ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

“แฟรนไชส์ซอร์” รู้ไว้ ใช้หลักการเลือก “แฟรนไชส์ซี” อย่างไรให้ธุรกิจไปได้สวย


การขยายธุรกิจเราจำเป็นต้องมีเครื่องข่ายที่ดี เช่นเดียวกับธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์ซอร์ควรจะเลือกผู้ที่จะมาร่วมลงทุน (แฟรนไชส์ซี) ที่มีคุณสมบัติดีพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องการ คือ ความซื่อสัตย์ และความผูกพันต่อธุรกิจนั้น เพื่อนำพาให้ธุรกิจพัฒนาต่อไป วันนี้ ชี้ช่องรวย มีวิธีการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี มาให้ผู้อ่านได้ศึกษาและนำไปเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกมาดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง

1.ดูทัศนคติเบื่องต้น

อันดับแรกต้องดูก่อนว่าผู้ลงทุนมีทัศนคตดิอย่างไรมีความเป็นเจ้าของธุรกิจมากน้อยแค่ไหน ความเป็นเจ้าของธุรกิจสำคัญอย่างไร คนที่เข้ามาเพื่อต้องการทำธุรกิจนั้นมีหลายรูปแบบหรือพื้นเดิม งานเดิมที่เคยทำ เช่น ถ้าเป็นลูกจ้าง ทำงานบริษัทมาตลอดชีวิต แต่ต้องการทำธุรกิจเป็นของตัวเองโดยการหาแฟรนไชส์สักอย่างหนึ่งเพื่อจะได้ทำเป็นรายได้เสริม

ในส่วนนี้ต้องถามถึงความมุ่งมั่นว่าจะจริงจังแค่ไหน เพราะเค้าจะต้องลงทั้งทุนและเวลา หากไม่พร้อม การที่จะประสบความสำเร็จก็อาจจะยาก แต่หากเป็นคนที่มีใจ มีความเป็นเจ้าของธุรกิจอยู่แล้วการร่วมทำธุรกิจก็ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นคนที่ริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมีเจ้านายมาคอยสั่งการ สิ่งเหล่านี้สัมผัสได้จากการพูดคุย ทั้งเรื่องทัศนคติและประสบการณ์ของเขาเอง

2.มีความรู้เรื่องของระบบแฟรนไชส์พอสมควร

คุณลักษณะของแฟรนไชส์ซีที่ดี ควรที่จะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องแฟรนไชส์มาบ้างพอสมควร แต่ไม่ต้องถึงขั้นแตกฉาน แต่อย่างน้อยควรมีความเข้าใจพื้นฐานว่า วัตถุประสงค์ของระบบแฟรนไชส์คืออะไร รู้ว่าข้อดีข้อเสียของระบบแฟรนไชส์ อีกทั้ง ผู้ที่คิดจะซื้อแฟรนไชส์ยังต้องทำความเข้าใจว่า ทำไมตัวเองต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์

ซึ่งเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในการพิจารณาผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย แต่ถ้าคุณเลือกพิจารณาแฟรนไชส์ซีที่ไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์เลย อาจทำให้เกิดการทะเลาะกันในภายหลังได้นะครับ

3.มีความมุ่งมั่นพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

เมื่อแฟรนไชส์ซีเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในธุรกิจที่แฟรนไชส์ซีอาจไม่รู้และเข้าใจมาก่อน การคัดเลือกเอาแฟรนไชส์ซีที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ สามารถปฏิบัติตามระบบที่วางเอาไว้ จะทำให้เกิดความเข้าใจในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น ที่สำคัญจะส่งผลดีต่อแฟรนไชส์ซอร์อีกด้วย

4.สามารถอยู่ในกฎเกณฑ์และระบบปฏิบัติได้

ใช่ว่าคนส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติข้อนี้ แฟรนไชส์ซีที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้บรรลุผลสำเร็จเสมอ เสมือนว่าเป็นการสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นมาใหม่และให้เติบโตยิ่งขึ้น ถ้าแฟรนไชส์ซีมีความพยายามที่จะบริหารธุรกิจ มีการวางเป้าหมายการเติบโตธุรกิจ

มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างทีมงานของตัวเองให้แข็งแกร่ง ก็จะทำให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ มีความมั่นคงสูง ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์และทีมขายจะต้องไม่ลืมที่จะใช้หลักการข้อนี้ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นแฟรนไชส์ซีด้วย ถือว่าสำคัญมาก

5.พร้อมแค่ไหนก็ต้องมีเงินทุน

การทำธุรกิจเปิดสาขาแฟรนไชส์จะต้องใช้ทุน พราะธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีการลงทุนมากกว่าการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเอง ที่การทำธุรกิจตัวเองสามารถพัฒนาไปทีละขั้นตอนได้ ซึ่งการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ อาจจะต้องใช้เงินข้อนข้างสูงในช่วงเริ่มต้นเพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพให้กับร้าน สินค้า บุคลากร รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้
หากแฟรนไชส์ซีจะต้องใช้วิธีกู้ธนาคารมาดำเนินธุรกิจ ก็จะต้องดูว่าเป็นจำนวณกี่เปอร์เซ็นต์จากยอดการลงทุนทั้งหมดเพื่อไม่ให้มีปัญหาการลงทุนในระยะยาว เพราะบางแฟรนไชส์ อาจมีการเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า รายเดือน รายปี ไม่รวมถึงวัตถุดิบที่จะต้องป้อนให้กับสาขาในแต่ละวันซึ่งจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอีกต่างหาก ซึ่งเงินทุนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กัประเภทธุรกิจ และขนาดของธุรกิจด้วย

6.มีทำเลที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

การเปิดร้านสาขาแฟรนไชส์นั้น ทำเลเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ได้เช่นกัน เช่น ถ้าเป็นกาแฟยี่ห้อนี้จะต้องมีแต่ในห้างเท่านั้น หรืออาหารร้านนี้มีเฉพาะตึกสำนักงาน หรือมีเฉพาะในปั๊ม หรือมีตามหน้าร้านสะดวกซื้อทั่วไป ก็เป็นการเลือกทำเลที่เหมาะกับสินค้าหรือบริการของเรา

การแบ่งเขตการขายก็สำคัญเช่นกันจะได้ไม่เป็นการแย่งลูกค้า ซึ่งจะต้องกำหนดไว้เลยว่าจะเป็นทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ความถี่ห่างแค่ไหน หรือแบ่งตามประชากรศาตร์ไปเลย ทั้งนี้เพื่อรักษาสิทธิ์ของคู่ค้าที่จะมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเราด้วย

7.ยิ่งมีประสบการณ์เยอะ ยิ่งดีต่อธุรกิจ

ในข้อนี้ไม่ได้หมายถึงที่ไม่มีประสบการจะไม่สามารถลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้ แต่ข้อได้เปรียบของคนมีประสบการการทำธุรกิจอย่างน้อยจะรู้จักการบริหารจัดการ มีระบบระเบียบการปฎิบัติงานที่ดี และมีแนวทางที่จะพัฒนาธุรกิจต่อที่จะทำให้เกิดความทุ่มเทในการพัฒนาธุรกิจตัวเอง เพราะเขาจะเข้าใจหลักการบริหารธุรกิจเป็นอย่างดี