ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน
แชร์ลูกโซ่

“แชร์ลูกโซ่” ไม่ใช่เรื่องใหม่ เผยผลวิจัย DSI เมื่อปี 2566 ร้อยละ 85 รู้ หรือ ควรรู้อยู่แล้ว ว่าเป็นการลงทุนแบบแชร์ลูกโซ่

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าธุรกิจเครือข่ายไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลยในสังคมไทย  หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเงินไทย พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูงปรากฏขึ้นทุกยุคทุกสมัย หนึ่งในทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่อันตรายคือ “แชร์ลูกโซ่” ซึ่งปรากฏได้หลายรูปแบบและเกิดขึ้นคู่กับสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขณะที่เฉพาะรายใหญ่ ๆ ที่เคยถูกดำเนินคดีรวมกันได้สร้างความเสียหายมาแล้วหลักหมื่นล้านบาท แล้วทำไมยังไม่หายไปจากสังคมไทย

ร้านค้าออนไลน์

โดยเมื่อปีที่ผ่านมา DSI ได้เผยผลการวิจัยที่น่าตกใจ 10 ข้อ พบว่า

ข้อ 1 (85%)  ผู้เสียหายส่วนใหญ่ ร้อยละ 85 รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าเป็นลงทุน แต่ก็ยังลงทุนเพราะผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับนั้นสูงมาก มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ที่ไม่รู้เลยจริง ๆ ว่าที่ตนเองนำเงินไปลงทุนนั้นเป็นการลงทุนในธุรกิจ

ข้อ 2 (65%)  ผู้เสียหายส่วนใหญ่ ร้อยละ 65 โอนเงินเข้าบัญชีชื่อบริษัทซึ่งแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ว่าท่านจะโอนเงินเข้าบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับรองก็ไม่ได้หมายความว่าท่าน จะไม่ถูกหลอกลวงจากแชร์ลูกโซ่

ข้อ 3 (49%)  จำนวนผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความดำเนินคดีความผิดที่ปรากฏมีเพียง 1 ใน 5 ของความเป็นจริงเท่านั้น เช่น ถ้าผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความมี 10,000 คน ในความเป็นจริงอาจมีผู้เสียหายถึง 50,000 คน เช่น ในคดีแชร์ FOREX3D เป็นต้น เนื่องจากอาย กลัวเสียชื่อเสียง กลัวคนอื่นรู้ กลัวคนที่บ้านจะรู้ เลยทำให้ไม่กล้าเข้าแจ้งความดำเนินคดี

ข้อ 4 (54%) เกินกว่าครึ่งของผู้ที่เสียหายคดีได้รับการชักชวนให้ลงทุนจากทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของสื่อโซเชียล มีผลต่อผู้เสียหายในคดีแชร์ลูกโซ่เพราะเกินกว่าครึ่งได้รับการชักชวน และตัดสินใจ ที่จะลงทุนหลังจากดูผ่านสื่อโซเชียลมากกว่าช่องทางอื่นๆ

ข้อ 5 (68%)  ผู้เสียหายส่วนใหญ่ ร้อยละ 68 เชื่อและตัดสินใจที่จะลงทุนแม้จะยังไม่เคยพบหน้าผู้ที่ชักชวนแบบตัวเป็นๆ ต่อหน้า

ข้อ 6 (65%)   การสื่อสารระหว่างผู้เสียหายจากแชร์ลูกโซ่ กับธุรกิจที่มาชักชวน ให้ลงทุนซึ่ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 65 สื่อสารได้ผ่านช่องทางสื่อโซเชียลโต้ตอบผ่านแอปพลิเคชัน เพจ เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ ในธุรกิจ เพจ เฟสบุ๊ค ไลน์ ถูกนำมาใช้มากที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง แต่ก็มีคนเชื่อและตัดสินใจลงทุนกับคนที่ตนเองก็ไม่รู้จัก ไม่เคยเจอตัวจริง สนทนากันแค่ผ่านช่องทางโซเชียลเท่านั้น แต่ก็ยังยอมที่จะลงทุนเป็นแสน เป็นล้าน

ข้อ 7 (93%)   ผู้เสียหายส่วนใหญ่ร้อยละ 93 เชื่อใจและมั่นใจ โดยโอนเงินไปลงทุนกับธุรกิจที่ตนไม่เคยเลยแม้แต่จะเดินทางไปยังสถานที่ประกอบธุรกิจที่ตนเองตัดสินใจลงทุน

ข้อ 8 (71%)  ผู้เสียหายในคดีส่วนใหญร้อยละ 71 เป็นกลุ่มที่มีงาน และมีรายได้ประจำ มีเงินเดือนอยู่ในระดับสูงมากกว่า 40,00 บาท/เดือน มีทั้ง ข้าราชการ พนักงานบริษัท พนักงานรัฐวิสาหกิจ อาทิ แพทย์ พยาบาล อาจารย์ นักบิน นักกฎหมาย นักบัญชี ตำรวจ ทหาร ทนายความ วิศวกร พนักงานธนาคาร ข้าราชการเกษียณอายุ

ข้อ 9 (38%)  ผู้เสียหายส่วนใหญร้อยละ 38 ไม่รู้จักตัวผู้แนะนำให้ลงทุน เนื่องจากสมัครลงทุนผ่านทางโซเชียล เป็นการโต้ตอบผ่านแชท ข้อความหรือทางไลน์ หรือโทรศัพท์พูดคุยเท่านั้น แต่ไม่เคยเจอตัวตนที่แท้จริงกันและกัน ก็ตัดสินใจลงทุน

ข้อ 10 (92%) หากช่องทางการสื่อสารทางโซเชียล แอปพลิเคชัน เพจ เฟสบุ๊ค ไลน์ และโทรศัพท์ถูกระงับหรือปิดลง ผู้เสียหายส่วนใหญ่ ร้อยละ 92  ไม่รู้จะทำอย่างไรติดต่อไม่ได้ ก็เลยตกเป็นผู้เสียหายในทันที

แชร์ลูกโซ่

และคำถามคือถ้าส่วนใหญ่เรารู้อยู่แล้วว่าธุรกิจที่ทำกันในรูปแบบนี้สุดท้ายแล้วก็จบไม่สวย แต่ทำไมยังมีคนที่หลงเชื่อหลงผิดเข้ากับเรื่องแบบนี้อยู่เสมอ ