แน่นอนว่าธุรกิจแฟรนไชส์มักเป็นตัวเลือกการลงทุนแรกๆ ที่ใครหลายคนตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจ ด้วยรูปแบบสำเร็จรูปมีความพร้อมนัดทุกขั้นตอน เพียงแค่มีเงินลงทุน และเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการ ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที แต่ถึงอย่างไรในทุกรูปแบบธุรกิจมักจะมีทั้ง จุดแข็ง จุดอ่อน เสมอ
ฉะนั้นก่อนตัดสินใจลงทุนผู้ลงทุนจำเป็นต้องทราบเพื่อใช้ในการประเมินความเป็นไปได้ เพื่อไม่ให้การลงทุนนั้นเสียเปล่า วันนี้ ชี้ช่องรวย ขอนำเสนอ 8 จุดแข็ง จุดอ่อน ในธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อใช้เป็นจข้อมูลในการตัดสินใจ
จุดแข็ง
1.รูปแบบธุรกิจ
แน่นอนว่าด้วยรูปแบบธุรกิจที่ผู้ลงทุนเองไม่จำเป็นต้องเริ่มจาก 0 เพราะเป็นรูปแบบธุรกิจที่ แฟรนไชส์ซอร์ ได้เป็นผู้ลองผิดลองถูกเองทั้งหมด การวางแผนการตลาดและการใช้แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ในการบริหารจัดการร้าน ก็เป็นเรื่องที่เป็นหน้าที่ของเจ้าของธุรกิจ จนได้สูตรสำเร็จมาให้ผู้ลงทุนบริหารจัดการในเบื้องต้นเท่านั้น
2.แบรนด์
ความเป็นแบรนด์ แน่นอนว่าทุกแฟรนไชส์จะต้องมีแบรนดืและเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่ง ด้วยความเป็นแบรนด์ทำให้เมีชื่อเสียงสร้างความดึงดูด ความสนใจส่งผลให้ตัวสินค้าได้รับความนิยม และสามารถขายสินค้านั้นได้ไม่ยาก
3.เงินทุน
ในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ เพียงแค่ผู้ลงทุนมีเงินก้อนก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่ยาก ในทางกลับกันหากผู้ที่สนใจอยากมีธุรกิจแฟรนไชส์ แจ่ไม่มีเงินทุนก็สามารถปรึกษากับทางสถาบันการเงินได้เช่นกัน ด้วยตัวธุรกิจแฟรนไชส์เองเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม (ขึ้นอยู่กับแบรนด์) ทำให้เกณฑ์การพิจารณาต่างๆอาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับการปลอยสินเชื่อธุรกิจประเภทนี้
4.ก้าวต่อไปจากธุรกิจแฟรนไชส์
หลังจากได้เริ่มก้าวแรกจากการลงทุนแฟรนไชส์ ผู้ลงทุนจะได้เรียนรู้รูปแบบการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการบริการจัดการรูปแบบของธุรกิจนั้น ซึ่งจะช่วยเป็นความรู้พื้นฐานให้สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจของตนเองในรูปแบบอื่นได้
จุดอ่อน
1.แฟรนไชส์ไม่ได้ดีทั้งหมดเสมอไป
รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์อาจเป็นสูตรสำเร็จทำให้การบริการจัดการง่าย แต่ไม่ได้หมายถึงทุกแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จ ซึ่งการประเมินแฟรนไชส์ดีมีคุณภาพมักจะมีองค์ประกอบในหลายๆด้าย ขึ้นอยู่กับแบรนด์ หรือผู้ลงทุนเอง ดังนั้นคำโฆษณาชวนเชื่อหรือผลตอบแทนที่จะได้รับมักสร้างความน่าสนใจ จนผู้ลงทุนเองลืมมองเรื่องอื่น เช่น ทำเล เทรนด์ เป็นต้น
2.แฟรนไชส์ซอร์ คือ เจ้าของธุรกิจ
อย่าลืมว่าเราเป็นแค่ผู้ลงทุนที่ซื้อธุรกิจจากเจ้าของธุรกิจเท่านั้น ฉะนั้นเราจะไม่ได้ทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งบางแบรนด์อาจมีเงื่อนไขส่วนแบ่งของรายได้จารกแฟรนไชส์ซี ในส่วนนี้ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจอย่างครบถ้วนเสียก่อน เพราะหากตัดสินใจทำสัญญาไปแล้วอาจกลายเป็นสัญญาทาสดีๆนี่เอง
3.ความเสี่ยง
ไม่มีเจ้าของธุรกิจไหนที่สามารถตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร้ที่ติ ไร้ข้อบกพร่อง หรือมีการการันตีว่าธุรกิจนั้นจะประสบความสำเร็จ หากธุรกิจแฟรนไชส์ที่เลือกซื้อมานั้น ไม่คืนทุน หรือไม่ได้รับผลกำไรเท่าที่ควร ถึงอย่างไรแฟรนไชส์ซอร์ก็ไม่ได้มารับผิดชอบในความเสี่ยงนั้นๆให้กับผู้ลงทุน (ข้อตกลงทั้งหมดอยู่ในสัญญา)
4.ลงทุนต่ำ ลงทุนสูง
ในรูปแบบของการลงทุนแฟรนไชส์มีให้เลือกลงทุนเริ่มต้นตั้งแต่หลักพัน – หลักล้านบาท แต่ทว่าไม่มีการการันตีว่า ลงทุนน้อย หรือ ลงทุนมาก จะประสบความสำเร็จการเลือกลงทุนในทุกธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้นการเลือกและการพิจารณาทุกอย่างให้ดีก่อนการตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ทุกคนที่ลงทุนในทุกธุรกิจย่อมคิดถึงผลตอบแทน ผลกำไรที่จะได้รับ อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจแล้ว การลองลงมือทำก็น่าจะเป็นคำตอบได้ดีว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และได้รับผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน