ครีเอเตอร์ กลายเป็นอาชีพในฝันของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งหากพิจารณาผลการศึกษาที่น่าสนใจจาก Adobe เกี่ยวกับ Creator Economy พบว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลมีครีเอเตอร์มากกว่า 303 ล้านคนทั่วโลก และมากกว่าครึ่ง เริ่มเป็นครีเอเตอร์ในปี 2020 การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของจำนวนครีเอเตอร์จากทั่วโลก สัมพันธ์กับแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเป็นครีเอเตอร์ได้ มีเครื่องมือที่รองรับการสร้างคอนเทนต์ให้เข้าถึงได้มากขึ้น
และสำหรับ TikTok ได้กลายเป็นพื้นที่แห่งโอกาส เพราะไม่ว่าใครก็เป็น TikTok Creators ได้ง่ายๆ ด้วยสมาร์ทดีไวซ์เพียงเครื่องเดียว ที่หลอมรวมกับความคิดสร้างสรรค์และไอเดียเจ๋งๆ แน่นอนว่า มีครีเอเตอร์ จำนวน นับไม่ถ้วนที่เกิดและเติบโตอย่างมั่นคงบน TikTok ซึ่งในอีกมุมหนึ่งชี้ให้เห็นว่า TikTok ไม่ได้เป็นแค่แพลตฟอร์มในการแสดงออกความเป็นตัวตนเท่านั้น แต่ยังเปี่ยมไปด้วยชุดข้อมูลความรู้ที่ถูกนำเสนออย่างเรียบง่ายแต่ทรงพลัง และเป็นช่องทางสื่อสารสำคัญอีกช่องทางหนึ่งขององค์กรหรือแบรนด์ด้วยเช่นกัน
จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเราจะเห็น CEO จำนวนมากสวมหมวกเป็นครีเอเตอร์ชื่อดังบน TikTok ด้วย นับเป็นโอกาสดีที่ได้สัมภาษณ์ CEO 2 ท่านจาก 2 ธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
โลกแห่งความท้าทายและการค้นพบของ เอ็ม ขจร เจียรนัยพานิชย์ CEO เว็บ RAiNMaker
“ในโลกดิจิทัลเต็มไปด้วยโอกาส คนที่มองเห็นและหยิบมาใช้ก่อนจะได้เปรียบกว่า โดยเฉพาะถ้าอยู่ในจุดที่ต้องรับผิดชอบองค์กรและทีมงาน เราต้องเป็นคนที่ก้าวก่อนคนอื่นๆ”
ขจร เจียรนัยพานิชย์ หรือ @Khajochi Blogger ชื่อดังในแวดวง IT หรือที่รู้จักกันในชื่อ แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ ผู้ก่อตั้ง MacThai MangoZero และ RAiNMaker และล่าสุดในฐานะผู้จัดงาน iCreator Coference 2022 มหกรรมรวมครีเอเตอร์แนวหน้าและแพลตฟอร์มชั้นนำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ กับมุมมองและตัวตนที่อาศัยความ “กล้า” ที่จะ “ลอง” เพื่อค้นพบ เช่นเดียวกับ การเข้ามาใน TikTok ที่คุณเอ็มถือว่าเป็นผู้ใช้ยุคบุกเบิกเลยทีเดียว
“การที่เราอยู่ในแวดวงของเทคโนโลยีและสื่อ จะทำให้เราเห็นเทรนด์ เห็นแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอด เราจะรู้ว่า ถ้ามีกระแสในต่างประเทศแล้ว อีก 1-2 ปี จะมาฮิตในไทยแน่นอน แต่ต้องบอกว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตเร็วเกินคาดมากๆ ผมรู้จัก TikTok ตั้งแต่เริ่มดังที่อเมริกา พริบตาเดียวคือมาไทยแล้ว เร็วกว่าที่คิด และใช้เวลาสั้นมากสำหรับการขยายฐานผู้ใช้ทั้งในไทย และทั่วโลก”
เส้นทางการเป็นครีเอเตอร์นั้นเต็มไปด้วยประสบการณ์ คุณเอ็มเริ่มต้นกับ TikTok ด้วยการทดลองใช้ จากการไถฟีดอย่างเดียว ไปจนถึงการลองสร้างคอนเทนต์หลายๆ แนว และค้นพบเสน่ห์ที่น่าสนใจ
“เสน่ห์ของ TikTok สำหรับผมคือความฉลาดของอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มนี้ ที่เข้าใจผู้ใช้และเข้าใจเทรนด์
สิ่งที่ปรากฏอยู่หน้าฟีดจะสะกดให้คุณเลื่อนดูไปเรื่อยๆ ด้วยความเพลิดเพลินและความสุข เพราะมันตรงกับความสนใจของคุณแต่ก็นำเสนอเรื่องอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจเช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะใช้เวลากับ TikTok ไปอย่างไม่รู้ตัว นอกจากจะเอื้อต่อผู้ใช้แล้ว ฟีเจอร์หรือเครื่องมือต่างๆ ของ TikTok ยังสนับสนุนการเป็นผู้สร้างด้วยเช่นกัน การผลิตคอนเทนต์วิดีโอที่มีความซับซ้อน ไม่ว่าจะการถ่าย ตัดต่อ ใส่เพลง ใส่ subtitle
ใส่ Video Effect ต่างๆ สามารถครีเอทได้ภายในสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ง่าย สะดวก ประหยัด ขนาดอาม่าผมยังทำเองได้เลย”
“เริ่มใช้ TikTok แรกๆ นอกจากความสนุกที่ได้ลองอะไรใหม่ๆ แล้ว เรายังเห็นโอกาสบางอย่างที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้ด้วย ในมุมของการเป็นผู้นำองค์กร เราต้องกล้าที่ลอง ก้าวไปก่อน เป็นตัวอย่างให้ทีม”
“แรกๆ ที่เริ่มทำคอนเทนต์บน TikTok ผมลองทำทุกแนวเลย เต้นก็ลองมาแล้ว จนเริ่มทำคอนเทนต์ให้ความรู้ตามความถนัดของเรา ทีนี้อะไรที่เป็นตัวตนจริงๆ กลายเป็นสิ่งที่ตรงกับความสนใจของคนอื่น ยอดวิวพุ่งขึ้นต่อเนื่อง จากหลักร้อย พัน ไปจนถึงหลักล้าน เราเลยเจอแนวทางการทำคอนเทนต์ของตัวเองว่า คนดูเราเพราะเป็นเรา เพราะความรู้ที่ได้จากเรา ไม่ใช่เป็นคนอื่นหรือทำในสิ่งที่ไม่ใช่เรา”
“ความพิเศษของ TikTok คือ เราไม่สามารถ copy & paste คอนเทนต์จากแพลตฟอร์มอื่นๆ มาใช้ได้ เพราะมีความแตกต่างกัน บน TikTok เราต้องใส่ความ Creativity ไปด้วย ทำคอนเทนต์เล่าเรื่องยังไงให้สนุก อันนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก”
และแน่นอน ในฐานะ CEO คุณเอ็ม เห็นโอกาสมากมายบน TikTok
“การสร้างช่องทางของตัวเรา แบรนด์ หรือองค์กรบนโลกดิจิทัล คนมักจะเข้าใจว่าจะต้องมีจำนวนผู้ใช้เยอะๆ ก่อน แต่สำหรับผม มองว่าคนที่เข้าไปในช่วงการเติบโตของแพลตฟอร์มนั้นได้เปรียบ เพราะช่วงการเติบโตจะพุ่งไวกว่า และที่สำคัญการสร้างช่องให้โตไปพร้อมกับแพลตฟอร์มนั้นใช้งบน้อยกว่าแน่นอน ถึงยุคที่ผู้นำต้องเป็นทั้งภาพลักษณ์และกระบอกเสียงขององค์กรแล้ว ในเมื่อช่องทางของการสื่อสารบน TikTok ง่ายและเอื้ออำนวยขนาดนี้ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ลองใช้”
โลกแห่งโอกาสและการต่อยอดธุรกิจของ แพรว-พรรณระพี” เจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมแฟชั่น
“ทุกคนถามเราว่า มาร์เกตติ้งทีมธุรกิจของเราใครทำให้ ทีมไหนอยู่เบื้องหลัง จะเซอร์ไพรส์มั๊ยถ้าบอกว่าไอเดียขยายธุรกิจของเรามาจากคอมเมนต์บน TikTok”
แพรว-พรรณระพี โกสิยพงษ์ หรือ @preaw.panrapee ผู้ให้คำจำกัดความตัวเองว่า เป็นเจ้าของโรงงานตัดเย็บและสกรีนแห่งหนึ่ง เธอคือผู้ก่อตั้ง ทำ – มา – หา – กิน เพื่อเล่าเบื้องลึกเบื้องหลังอุตสาหกรรมแฟชั่นที่เน้นรณรงค์ให้ผู้คนมาสนใจเรื่องของ Fast Fashion ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และความตั้งใจที่จะผลักดันอุตสหกรรมเสื้อผ้าให้ไปได้ไกลอย่างยั่งยืน
