ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน
แฟรนไชส์

เช็กให้ชัวร์! 6 เหตุผลที่บอกได้ว่าแฟรนไชส์เสี่ยงไปไม่รอด กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แน่ไปลงทุน

แฟรนไชส์เป็นในธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ยิ่งคนอยากมีธุรกิจแต่ไม่อยากเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์นั้นเหมาะสมเป็นอย่างมาก เพราะลดเวลาการปั้นธุรกิจเองได้อย่างมหาศาล แต่การเลือกแบรนด์นั้นก็ควรศึกษาให้ดี ศึกษาให้ลึก ไปคุยกับเจ้าของแบรนด์โดยจรงได้จะดีมาก เพราะหลายแบรนด์ก็ทำออกมาดี น่าลงทุนด้วย แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ถ้าลงทุนไปก็สุ่มเสี่ยงเจ๊ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนที่เรีกว่าเสี่ยง วันนี้ชี้ช่องรวยรวบรวมข้อมูลมาให้คุณแล้ว 

1.เน้นขายอย่างเดียว

แฟรนไชส์

การซื้อ Franchise ควรมีการบอกว่าระบบการช่วยเหลืออะไรบ้าง สิ่งที่ได้รับและพึงได้รับคืออะไร แต่ก็มีแบรนด์ที่เน้นขายอย่างเดียว แต่ไม่ได้ระบุเรื่องระบบการช่วยเหลืออื่น ๆ อาจแย่ถึงขั้นไม่ให้อะไรมาเลยก็ได้ เจอแบบนี้ห้ามมลงทุนด้วยเด็ดขาด

2.ตามกระแส ไม่ติดตลาด

แฟรนไชส์

เทรนด์แต่ละช่วงจะมีสินค้ามาแรง ต่างคนต่างอยากลอง ก็เกิดธุรกิจมาใหม่เพื่อทำสินค้านั้น ๆ ขายและมี Franchise ออกมาสร้างอาชีพต่อ แต่ในเมืองไทยเราก็รู้กันดีว่าอันไหนที่ฮิตกันมาก มันก็อยู่ได้แค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ลูกค้าแค่อยากลองให้รู้ ตามเทรนด์สังคม พอหมดโปรโมชันที่คนนิยม ก็มีความเสี่ยงเจ๊งได้

3.ขาดระบบบริหารที่ได้มาตรฐาน

แฟรนไชส์

Franchise เป็นการนำระบบการทำงานของเจ้าของแบรนด์มาใช้บริหารงานต่อ มีปรับได้บ้างตามแต่ละพื้นที่ ดังนั้นแบรนด์ใดที่ระบบไม่ดี ไม่มีระบบดูแลทุกส่วนของ Franchise ตั้งแต่การสั่งวัตถุดิบไปจนถึงสินค้าถึงมือลูกค้าหรือไม่มีคู่มือการปฏิบัติงานให้เลย ไม่เอะใจไว้เลยว่าไม่น่าเวิร์ค ลงทุนไปสุ่มเสี่ยงล้มได้

4.ขายฝันแต่ไร้จุดยืน

เวลาไปเจอเจ้าของหรือเซลล์ เรามักจะได้ยินคำพูดว่า “การันตีคืนทุนไว”, “ไม่ถึงเดือนคืนทุนแน่นอน” ประมาณนี้กันอยู่บ้าง ถามว่าเป็นจริงได้ไหม เป็นไปได้แน่นอน แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์จะทำได้ การจะมียอดขายดียังต้องมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องอีกมาก สิ่งที่ควรมองลุกลงไปอีกคือแผนธุรกิจที่ชัดเจน ถ้าโครงสร้าง ระบบ แผนธุรกิขของแฟรนไชส์เขาดี บวกกับทำเลและกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ ไม่แน่อาจคืนทุนไวกว่าที่เคลมด้วย

5.ไม่ทำการตลาดให้

เรื่องนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่เป็นแบรนด์ที่ขายขาดไปเลย ทุกแบรนด์ควรจะมีการทำการตลาดให้สาขา Franchise เสมอ เพราะบางคนก็ทำไม่เป็น ไม่ได้เชี่ยวชาญ จึงมีการเก็บค่ารอยัลตี้ฟี แต่บางทีสาขาหลักก็ไม่ได้ทำการตลาดให้ กลายเป็นภาระเพิ่มเติมไปยังผู้ลงทุน เจอเหตุการณ์แบบนี้ให้รีบคุย ถ้าไม่ลงตัวอาจต้องมีการยกเลิกสัญญา

6.คุมราคาแต่ละสาขาไม่ได้

ในทุกสาขาจะมีการกำหนดราคาขายไว้อยู่แล้ว เพราะราคาต้นทุนสินค้าก็เท่ากัยทั้งหมด แต่จะมีกรณีบางสาขาหากขายไม่ดี จึงมีการจัดโปรโมชันลดราคาจูงใจลูกค้า ฟังเฉย ๆ อาจดูดีแต่นั่นจะกระทบกับสาขาอื่น ๆ อาจเกิดการแย่งลูกค้าเกิดขึ้น มีการได้เปรียบเสียเปรียบ ต้องรีบแย้ง รีบพูดคุย มิฉะนั้นก็เสี่ยงเจ๊ง ไปกันต่อไม่ได้

 

ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ : คลิก

ติดตามบทความ How to ที่น่าสนใจได้ที่ : คลิก