โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ทำอย่างไร...ให้ร้านค้าขนาดเล็กหลีกหนีจากความล้มเหลว

สังคมยุคใหม่ คนยุคใหม่ รักอิสระนิยมเปิดร้านค้าเป็นของตนเอง ทุกวันมีร้านค้าเปิดใหม่มากมาย แต่ก็มีร้านค้าที่เจ็บตัวไปมากมายเช่นกัน แล้วเราจะหลีกหนีจากปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร

1.ธุรกิจขนาดเล็กมักจะตายด้วยการจัดการเรื่องกระแสเงินสดไม่เป็น ไม่มีการจดรายการเงินที่จะเข้า รายการเงินที่จะออก อย่างลืมนะว่า เงินออกแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเงินจะเข้าได้ทันที มันต้องผ่านกระบวนการของธุรกิจ เช่นร้านอาหารก็ต้องผ่านการปรุง ร้านซื้อมาขายไป ก็ต้องรอลูกค้าเข้าร้าน ทั้งหมดนี้มีระยะเวลาของมัน แล้วกว่าที่เงินจะเข้ามาระหว่างนี้มีค่าใช้จ่ายในกิจการที่ต้องรู้จักสำรองประเมิน ทั้งหมดนี้คือกระแสเงินสดทั้งสิ้น หากบริหารไม่ดีก็ขาดสภาพคล่อง การขาดสภาพคล่องจะนำไปสู่การกู้ยืม และทำให้สุขภาพของกิจการเริ่มเข้าสู่ความเสี่ยงและมีภาระเพิ่มขึ้นนั่นคือดอกเบี้ย

2.คำว่าแผนธุรกิจ หลายคนมักคิดว่าเป็นความจำเป็นสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นความจำเป็นสำหรับร้านค้าขนาดเล็กเช่นกัน เพราะนั่นคือเข็มทิศในการนำทางให้ร้านค้าขนาดเล็กจะก้าวไปแต่ละก้าวได้อย่างไร ถ้าผิดไปจากแผนจะแก้ไขอย่างไร เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้กระทำได้อย่างทันท่วงที ไม่ใช่เป็นปัญหาจนสายเกินแก้ ตัวอย่างเช่น ร้านขายข้าวมันไก่ ลงทุนเปิดร้านไปแล้วประมาณ 30,000-40,000 บาท ต้องวางแผนว่าเดือนที่ 1-3 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ถ้าไม่เพิ่มตามเป้าหมายจะแก้ไขอย่างไร แต่แค่ไหนที่รับไม่ได้ต้องอยู่ในจังหวะที่ต้องตัดสินใจก่อนที่จะเจ็บไปกว่านี้ เป็นต้น

3.หลีกเลี่ยงการกู้เงินอย่างถึงที่สุด เป็นความจริงอยู่อย่างหนึ่งว่าผู้ประกอบการรายเล็กๆ มักจะไม่มีเงินทุนในการเปิดร้านหรือทำกิจการ แต่การเริ่มต้นด้วยเงินทุนที่น้อยที่สุด ตามกำลังของเราค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ โต จะเป็นความเสี่ยงของธุรกิจที่น้อยที่สุด การกู้เงินขอเป็นทางเลือกที่สองสำหรับผู้ที่ประเมินและวางแผนธุรกิจมาเป็นอย่างดี จนมั่นใจแล้วว่าจะสามารถทำกำไรตามแผน เพราะอย่าลืมว่าการกู้เงินจะสร้างภาระที่สำคัญประการหนึ่งตามมานั่นคือต้นทุนด้านภาษี และหากไม่สามารถปลดหนี้ได้ ทรัพย์สินของเราก็จะหายไปด้วย

4.พยายามประคับประคองตนให้อยู่รอดให้ได้ภายใน 1 ปี จากสถิติที่ผ่านมาปรากฏว่าธุรกิจจะอยู่รอดได้หรือไม่ วิกฤตจะอยู่ในช่วง 12 เดือนหรือ 1 ปีแรก ทั้งนี้สาเหตุมาจากยังเป็นกิจการเริ่มต้น เงินทุนน้อย การบริหารร้านค้ายังไม่คงที่ ต้องเผชิญกับการแข่งขัน ในขณะเดียวกันลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าขาจร ไม่ประจำ กิจการจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี พร้อมกับแผนทางการตลาดที่ดีเยี่ยมในการค่อยๆ สร้างฐานลูกค้าประจำให้เกิดขึ้นจนสามารถที่จะคุมต้นทุนพื้นฐาน หรือถ้าจะให้ปลอดภัยต้องมีกำไรประมาณ 1 ใน 3 เพื่อสำรองความเสี่ยงและพร้อมที่จะก้าวต่อไปในปีที่ 2