บทความที่น่าสนใจบทหนึ่งของสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ (FLA) ที่ได้หยิบยกเรื่องเล่าให้แง่คิดและมุมดีๆ ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ จากสมาชิกในสมาคมฯ ว่าด้วยเรื่อง “เปรียบการบริหารแฟรนไชส์ดั่งการวิ่งมาราธอน” ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจเหมาะที่จะเป็นแง่คิดให้กับผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ หรือผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นเป็นเจ้าของกิจการ ดังนี้ค่ะ
เปรียบการบริหารแฟรนไชส์ดั่งการวิ่งมาราธอน ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย การวิ่งมาราธอนให้ได้ดีต้องซ้อมและซ้อมอีก และค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่ไม่เพิ่มระยะเร็วเกินไป เพราะหากซ้อมมินิฯ แล้วจะไปฟูลมาราธอนเลย ก็อาจเกิดการบาดเจ็บกลับมา ฉันใดฉันนั้น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นกัน
@ฟันรัน 3-5 กม. (FUN RUN) : เปรียบเสมือนเริ่มต้นการทำธุรกิจแฟรนไชส์ นับแต่สร้างธุรกิจ ดำเนินธุรกิจกระทั่งประสบผลสำเร็จ เป็นที่รู้จัก แบรนด์ได้รับการยอมรับจากลูกค้า สร้างโมเดลธุรกิจจนนิ่งในระดับหนึ่ง
@มินิมาราธอน 10 กม. (Mini Marathon) : เปรียบเสมือนการเขียนระบบโมเดลธุรกิจ (Business Model) , เขียนระบบปฏิบัติการออกมาเป็นรูปร่าง (Operation Manuals) , เขียนแผนการฝึกอบรม (Training) , ระบบควบคุม (Control or Audit System) , เปิดสาขาของตัวเอง (Company Owned Outlets) แล้วใช้ระบบที่เขียนขึ้นมาทดลองใช้กับสาขาของตัวเอง ปรับปรุงจนทุกอย่างนิ่ง ได้มาตรฐาน ทำสื่อสารการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์
@ฮาล์ฟมาราธอน 21 กม. (Half Marathon) : เปรียบเสมือน เริ่มขายแฟรนไชส์ในประเทศ ตอนนี้ทีมขายต้องพร้อม มีกระบวนการเลือกแฟรนไชส์ซี (Franchise Selection Process) ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้รองรับการเติบโต สร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ระบบปฏิบัติการภายในองค์กรพร้อม ขายไปแล้ว ระบบบริหารความสัมพันธ์ต้องตามมา เพื่อให้เกิด Commitment And Trust ซึ่งการที่จะขึ้นสู่ Full Marathon ได้ ควรวิ่ง half จนคล่องตัว หรือมีสาขามากในระดับหนึ่ง
รองเท้า มีความสำคัญต่อนักวิ่งฉันใด การหาแฟรนไชส์ซีก็สำคัญต่อธุรกิจแฟรนไชส์ฉันนั้น เราควรเลือกรองเท้าที่ Fit And Support เท้าเรา เพื่อให้เราสามารถวิ่งจนครบระยะทาง ไม่คับไป ไม่หลวมไป ไม่กัดเราจนเจ็บ เราต้องเลือก ต้องลอง จนกว่าจะเจอรองเท้าคู่ใจ ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องเลือกตามใคร
@ฟูลมาราธอน 42 กม. (Full Marathon) : ซ้อมเพิ่มระยะทีละน้อย นั่นคือ เมื่อจะไปฟูลมาราธอน เราควรเลือกสนามที่ไม่โหดจนเกินไป โดยเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ ว่า ประเทศไหนมีกติกาอะไรอย่างไรบ้าง และเตรียมแปล Operation Manuals And Marketing Communication Tools as well as company website เป็นภาษาอังกฤษ หาทีมงานที่ใช้ภาษาได้ และการเริ่มออกบูธกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อพบปะกับผู้ประกอบการในประเทศนั้นๆ เจรจาก่อนรีบยกแฟรนไชส์เราไปให้เขา และจดทะเบียนตราสินค้าไว้ก่อน โดยสัญญาต่างประเทศต้องรัดกุม
อย่ารีบวิ่งฟูลฯ ถ้ากล้ามเนื้อไม่พร้อม เพราะอาจจะบาดเจ็บได้ กล่าวคือ อย่าคิดแค่ว่าเราเท่ห์ ถ้าได้ไปมีสาขาในต่างประเทศ เพราะแบรนด์เราอาจจะเสียหาย ถ้าเข้าไปโดยที่ไม่พร้อม และอย่าคิดแค่หวังพึ่งพาแฟรนไชส์ซี แต่เราต้องมีความรู้พอสมควร
เมื่อถึงระยะฮาลฟ์ฯ หรือฟูลฯ แล้ว ไม่ใช่ว่าเราจะไม่วิ่งระยะสั้นอีก เราใช้ “ฟันรัน” กับ“มินิ” เพื่อซ้อม เช่นเดียวกัน หมั่นดูระบบในองค์กรเราด้วย คอยปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ซ้อมด้วยเทคนิคใหม่ๆ หรือมี Adaption or Innovation ตลอดเวลา เพื่อให้วิ่งดีขึ้น หรือในทางแฟรนไชส์ก็คือ To Survive and Stay Outperform.
No miracle but practice.
Enjoy your marathon
ขอบคุณข้อมูลบทความดีๆ จาก : สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ (FLA)