โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

มิติใหม่ “สตรีทฟู้ดไทย” นำนวัตกรรม AI มาปรับใช้ โอกาสโกอินเตอร์สูง

ตามที่ ชี้ช่องรวย ได้เคยนำเสนอการนำเอา นวัตกรรม-เอไอ มาพัฒนาธุรกิจอาหารริมถนน หรือ สตรีทฟู้ด จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อพัฒนาคุณภาพสตรีทฟู้ดไทย ด้วยการนำเอาโมเดล “สตรีทฟู้ดชุมพร” มาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งพลิกมาตรฐานอาหารริมถนนผัดไทยใน 4 มิติ คือ 1.ยกระดับอาหารปลอดภัย 2.รังสรรค์เมนูแปลกใหม่ 3.รีดีไซน์รถเข็นและแพคเกจจิ้งและ 4.สร้างสตอรี่ให้ร้านค้า

โดยทาง สจล. ได้พัฒนา 4 นวัตกรรมต้นแบบ ได้แก่ “หุ่นยนต์ขายหมูปิ้งพร้อมเตาย่างลดควัน”หุ่นยนต์แขนกลที่ช่วยเพิ่มเวลาผู้ค้าและการอาศัยหลักการถ่ายเทความร้อนด้วยน้ำ เพื่อลดรอยไหม้และควันที่เกิดจากการปิ้งย่างและ“รถเข็นผลไม้-รถเข็นหมูปิ้ง”ที่มาพร้อมระบบกรองน้ำคุณภาพ-ความสะอาดเทียบเท่าน้ำดื่มและระบบบำบัดควันที่มาพร้อมแผ่นกรองและแพคถ่านก้อนที่ช่วยดูดซับและกรองควันสะอาดก่อนปล่อยสู่อากาศทั้งนี้นับเป็นการตอกย้ำจุดแข็งของสถาบันในการเป็น“รากฐานนวัตกรรม”ของประเทศที่พร้อมผลักดันประเทศให้เป็นสังคมแห่ง“สมาร์ทซิตี้” (Smart City) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เกี่ยวกับประเด็นนี้ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ให้คำแนะนำแก่ ผู้ประกอบการสตรีทฟู้ดไทย ให้นำนวัตกรรม-เอไอมาปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพธุรกิจ และลดขั้นตอนหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นของผู้ค้า (Human Error) ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและเป็นการสร้างมาตรฐานคุณภาพผลผลิตรองรับการมุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ในอนาคต

พร้อมชี้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนยื่นมือสนับสนุน เพื่อยกระดับธุรกิจสตรีทฟู้ดไทยได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย (Food Safety) เบอร์หนึ่งของโลก และเรียกความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวไทย-ต่างประเทศซึ่งล่าสุด ทีมนักวิจัย สจล. ได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อสายสตรีทฟู้ดจำนวนมาก ภายใต้แคมเปญ“สจล. เตรียมยกระดับสตรีทฟู้ดไทยหนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับเวิร์ลคลาส” (World Class)

ทั้งนี้ สจล. ได้พัฒนาโมเดลต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงาน อย่าง “สตรีทฟู้ดชุมพร” (KMITL Street Food Chumphon) ยกระดับมาตรฐานร้านค้าริมบาทวีถี ณ ถนนกรมหลวงชุมพรใน 4 มิติ ได้แก่

  1. ยกระดับอาหารปลอดภัย ผ่านการจัดอบรมเรื่องอันตรายปลอดภัยแบบครบลูปห่วงโซ่อาหาร จัดทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเรื่องความสะอาดถึงหลังครัวพร้อมเก็บตัวอย่างของวัตถุดิบ/อาหาร เพื่อวิเคราะห์หาอันตรายทางเคมีและจุลินทรีย์ในห้องแลป
  2. รังสรรค์เมนูแปลกใหม่ ด้วยการต่อยอดจากเมนูที่ขายเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่และเพิ่มรายได้ พร้อมใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อจัดจำหน่าย
  3. รีดีไซน์รถเข็นและแพคเกจจิ้ง การดีไซน์ฟังก์ชันรถเข็นให้เป็นทั้งจุดป้องกันการปนเปื้อนสวยสะดุดตา และสะดวกต่อการใช้งาน
  4. สร้างสตอรี่ให้ร้านค้า ด้วยการสร้างจุดเด่นให้กับร้านค้าเพื่อเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มแก่เมนูอาหาร

นอกจากนี้ สจล. ยังเตรียมเปิดคอร์สเสริมศักยภาพผู้ประกอบการทั้งหลักการปรุงคุณประโยชน์การพัฒนาเรื่องสูตรแพคเกจจิ้ง (Packaging) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคให้มีความมั่นใจในความสะอาดปลอดภัยที่ยังคงเอกลักษณ์เรื่องรสชาติความอร่อย ทั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำจุดแข็งของสถาบันในการเป็น“รากฐานนวัตกรรม”ของประเทศที่พร้อมผลักดันประเทศให้เป็นสังคมแห่ง“สมาร์ทซิตี้” (Smart City) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์สจล. โทรศัพท์ 02-329-8111หรือwww.facebook.com/kmitlofficialเว็บไซต์ www.kmitl.ac.th