โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

OPOAI พัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ก้าวไปสู่ Industry 4.0

               โดยดึงศักยภาพของวัตถุดิบในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการ ก้าวสู่ ประเทศไทย 4.0 ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการ OPOAI ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทางสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยมสถานประกอบการภาคใต้ 2 แห่ง ประกอบด้วย 1. เข้าเยี่ยม บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 45/6 หมู่ 6 ถนนลพบุรีราเมศวร์ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบกิจการผลิตแปรรูปเฉาก๊วยพร้อมรับประทาน 2. เข้าเยี่ยม บริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 190 หมู่ 11 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 93000 ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบกิจการผลิตเห็ดทอด ผักทอดต่างๆ และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป               นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการโอ-ปอย ได้จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผ่านแผนงานพัฒนา ซึ่งการทำงานของทีมที่ปรึกษาจะเข้าไปศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการจากคณะผู้บริหารของสถานประกอบการ เพื่อดูว่าสมควรที่เข้าพัฒนาในแผนงานไหนมากที่สุด เมื่อได้ข้อสรุปทางทีมที่ปรึกษาจะมีแผนการดำเนินงานให้ปฏิบัติจริง และติดตามผลพร้อมทั้งคำปรึกษาเป็นระยะๆ รวมระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยประมาณ 4-6 เดือนจึงจะเสร็จสิ้นโครงการ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2559 ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1 ปี สามารถ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานประกอบการโดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 326 ล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา 31.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 10.32 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 135 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ยรายละ 2.41 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2559 สามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับสถานประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 4,455 ล้านบาท จากวงเงินงบประมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับ 354.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 12.56 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 1,334 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ย 3.34 ล้านบาท               นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ทางสถานประกอบการได้รับโดยตรงที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือ ได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของสถานประกอบการเอง ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การบริหารงาน และอื่นๆ ที่บางครั้งสถานประกอบการเอง อาจจะมองไม่เห็นข้อบกพร่องนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาและแก้ไขจุดบกพร่องนั้นเป็นการเฉพาะจุดจริงๆ สำหรับในปีงบประมาณ 2560 มีสถานประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการจำนวน 171 ราย จำนวนแผนงาน 260 แผนงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างสรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ โดยในวันนี้ได้มีการเยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด จังหวัดสงขลา และ บริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด จังหวัดพัทลุง ทั้ง 2 รายเป็นสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2560 และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถ      นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม นายวีรพัฒน์ ปรางค์ศรีทอง ผู้จัดการ บริษัท เฉาก๊วยสงขลาชากังราว จำกัด กล่าวว่า  บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจประเภทอุสาหกรรมอาหาร ผลิตแปรรูปเฉาก๊วยพร้อมรับประทาน สำหรับบริษัทเริ่มต้นธุรกิจในปี 2558 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท  จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนในประเทศ มียอดจำหน่าย 500,000 ถุงต่อปี (เมื่อปี 2558) โดยมีตลาดในประเทศ 95% ต่างประเทศ 5% โดยนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอินโดนีเซีย 80% ภายในประเทศ 20%  มียอดขาย  3,385,000 บาท/ปี เข้าร่วมโครงการ โอ-ปอยในปี 2560 นายชัยยงค์ คชพันธ์ ผู้จัดการบริษัท เห็ดทอดนาโหนด ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เห็ดนางรมทอด และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป Delong กาแฟข้าว ดำเนินกิจการในปี 2522 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท มียอดขายผลิตภัณฑ์เห็ดนางรมทอดรวมในปี 2559 เท่ากับ 7,800,000 บาท ช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ขายว่าจ้างผลิต 90% ขายให้ผู้บริโภคโดยตรง 10% โดยจำหน่ายในประเทศ 95% ต่างประเทศ 5% โดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด โดยเลือกเข้าโครงการโอปอยในปี 2560