“กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตระหนักอยู่เสมอว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีค่ายิ่งขององค์กร โดยองค์กรใดก็ตามที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ องค์กรนั้นก็จะเจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคง” หนึ่งประโยคสำคัญที่นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวภายหลังเป็นตัวแทนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ขึ้นรับมอบโล่เกียรติยศหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่นประจำปี 2561 เนื่องในงานวันมูลนิธิพันเอกจินดา ณ สงขลา
นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายมนัส กำเนิดมณีผู้อำนวยการกองพัสดุ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลนายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา และข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมชลประทานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีรับมอบโล่เกียรติยศหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น ประจำปี 2561 เนื่องในงานวันมูลนิธิพันเอกจินดา ณ สงขลา โดยมีนายประวีณ ณ นคร เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมจินดา ณ สงขลา อาคาร 3 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
หน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น ประจำปี 2561
นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า “กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการพิจารณาให้เป็นหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น ประจำปี 2561 จากมูลนิธิพันเอก จินดา ณ สงขลา ที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดให้มีการคัดเลือกหน่วยงานและนักบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่นขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งพิจารณาจากผลการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของข้าราชการที่มีต่อการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ประกอบกับการพิจารณาข้อมูลการดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และการพัฒนานวัตกรรมที่โดดเด่น ตลอดจนประโยชน์และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรในปีที่ผ่านมา”
ทั้งนี้ กรมชลประทานเป็นหน่วยงานที่มีนวัตกรรมเพื่อรองรับการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอด รวมถึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมชลประทานจะมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชลประทานรุ่นพี่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชลประทานรุ่นใหม่ เพื่อให้สามารถสื่อสารงานได้อย่างมีศักยภาพปฏิบัติตามกฎและระเบียบต่างๆ ได้อย่างเคร่งครัด
มุ่งสร้างองค์กรอัจฉริยะ
ในช่วงปีที่ผ่านมา กรมชลประทานได้มีการเปลี่ยนแปลงงานด้านทรัพยากรบุคคลไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัว เริ่มจากการพัฒนาฐานข้อมูลบุคลากรสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (WAM – Web application to support manning analysis) มาใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประมวลผลอัตรากำลัง โดยวิเคราะห์จากกิจกรรม ข้อมูลปริมาณงาน และระยะเวลามาตรฐานในการปฏิบัติงาน จำแนกตามหน่วยงานและประเภทบุคคล ทำให้สามารถวิเคราะห์อัตรากำลังของข้าราชการ และพนักงานราชการได้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ระบบหรือโปรแกรมดังกล่าวในการปรับปรุงข้อมูลและวิเคราะห์อัตรากำลังให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำระบบบริหารโครงการฝึกอบรมรูปแบบ Online (E-Training)ที่ส่งผลให้กรมชลประทานมีระบบและฐานข้อมูลการพัฒนาที่สามารถพัฒนาศักยภาพบุคลากร ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร รวมถึงพัฒนาระบบ EPP+ (Employee Performance Portfolio) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารผลการปฏิบัติราชการภายในกรม ซึ่งจะครอบคลุมกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการทั้งหมด เริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผนการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ผลการปฏิบัติงานและสมรรถนะ การติดตามผลการปฏิบัติงาน การวางแผนพัฒนารายบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด และการนำผลการประเมินไปใช้เลื่อนเงินเดือน นอกจากนี้กรมชลประทานยังได้มีการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาบุคลากร (Training Need Analysis)เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรทั้งในระยะยาวและประจำปี ซึ่งมีทั้งแนวทางที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
“ความสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจของบุคลากรในหน่วยงาน จะส่งผลให้สามารถกำหนดทิศทางหรือแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลสอดคล้องกับบริบท นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศ ซึง่ กรมชลประทานได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรอัจอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) ให้ได้ภายในปี 2579” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว
เสียงที่สะท้อนจากภาคประชาชน
เสียงสะท้อนจากการทำงานของกรมชลประทานที่มีกลับมาทั้งในมุมบวกและมุมลบ นับเป็นนิมิตหมายที่จะส่งผลถึงการปรับตัวของกรมชลประทานสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ก็จะปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น ส่วนสิ่งที่สะท้อนกลับมาในมุมลบการปฏิบัติก็ต้องนำจุดบกพร่องมาแก้ไขให้เป็นบวก
ท่ามกลางภาวะของการเกิดน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งต้องเผชิญอยู่บ่อยครั้งกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ
ทางธรรมชาติ หากคนไทยยังมีความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ ที่ประเทศเป็นประเทศที่มีระบบ และพื้นที่ชลประทานติด 1 ใน 10 ของโลก โดยมีกรมชลประทานซึ่งมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2545 ที่มีการสถาปนากรมคลองขึ้น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทดน้ำและกรมชลประทาน ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันได้สร้างสรรค์ประโยชน์ในกิจกรรมดังกล่าว ให้แก่แผ่นดินไทยจนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลาถึง 116 ปี