โดยคุณฉัตรทิพย์ วีราสา ได้พูดถึงเรื่องความเสี่ยงการค้าระหว่างประเทศและการรับประกันความเสี่ยงไว้ว่า อยากให้ความสำคัญเรื่องความเสี่ยงการค้าระหว่างประเทศ คือความเสี่ยงที่ไม่ได้เงินจากคู่ค้าจากต่างประเทศ เช่น ผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศติดต่อซื้อขายจากผู้ส่งออกชาวไทย แต่ต่อมาผู้ส่งออกได้รับหนังสือแจ้งว่าผู้ซื้อล้มละลาย อย่างในกรณีนี้ หากไม่ได้ทำประกันการส่งออกไว้ก็อาจทำเกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจหลายพันล้านได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาคู่ค้าให้ดี โดยในส่วนของเทคนิคการพิจารณาคู่ค้านั้น มีปัจจัยในการพิจารณาคือ ข้อมูลทั่วไปของคู่ค้า, ต้องดูสถานะทางการเงิน, ผลการดำเนินงาน, ชื่อเสียงในท้องถิ่น รวมถึงประวัติการชำระหนี้ ข้อควรระวังคือต้องสังเกตผู้ซื้อที่สั่งสินค้าเป็นจำนวนมากในการซื้อครั้งแรก ควรเริ่มต้นการค้าขายกับผู้ซื้อรายใหม่ด้วยเทอมการชำระเงินความเสี่ยงต่ำ การเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายต้องมีหลักฐาน เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญคือต้องเก็บหลักฐานการติดต่อไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินจนครบ นอกจากนี้ยังต้องมองความเสี่ยงของประเทศคู่ค้า โดยมองถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนกฎระเบียบการนำเข้าสินค้า และในส่วนของการจัดการความเสี่ยง สามารถจัดการได้ แล้วแต่จะจัดการอย่างไร โดยเครื่องมือในการถ่ายโอนความเสี่ยงก็คือ การใช้บริการรับประกันความเสี่ยง บริการรับประกันความเสี่ยงเป็นการรับประกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศภายหลังการส่งออก โดยประโยชน์ของบริการการประกันการส่งออกนั้นจะช่วยให้เรารู้จักผู้ซื้อดียิ่งขึ้น ทำให้กล้าเสนอเทอมที่ผ่อนปรนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยขยายตลาดส่งออกทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ตลอดจนได้รับค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียกายรวมถึงมีคนช่วยติดตามหนี้ให้อีกด้วย และในส่วนคุณสุรเชษฐ์ พวงเกตุแก้ว ผู้จัดการ SME BANK เขต 11 มาอธิบายเงื่อนไขสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ของ SME BANK สำหรับผู้ประกอบการไว้ว่า ตอนนี้ SME แบงก์มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอยู่ 2 […]