิ่งที่ทำให้ได้รับรางวัลในปีนี้ แม้จะมาจากหลายเหตุปัจจัยหลักด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ การเข้าใจและเข้าถึงของเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน

           โดยเฉพาะนายช่างวัชระ ลิ้มวิเศษศิลป์ หัวหน้าฝ่ายส่งนํ้าและบำรุงรักษาที่ 2 และทีมงานที่คอยเฝ้าติดตาม สารทุกข์สุขดิบความเป็นอยู่กันตลอดเวลา “จากความมุ่งมั่นตั้งใจจนได้รับรางวัลในปีนี้ ทำให้กลุ่มรู้สึกภาคภูมิใจมาก แต่เราจะไม่หยุดพัฒนาเพื่อให้ได้รางวัลชนะเลิศในการประกวดครั้งตอ่ ไป สิ่งหนึ่งที่อยากฝากถงึ กลมุ่ ผ้ใู ชน้ ํ้าอื่นๆ คือความเปน็ ปกึ แผน่ ของสมาชิกในกลุ่มที่เราสามารถสร้างความสามัคคีขึ้นมาได้จากขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษและเมื่อทุกคนรวมเป็นหนึ่งแล้ว การพัฒนาก็เป็นไปได้อย่างราบรื่นในทุกด้านและเมื่อพบเจออุปสรรคก็จะสามารถฝ่าฟันไปได้ด้วยดี” ประธานกลุ่มฯ คนเก่งทิ้งท้าย