เจาะเหตุผล! ทำไม “นักศึกษาจบใหม่” ควรต้องทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ในยุคที่สังคมเปลี่ยนเพราะโควิด-19
จากข่าวคราวสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยทำให้หลายกิจการต้องปิดดำเนินการ ทำให้มีจำนวนคนที่ต้องตกงานเกือบ 10 ล้านคน ในจำนวนนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนนักศึกษาที่ในปี 2563 นี้ มีตัวเลขนักศึกษาจบใหม่จำนวน 500,000 คนที่อาจกลายเป็นผู้ว่างงานถาวร เนื่องจากหลายบริษัทที่ยังเปิดดำเนินกิจการต่างลดจำนวนพนักงาน และยังไม่มีนโยบายรับคนเพิ่ม ส่งผลให้แรงงานไม่รวมเด็กจบใหม่ที่เหลือของปีนี้ยังคงมีอัตราว่างงานรวม 3.6 ล้านคน ดังนั้น หลายคนจึงต้องหันมาจับธุรกิจเล็กๆ หรือใครที่มีทุนรอนลงทุนอยู่บ้างก็เริ่มที่จะเปิดร้านขายของเล็ก ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักศึกษาจบใหม่เหล่านี้ ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่ ชี้ช่องรวย พอจะประมวลมาได้ มีดังนี้ 1.ไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือน เมื่องานหายาก บวกกับต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ทำให้นักศึกษาจบใหม่จำนวนไม่น้อย เลือกที่จะหันมาซื้อแฟรนไชส์ด้วยเงินลงทุนไม่มากนัก โดยเริ่มต้นจากศูนย์แล้วค่อยๆ ขยายต่อไป 2.ต้องการหาอะไรทำระหว่างว่างงาน กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่มีงานทำ ส่วนใหญ่มักจะกลับบ้านต่างจังหวัด แล้วเบื่อกับการที่ต้องอยู่เฉยๆ ดังนั้น การซื้อแฟรนไชส์ตามกำลังความสามารถในการลงทุนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสร้างรายได้ในอีกทางหนึ่ง 3.ต้องการต่อยอดแตกไลน์จากธุรกิจเดิม ในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ที่ฐานะทางบ้านค่อนข้างดี หรือมีธุรกิจของครอบครัวอยู่เดิม ก็อาจมีความคิดที่จะต่อยอดขยายธุรกิจต่อเนื่อง เช่น ที่บ้านขายอาหารตามสั่ง ก็อาจจะซื้อแฟรนไชส์เครื่องดื่มไปตั้งไว้หน้าร้าน หรือบางคนที่บ้านมีพื้นที่หน้าร้าน ก็อาจจะซื้อแฟรนไชส์สะดวกซักไปติดตั้งหน้าร้านสร้างรายได้ในช่วงว่างงาน เป็นต้น 4.ปล่อยเงินไว้เฉยๆ ผลตอบแทนน้อย นักศึกษาบางคนมีเงินออม เพราะอาจหารายได้ในระหว่างเรียน ก็อาจจะนำมาลงทุนซื้อแฟรนไชส์สักแบรนด์ดีกว่าปล่อยเอาไว้ที่ธนาคารที่ได้ผลตอบแทนไม่มากเท่าไร รู้สึกว่าการปล่อยเงินในบัญชีไว้เฉยๆ มันไม่ค่อยออกดอกออกผลเท่าไหร่ […]