“ปัญหาที่เราเจอคือ เรามีเงินซื้อข้าว แค่เปลี่ยนพาหนะจากที่เคยขับรถยนต์มาเป็นปั่นจักรยาน แต่ร้านต้อนรับเราด้วยความไม่เป็นมิตร เช่น ไม่มีที่จอดสำหรับรถจักรยาน จะชวนให้เขาติดแร็คจักรยาน ก็ไม่มีใครยินดีที่จะทำ ทุกคนเห็นจักรยานเป็นชิ้นส่วนที่เกะกะของสังคม ทั้งๆ ที่เราก็ใช้ชีวิตตามปกติ แค่เปลี่ยนพาหนะเท่านั้น”
Café Velodome จึงถือกำเนิดขึ้น และมิใช่เพียงแค่สถานที่ที่ตั้งชื่อและตกแต่งธีมสองล้อ ขายกาแฟและเบเกอรี่ธรรมดาๆ แต่ Café Velodome ของเธอจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดทริปจักรยาน เป็นสถานที่นัดพบรวมตัวกันของคนที่รักการปั่น ใครยังไม่กล้าและอยากจะเริ่มต้น ที่นี่พร้อมเป็นสถานุบาลให้กับผู้ที่อยากจะมาใช้ชีวิตแบบ “คนจักรยาน” โดยส่งต่อประสบการณ์ดีๆ ที่เธอเคยได้รับสมัยเป็นมือใหม่หัดปั่นให้กับทุกคน
“เราสำรวจเส้นทาง ทำการบ้านเยอะมาก เพื่อเป็นพี่เลี้ยงพาทุกคนปั่นออกทริป หรือปั่นไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งออกถนน ลัดเลาะตรอก ซอก ซอย จูงข้ามถนน ลงเรือ เราเชื่อว่าเมื่อความกลัวหายไป เขาจะเริ่มมองหาจุดหมายใหม่ๆ ในการเดินทางด้วยจักรยาน ดังนั้น ลูกค้าของร้านที่เป็นกลุ่มนักปั่นจึงไม่ซ้ำหน้า มีหน้าใหม่เข้ามาเรื่อย แต่อย่างน้อย Café Velodome ก็เป็นสัญลักษณ์ที่คนจักรยานรู้จักและแนะนำบอกต่อ หากปั่นผ่านมาแถวเกาะรัตนโกสินทร์ ก็ต้องแวะมาที่นี่”
Café Velodome ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีกฎระเบียบให้ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องปิดร้านเวลา 2 ทุ่ม ยอดขายที่ได้จากนักปั่นในวันธรรมดาจึงแทบจะเป็นศูนย์ เพราะร้านปิดทำการเสียก่อนที่คนจักรยานซึ่งนิยมปั่นหลังเลิกร้านคุณนนลนีย์ จึงใช้วิธีจัดทริปปั่นจักรยานของทางร้านจะจัดอย่างน้อยเดือนละครั้ง อัพเดตกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางเฟซบุ๊ก หรือบอกต่อปากต่อปาก
งานนี้ทำด้วยใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ใครไม่มีจักรยาน ที่ร้านก็มีอยู่ราว 10 คันให้ยืมปั่นครั้งละ 3 ชั่วโมง เพียงทิ้งบัตรประชาชนเอาไว้ หากองค์กรใดต้องการให้มืออาชีพอย่างเธอช่วยจัดกิจกรรมในลักษณะ CompanyTrip ตรงนี้จะมีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นรายได้อีกก้อนที่หล่อเลี้ยงร้าน นอกเหนือจากค่ากาแฟแก้วละไม่ถึงร้อย
“Company Trip เริ่มต้นจากคนที่มาปั่นจักรยานกับเราแล้วรู้สึกสนุก ก็กลับไปเสนอองค์กรบริษัทที่ตนทำงานอยู่ เพื่อให้เราออกแบบเส้นทางและจัดกิจกรรมปั่นจักรยานแบบ One Day Trip เราคิดราคากันเองอยู่ที่ 6,000-7,000 บาท ต่อนักปั่นจำนวน 10 คน”
ปัจจุบันมีร้านในคอนเซ็ปต์ไบซิเคิลคาเฟ่เปิดเพิ่มขึ้นอย่างน่าจับตา ทั้งจากคนที่รักการปั่นจักรยานไม่ต่างจาก คุณนนลนีย์ รวมถึงนักธุรกิจที่มองเห็นโอกาสจึงนำเงินมาลงทุนเปิดร้าน ซึ่งเธอแนะนำว่าถ้าจะให้ดีต้องลองมาใช้ชีวิตแบบคนจักรยานดู จะได้รู้ว่าควรจะต่อ
ยอดธุรกิจไปในทิศทางใดได้บ้าง
“แม้แต่คอมมูนิตี้มอลล์ก็ใช้วิธีเปิดร้านในคอนเซ็ปต์นี้ เป็นจุดขายเพื่อดึงคนจักรยานเข้าไปเปลี่ยนที่เงียบๆ ให้คึกคัก แล้วไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ กระทั่งร้านโจ๊กใกล้บ้านก็ยังทำที่จอดจักรยาน มีที่สูบลมไว้ให้บริการ เป็นกิมมิคสำหรับเรียกลูกค้ากลุ่มนี้ ถือว่าคนในชุมชนให้การต้อนรับที่ดี เพราะเราไม่ได้เข้าไปทำเสียงดัง เราเข้าไปทักทาย สร้างสีสันให้กับชุมชน ช่วยอุดหนุนของกินของใช้ และทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นส่วนต่างจังหวัด ยังมีโอกาสอีกมาก ในเมืองที่คนชอบไปปั่นจักรยานกันเยอะๆ เช่น น่าน เลย ยังมีร้านขายจักรยานหรือร้านให้บริการซ่อมบำรุงจักรยานไม่มากนัก”
ในขณะที่ปั่นสำรวจเส้นทาง คุณนนลนีย์ ก็มองหาทำเลขยายสาขา Café Velodome ไปด้วย โดยต้องเป็นทำเลพื้นที่ที่มีต้นไม้สีเขียว ซึ่งรถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้วิธีที่จะเดินทางมาได้มีเพียงการเดินเท้าหรือปั่นจักรยานเท่านั้น นี่คือเสน่ห์ของร้านที่เธอมองว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม ลดจำนวนรถยนต์ และเพิ่มจักรยานมากขึ้น