หลายครั้ง การทำงานในสถานที่จริง ได้ให้ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญมากการการนั่งในห้องเรียนหรือการอ่านจากตำราเพียงเท่านั้น นั่นจึงเห็นสะท้อนให้เห็นถึงผู้คนมากมายที่แม้ไม่ได้มีคุณวุฒิการศึกษาระดับสูง หรือเรียนจบมาไม่ตรงสาย แต่เมื่อมีโอกาสได้พัฒนาทักษะความชำนาญด้านนั้น ๆ แล้ว ก็สามารถสอนงานและแนะนำสิ่งต่าง ๆ ให้พนักงานที่เข้ามารุ่นต่อไป สามารถเติบโตใน Career Path ได้อย่างมีศักยภาพ
แม้ในหลายองค์กร หลายอาชีพ หรือแม้แต่ตัวเจ้าของกิจการเอง ก็จะมีคนที่มีความสามารถกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่มากมาย แต่หากพวกเขาไม่ได้ถูกการันตีถึงทักษะที่มีอยู่จริง ก็อาจไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตในสายอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ หรือเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจที่ทำอยู่ ทำให้การขอใบรองรองความเป็นมืออาชีพจากภาครัฐ มีความจำเป็นอย่างมากต่อการยกระดับรายได้ มูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง และลดความเหลื่อมล้ำ
จาก Pain Point ที่เล่าให้ฟังมานั้น เราขอแนะนำให้รู้จักกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) องค์กรมหาชนที่มีแนวคิด “มุ่งสู่การพัฒนาศักยภาพ คุณภาพชีวิต และยกระดับคุณวุฒิให้แก่กำลังแรงงานไทย” โดยเน้นไปที่การยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการ SME ซึ่งมีการดำเนินงาน 2 ส่วน คือ
1. บริการเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ
ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับก็คือ เพื่อให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ส่วนผู้รับบริการก็จะได้รับงานบริการที่มีคุณภาพ พร้อมช่วยส่งเสริมให้บุคลากรเข้าสู่การประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและได้รับคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคลองกับความสามารถ
2. บริการการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและสมรรถนะ
ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับก็คือ สำหรับใช้เป็นเกณฑ์คัดเลือกคนเข้าทำงาน ด้วยการพิจารณาจากระดับทักษะ ความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์, ใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่ง, ใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดอัตราตอบแทน เพื่อสะท้อนทักษะความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณที่แท้จริง และใช้เป็นแนวทางสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ พัฒนาทักษะตนเองให้สูงขึ้น และเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (Reskill, Upskill)
เมื่อผ่านการประเมินข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ผู้เข้าร่วมการทดสอบจะได้รับ “ใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ” ที่ออกโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจึงเป็นสิ่งการันตีถึงความเป็นมืออาชีพของตัวบุคคลนั้นได้ ว่าอยู่ในสายอาชีพนี้จริง ทำงานได้จริงตามทักษะที่มีอยู่ ทั้งในแง่มุมของการเป็นพนักงานบริษัท และเจ้าของกิจการ โดยครอบคลุมกว่า 52 สาขาวิชาชีพ หรือรวมแล้วกว่า 957 อาชีพ ตัวอย่างเช่น ใครที่เปิดร้านอาหาร สตรีทฟู้ด ร้านเสริมสวย ร้านสปา ร้านซ่อมอุปกรณ์ไอที ฯลฯ ก็จะได้การยืนยันให้ผู้ว่าจ้าง และผู้ใช้บริการมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน ความสามารถทางด้านฝีมืออย่างแท้จริง
สำหรับการประเมินความเชี่ยวชาญเพื่อออกใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ จะมีการให้คะแนนทั้งสิ้น 8 ระดับ สามารถนำไปเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาได้สูงสุดถึงปริญญาเอก ได้แก่
• ระดับ 8 ผู้มีสมรรถนะในการสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก
• ระดับ 7 ผู้มีสมรรถนะในการบริหารนโยบาย หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท
• ระดับ 6 ผู้มีสมรรถนะในการจัดการและวางแผน หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี
• ระดับ 5 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคและการจัดการ หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับอนุปริญญา
• ระดับ 4 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคครอบคลุมงานอาชีพ หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับอนุปริญญา
• ระดับ 3 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคในการประยุกต์หลักการ หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับ ม. ปลาย และ ปวช.