“ตอนแรก เราคิดว่า TikTok ไม่ใช่พื้นที่ของเรา ผู้คนใน TikTok ส่วนใหญ่สนุกและเต้นเก่ง ในขณะที่เราทำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียอื่นๆ มาแบบเนิร์ดมาก คือเป็นความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการผลิตเสื้อผ้าเลย สิ่งที่เราลงใน TikTok ช่วงแรกๆ เป็น Video infographic ที่มีอยู่แล้ว ก็ลองเอามาโพสต์ ซึ่งคนไม่สนใจ อาจเพราะดูไม่ friendly ดูไม่เข้ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราพบตอนนั้นคือ มีกลุ่มคนให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของขยะ และความยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งตรงกับความตั้งใจของเรา ที่อยากสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของผู้คนในเรื่องนี้”
“เริ่มต้นจริงๆ คงมาจากการทำวิดีโอสั้นๆ เล่าถึงนิทรรศการของเราที่จัดขึ้นที่ Gallery ที่เจริญกรุง (ATT19)
แล้วมีคนสนใจเข้ามาดูทำให้เราเริ่มเข้าใจว่า คนบน TikTok เค้าดูอะไรที่เป็นจริง จับต้องได้ เลยเริ่มเอา
คอนเทนต์ที่เราทำอยู่แล้วเกี่ยวกับเบื้องหลังของแวดวงแฟชั่นมาย่อย พาไปดูเลย โรงงานผลิตเสื้อผ้าเป็นยังไง ขั้นตอนการผลิตเป็นยังไง ซื้อผ้าที่ไหน กระดุมมีแหล่งขายที่ไหน เราอยากให้คนเข้าใจที่มาที่ไปของเสื้อผ้า 1 ตัวที่ต้องผ่านกระบวนการอะไรมากมาย เพราะอยากให้คนเห็นคุณค่า”
“กลายเป็นว่าคอนเทนต์ความรู้เชิงลึกที่เราทำ กลับมีกลุ่มคนที่ให้ความสนใจอย่างจริงจัง มี engagement ที่ดีมากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ คนที่มาคอมเมนต์ส่วนใหญ่ เป็นลูกค้า และคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับเรา จึงมีความ Real มาก ซึ่งมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ใช้และตัวเองไปจนถึงธุรกิจของเรา”
จากความไม่มั่นใจในช่วงแรก คุณแพรวในวันนี้เรียกได้ว่ายืนหนึ่งในการทำคอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าบน TikTok ที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นไม่ควรพลาดไปพร้อมกับการขยายธุรกิจในแบบที่ทุกคนต้องทึ่ง
“เมื่อก่อนเราทำธุรกิจแบบ B2B อย่างเดียว ไม่สนใจอย่างอื่น TikTok เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขยายธุรกิจมาเป็น B2C และพบว่าประสบความสำเร็จสูงมาก ล่าสุดคือเพิ่งจะเปิดสาขา 2 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มลูกค้าก็ขยายขึ้นเติบโตขึ้นแบบที่เรียกว่าก้าวกระโดดเลย”
“เรามองว่าการทำคอนเทนต์บน TikTok ของเราคือการให้ความรู้ แต่กลายเป็นว่าเราได้รับอะไรกลับมาเยอะมาก ทั้งมุมมองใหม่ๆ ลูกค้าไปจนถึงคู่ค้าใหม่ๆ ที่สำคัญคือ เราได้รับความเชื่อมั่นกลับมามากจริงๆ มีคนเข้าใจ และเห็นภาพรวมอุตสาหกรรมไปในทิศทางเดียวกัน”
“สำหรับเรา TikTok เป็นเหมือน R&D ที่รวมตัวกับทีมการตลาด ที่ช่วยสะท้อนและฉายภาพให้เราเห็นทิศทางธุรกิจที่กำลังจะเติบโต Next step ของบริษัทที่จะเกิดขึ้นในปีนี้คือการเข้าไปอยู่บน TikTok Shop เพราะเรามองว่าอีคอมเมิร์ซโซลูชันนี้สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้แน่นอน ในฐานะของผู้นำบริษัทเรามองว่า TikTok เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้”
มุมมองจาก CEO ที่สวมหมวกของครีเอเตอร์ ทั้ง 2 ท่านที่แชร์ประสบการณ์เหล่านี้ นอกจากจะย้ำความเป็น Trusted Entertainment Platform Powered by Our Community ของ TikTok แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึง โอกาสและแนวคิดใหม่ๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้ทั้งกับผู้ใช้ ครีเอเตอร์ ตลอดจน แบรนด์และผู้ประกอบการในแง่มุมอื่นๆ อีกมากมายเช่นกัน