ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

3 แบงค์ประกาศ ”ตรึงอัตราดอกเบี้ย” ถึงสินปี 66 เพื่อลดภาระค่าค่าใช้จ่ายค่างวด มีแบงค์อะไรบ้าง เช็ก


หลังจากมี (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากเดิม 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี มีผลเมื่อวันที่ 27 ก.ย.66 ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบไม่น้อย ซึ่งบางธนาคารได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเรียบร้อยแล้ว แต่ยังมี 3 ธนาคารที่ยังคง ”ตรึงอัตราดอกเบี้ย” เพื่อช่วยเหลือลดภาระประชาชน

ธ.อ.ส.

นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการธนาคาร และรักษาการกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี หรือจาก 2.25% ต่อปี เป็น 2.50% ต่อปี ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” พร้อมตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับปัจจุบันต่อไปจนถึงสิ้นปี 2566 ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการชำระเงินงวดตามนโยบายรัฐบาลให้กับลูกค้าเงินกู้ในปัจจุบันของธนาคารที่มีอยู่จำนวน 1.79 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินสินเชื่อคงค้างมากกว่า 1.66 ล้านล้านบาท และได้มีเวลาในการปรับตัวรับกับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น 

ออมสิน

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากเดิม 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี มีผลเมื่อวันที่ 27 ก.ย.66 

โดยเพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายรัฐบาล ธนาคารออมสินจึงประกาศยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ โดยจะตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทให้นานที่สุด ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) และ อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR)

ทั้งนี้จะสามารถช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธนาคารออมสินทุกประเภท จำนวนกว่า 5.6 ล้านบัญชี ทั้งที่เป็นลูกค้ารายย่อย กลุ่มฐานราก ผู้ประกอบการทั้ง SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารจะพิจารณาปรับขึ้นตามสภาวการณ์ที่เหมาะสมและทิศทางของตลาดอีกครั้ง

EXIM BANK

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 โดยมีผลทันที อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะเพิ่มสูงขึ้นทั้งจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ EXIM BANK ขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง ยืนยันที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา Prime Rate 6.75% ต่อปี จนถึงสิ้นปี 2566 เพื่อเป็นการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระผู้ประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ SMEs ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว

“EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มุ่งมั่นดำเนินบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank) ยืนยันจุดยืนช่วยเหลือลูกค้าทั่วไป และผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมทั้งเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องมือทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ภาคธุรกิจสามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจสู่ตลาดโลกได้ สร้างรายได้ กระตุ้นการจ้างงาน ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศไทย ตลอดจนต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น” ดร.รักษ์ กล่าว