ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

SMEs ที่มีประสบการณ์สูง ประสบความสำเร็จ สามารถผันภูมิปัญญานี้มาเป็นทุน ด้วยการสร้างระบบแฟรนไชส์


ขั้นตอนการเป็นแฟรนไชส์ซอร์ไม่ได้ง่าย แต่เอสเอ็มอีรายเล็กหากมีระบบ มีการจัดการที่ดี สามารถที่จะพัฒนาเป็นแฟรนไชส์และเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถผันมาเป็นทุน และส่งต่อลูกหลานได้

งาน มหกรรม “ Smart SME EXPO 2022” จัดหัวข้อบรรยาย สูตรสำเร็จ Step By Step ด้วยโมเดลแฟรนไชส์ โดย อาจารย์ชานนท์ มหาสิงห์ ผู้อบรมหลักสูตร CMF และดร.วิชัย เจริญธรรมานนท์ ผู้อำนวยการ สถาบัน CMF และนักเรียน CMF ประกอบด้วย ชาแอมที, Hana ,ก๋วยเตี๋ยวปัญจรส,

ดร.วิชัย ผู้อำนวยการ สถาบัน CMF กล่าวว่า ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดมาประมาณเกือบ 30 ปีแล้ว แรก ๆ เข้ามาคนไทยไม่เข้าใจ จริง ๆ แล้วคือการซื้อความสำเร็จที่บริษัทแม่ทำมาแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าคนซื้อแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จ เพราะมีหลายปัจจัยประกอบ ตอนแรก ๆ ส่วนใหญ่เป็นรายใหญ่เท่านั้นที่ลงทุน เพราะบริษัทแม่จากต่างประเทศค่อนข้างให้ความสำคัญในการคัดเลือกว่ามี Passion หรือไม่ ยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นอินเตอร์แบรนด์

ต่อมาอีก 20 ปี ในประเทศไทยไม่มีใครเขียนหนังสือแฟรนไชส์ จึงใช้การวิจัยแล้วนำมาเขียนเป็นหลักสูตรแฟรนไชส์ เป็นความเกี่ยวข้องกับการบริหารร้านหลาย ๆ สาขา ซึ่งแตกต่างจากการบริหารเดียว ในระยะแรกจึงมีหลายรายที่เปิดโดยคนไทยจึงตกม้าตาย

ถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่เกี่ยวกับอาหารต้องมีสูตรในการทำ และวิธีการปรุง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความเสี่ยง ความเบี่ยงเบนไม่ตรงกับมาตรฐานตัวแม่ จึงไม่ประสบความสำเร็จ

แต่ในปัจจุบันมีแฟรนไชส์ไทยประสบความสำเร็จมาก และสอดคล้องกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเป็นของตนเอง ส่วนฝั่งคนขายมีหลายร้อนแบรนด์ แต่คนซื้อต้องถูกจริตของตนเอง แฟรนไชส์ที่ดีที่สุดคือใช้คนน้อยที่สุด เพราะทำให้เกิดความผิดเพี้ยน และการอาศัยเครื่องจักรก็จะลดความผิดพลาดมากกว่าร้านอาหารที่ต้องมีสูตร มีการปรุง ต้องใช้ความเที่ยงสูง

ปัจจุบันมีกระบวนการบริหารจะมีการจัดการด้านครัวกลาง บริหารจัดการเรื่องสูตรวัตถุดิบจากส่วนกลางให้กระบวนการบางกระบวนการอยู่ที่ส่วนกลางให้มากที่สุดก่อน ก็จะทำให้สำเร็จได้ง่ายกว่าแต่ก่อน

 

 

วิธีการเตรียมการ Set Up แฟรนไชส์

1. แนวคิดกับแฟรนไชส์ไปด้วยกันไหม ถ้าเป็นเครื่องจักรมาก ๆ เพราะจะมีต้นทุนสูงบางทีขายยาก
2. ระบบเป็นอย่างไร ถ้าต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวดหรือไม่
3. ต้องจัดระเบียบงานของเราอย่างไร การคัดเลือกวัตถุดิบ ตัดส่วนเกินออกเหลือเท่าไหร่
4. การทำงานที่ซ้ำซ้อนกันก็ต้องตัดออก เพื่อให้เหลือขั้นตอนให้น้อยที่สุด
5. วัฒนธรรมองค์กรต้องเปลี่ยนไป อำนาจไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว มีเจ้าของแบรนด์จากคนซื้อ คนที่จะมาซื้อแฟรนไชส์ต้องมีการขบวนการถ่ายทอดจิตวิญญาณของธุรกิจ ตัวสิสินค้า
6. มีการสร้างมาตรฐานของแบรนด์ มาตรฐานของสินค้า เทคนิคในการทำสินค้า
7. การจัดระเบียบการทำงาน
8. การจัดระบบการทำงาน