• ระดับ 2 ผู้มีสมรรถนะฝีมือในงานอาชีพ หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับ ม. ปลาย
• ระดับ 1 ผู้มีสมรรถนะปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐาน หรือเทียบเคียงกับคุณวุฒิการศึกษาระดับ ม. ต้น
ยกตัวอย่างการประเมินเมื่อเทียบเคียงกับอาชีพหรือตำแหน่งหน้าที่ในธุรกิจร้านอาหารของบริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด (บริษัทประกอบธุรกิจร้านอาหารบาร์บีคิวพลาซ่า จุ่มแซบฮัท ฌานา โภชา เรดซัน และหมูทอดกอดคอ) ที่ได้นำพนักงานกว่า 3,000 คน เข้าร่วมการประเมินผ่านการใช้ TPQI E-Training ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรตามมาตรฐานอาชีพในการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมของพนักงาน และใช้เป็นเกณฑ์การปรับสถานะพนักงานรายวันเป็นพนักงานประจำ โดยกรณีผู้ประเมินได้รับการประเมินว่าอยู่ในระดับ 1-3 ก็จะหมายถึงคุณอยู่ในอาชีพผู้ประกอบอาหารในร้านอาหาร หรือเท่ากับตำแหน่งพนักงานร้าน ส่วนระดับ 3-5 ก็จะชี้วัดได้ถึงความชำนาญขั้นผู้ช่วยจัดการร้าน และระดับ 4-6 ก็จะประเมินถึงศักยภาพของตำแหน่งผู้จัดการร้าน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถเติบโตร่วมกับองค์กรได้อย่างอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน ส่วนในแง่ของผู้ประกอบการก็จะสามารถสร้างคุณภาพมาตรฐานทางธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ยังได้ร่วมกับ SME Bank ธนาคาออมสิน บสย. สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย และ สสว. โดยธนาคารออมสินได้อนุมัติสินเชื่อ ปี 2563 จำนวน 7,827 ราย เป็นเงิน 2,479.31 ลบ. ปี 2564 จำนวน 1,895 ราย เป็นเงิน 131.90 ลบ. และตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 มีผู้ได้รับวุฒิบัตรจากสถาบันฯไปแล้วทั้งสิ้น 17,884 ราย จึงช่วยให้ทั้งบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ SME สามารถเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจได้ครบทุกมิติรอบด้านมากขึ้น
คุณคุณโสมสิริ พานแก้ว หนึ่งในผู้ผ่านการประเมินฯ อาชีพสปาเทอราปี้ส ระดับ 3 และได้รับรองฯ โรงเรียนสปาหัตถามณีกร ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในการเพิ่มโอกาสต่อยอดธุรกิจ ได้เล่าว่าการเข้าร่วมประเมินกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ทำให้เธอได้รับการยอมรับจนถูกเรียกว่าอาจารย์ มีโอกาสได้รับงานเพิ่ม ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นใบเบิกทางที่เพิ่มทางเลือกในการทำงาน จนสามารถย้ายงานข้ามประเทศ และเกิดการยอมรับจากชาวต่างชาติ
จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจยุคนี้ความ Win Win มีส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการก้าวไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งการเป็น SME ที่ไม่ได้มีจำนวนพนักงานมากนัก การเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้ธุรกิจผ่านการสร้างการยอมรับ ทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจให้พนักงาน ผู้ประกอบการ รวมถึงตัวธุรกิจเองอีกด้วย ผู้สนใจสามารถติดต่อขอทำการประเมินกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเข้าไปยังองค์กรรับรองที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ หรือ CB อยู่ทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้ง 957 อาชีพ ได้ผ่านทาง https://www.tpqi.go.th/ หรือ Call Center 063-373-3926 , 02-035-4900