ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เผยองค์ความรู้ 3 ด้าน
ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่ “ธุรกิจ” “เทคโนโลยี”
และ
“การออกแบบ”โดยองค์ความรู้ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีนั้นจะทำให้ผู้ประกอบการรู้เท่า
ทันรูปแบบธุรกิจในยุคปัจจุบัน รู้จักความเปลี่ยนแปลงของตลาด เท่าทันคู่แข่ง
และเข้าใจผู้บริโภค ไปพร้อมๆ
กับมีความคุ้นเคยกับนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สามารถนำมาผลักดันศักยภาพธุร
กิจของตนได้
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า
ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลปัจจุบัน องค์ความรู้หลัก 3 ด้าน
ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจได้แก่ “ธุรกิจ” “เทคโนโลยี” และ “การออกแบบ”
โดย“ธุรกิจ” และ “เทคโนโลยี”เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
สร้างความแปรผันไปอย่างควบคู่กันมาโดยตลอด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ นวัตกรรม และเทคโนโลยี
เป็นตัวแปรชี้วัดสำคัญที่ตัดสินศักยภาพของธุรกิจ
เพราะในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าทุกคนสามารถผันตัวขึ้นเป็นผู้ประกอบ
การผ่านการใช้เทคโนโลยีที่เปิดกว้าง สร้างช่องทางที่หลากหลายในการทำธุรกิจ
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจรายเล็กหรือผู้ประกอบการเพียงคนเดียวสาม
ารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาดโลกได้ ในขณะเดียวกัน
เทคโนโลยีก็ทำให้เกิดช่องทางที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสประสบการณ์กับแบรนด์ได้ง่าย
ขึ้น
จากเดิมที่ประสบการณ์ของผู้บริโภคจะเกิดได้จากการสัมผัสหรือทดลองสินค้าแล้วเท่า
นั้น แต่ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชั่น เว็บไซต์
รวมไปถึงโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่ล้วนมีผลต่อ “ประสบการณ์ของผู้บริโภค” (Consumer
Experience) ทั้งสิ้น
ฉะนั้นแล้วผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องรู้เท่าทันรูปแบบธุรกิจในยุคปัจจุบัน
รู้จักความเปลี่ยนแปลงของตลาด เท่าทันคู่แข่ง และเข้าใจผู้บริโภค
ไปพร้อมๆกับมีความคุ้นเคยกับวัตกรรมเทคโนโลยืที่ทันสมัยที่สามารถนำมาผลักดันศัก
ยภาพธุรกิจของตนได้
นอกจากองค์ความรู้ด้านธุรกิจ และเทคโนโลยีแล้วนั้น
อีกหนึ่งองค์ความรู้สำคัญที่มีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบันคือ
“การออกแบบ”โดยการออกแบบที่นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจยุคดิจิทัลนั้น
ไม่ใช่เพียงเครื่องมือในการสร้างความสวยงามให้แก่สินค้าหรือบริการ
แต่การออกแบบนำไปสู่ “กระบวนการคิดเชิงออกแบบ”(Design Thinking) และ
“ความคิดสร้างสรรค์”(Creativity) คีย์สำคัญสู่การตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างมีศักยภาพ
กระบวนการคิดดังกล่าวให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้วยการออกแบบอย่างสร้างสร
รค์บนพื้นฐานของกลยุทธ์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีต่างๆ
โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่มีประสิทธิภาพ
จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการคิดวิเคราะห์ของวิศวกร (Analytic Thinking)
และการคิดแบบญาณทัศนะของนักออกแบบ (Intuitive Thinking)
ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาตอบโจทย์ทั้งในด้านประสิทธิภาพ และศักยภาพในการใช้งาน
ควบคู่ไปกับด้านความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีระหว่างการใช้งาน
กระบวนการคิดเชิงออกแบบนั้น
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับผู้ประกอบการทุกระดับ
ตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กอย่าง สตาร์ทอัพ
ไปจนถึงหน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ โดยสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพนั้น
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
จะทำให้เกิดการเปิดกว้างรับทุกไอเดียเพื่อหาทางออกที่จะสามารถสร้างความพึงพอใจ
และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด โดยต้องมองจากภายนอกสู่ภายใน
(Outside-in)
เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับรู้และสัมผัสถึงสินค้าหรือบริการจากมุมที่ผู้บริโภคเห็น
ซึ่งเมื่อนำมาประยุกต์ใช้ควบคู่กับหลัก “ลีน สตาร์ทอัพ” หรือการ สร้าง วัดผล
และเรียนรู้ แล้วนั้นจะช่วยลดเวลาและต้นทุนที่ไม่จำเป็นไปพร้อมๆ
กับการพัฒนาธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากที่สุด