ขั้นตอนการทำแฟรนไชส์

1. ศึกษาหาความรู้
2. การประเมินตัวเอง ลักษณะของสินค้าและบริการ
3. การพัฒนาองค์กร สรรหาบุคลากร เพราะกำลังจะพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเงิน เป็นมรดกให้ลูกหลาน
4. การจัดทำข้อปฏิบัติการทำงาน คู่มือปฏิบัติงาน การจัดระเบียบหน่วยงานต่าง ๆ การวางระบบให้ถูกต้องตามขั้นตอน ตลอดจนขั้นตอนการฝึกอบรม
5. จัดหาที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ วิธีการ ตั้งแต่การพัฒนาหน่วยงาน การเตรียมพร้อมภายใน เช่นการแนะนำการทำบัญชี คนแนะนำด้านการบริหาร
6. การกำหนดคุณสมบัติแฟรนไชส์ซี
7. กำหนดแฟรนไชส์แพ็คเก็จ รูปแบบและประมาณการลงทุน
8. เริ่มขยายระบบแฟรนไชส์
9. พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นประสบการณ์ในการจัดระบบการบริหาร ปรับปรุงให้ดีตลอดเวลา

 

 

กรณีตัวอย่างของเอสเอ็มอีไทยที่ปั้นแฟรนไชส์ขึ้นมา

เจ้าของชาแอมที เดิมทำทัวร์โควิดทำให้ขาดรายได้ เคยเปิดร้านชานมไข่มุกร้านเล็ก ๆ ที่กัมพูชาสร้างรายได้ ก็เลยขยายในกัมพูชา ติดโควิดไปไม่ได้ ตอนแรกไม่กล้าขยายในไทย เพราะการแข่งขันรุนแรง ต้องหาตัวตน และโดดเด่นในตลาด จนปัจจุบันมี 90 สาขา

เจ้าของร้านสะดวกซื้อ Hana บอกว่าตัวเองมีฐานค้าส่ง และหลังจากได้มาอบรมก็กลับไปทำแนวคิด และตั้งชื่อแบรนด์จากน้อง ๆ รุ่นใหม่คิดแนวคิดขึ้นมา หลังจากออกสื่อได้รับการตอบรับดี ต่อมามีคนสนใจ ดูทำเล ดูร้าน ดูแลเรื่องการออกแบบ มีสินค้า ผลิตภัณฑ์ ระบบหน้าบ้าน หลังบ้าน และด้วยเหตุผลที่มีสินค้า 2,000-3,000 รายการบริการให้แฟรนไชส์ซีได้ เริ่มต้นลงทุน 1 ล้านบาท ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปีคืนทุน ด้วยกำไร 30% โดยมีสัญญา 5 ปี หากทำเลดี จะคืนทุนเร็ว เพราะหากร้านขายของมาก ทางร้านก็มีกำไรด้วย หากเจ้าของขายเองจะกำไรดี ขายดี แต่ถ้าจ้างคนอื่นขายจะขายน้อยลง และคืนทุนช้า ค้าปลีกคู่แข่งมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการบริการ ทาง Hana ก็ใช้ระบบ POS ในการดูแลทั้งระบบหน้าร้านและหลังร้าน ซึ่งเป็นความสำคัญสำหรับค้าปลีก เพราะจะเป็นข้อมูลเรื่องการดู SKU ว่าตัวไหนขายดี หรือตัวไหนขายไม่ดี

ก๋วยเตี๋ยวปัญจรส ปัจจุบันมีกว่า 30 สาขา โดยใช้เวลาเพียง 1ปี ก่อนหน้านี้ไปซื้อสูตรมา มีปัญหารสชาติไม่คงที่ การจัดการไม่ดี เลยพัฒนาสูตรของตัวเอง ให้คงที่ เพื่อไม่ได้รับผลกระทบเมื่อแม่ครัวออก หาเครื่องมือควบคุมตรวจสอบโดยเอา POS มาช่วยระบบการจัดการ พัฒนาระบบหลังบ้าน ให้จัดเป็นหมวดหมู่ สิ้นเดือนเอารายได้เปรียบค่าใช้จ่าย สาขาแรกประสบความสำเร็จ ขยายสาขา 2 ก็ประสบความสำเร็จมาก ขายก๋วยเตี๋ยวเรือเดือนละล้าน มีคนมาถามเรื่องขอซื้อแฟรนไชส์ ช่วงโควิดเป็นโอกาสของปัญจรสในการขยายสาขาได้กว่า 10 สาขา เป็นความสำเร็จที่สวนกระแส.