‘ไผ่รวก-มะม่วงหิมพานต์’ พืชเศรษฐกิจทนแล้ง ปลูกง่าย เก็บผลผลิตได้ยาว
สำหรับพืชเศรษฐกิจที่ทนแล้งและสร้างรายได้ในระยะยาวในชั่วโมงนี้ ต้องขอยกให้ “ไผ่รวก” และ “มะม่วงหิมพานต์” ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมทั้งจากในประเทศและในแถบประเทศเพื่อนบ้าน โดยไผ่รวก มีคุณสมบัติมีความยืดหยุ่น สามารถนำไม้ไปแปรรูป ทำที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่สร้างมูลค่าให้กับเกษตรกรผู้ปลูก และ มะม่วงหิมพานต์ นั้นสามารถส่งโรงงานแปรรูปส่งขายในรูปแบบอาหารแปรรูปด้วย นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงในพื้นที่จังหวัดน่านตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 44,642 ไร่ (ข้อมูล ณ 14 กุมภาพันธ์ 2563) และพบว่าสถานการณ์ภัยแล้งยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร เกษตรกรจึงควรปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย มีความทนทานต่อภัยธรรมชาติ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากภัยแล้งได้อีกทางหนึ่ง จากการลงพื้นที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สศท.2) เพื่อศึกษาสินค้าเกษตรที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดน่าน พบว่า ไผ่รวกและมะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เนื่องจากเป็นพืชที่เหมาะสมต่อการปลูกในสภาพพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ใช้น้ำน้อย มีต้นทุนการผลิตต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูง อีกทั้ง ตลาดยังมีความต้องการต่อเนื่อง โดยสินค้าทางเลือกแต่ละชนิด มีต้นทุนและผลตอบแทน ดังนี้ -ไผ่รวก มีพื้นที่เพาะปลูก […]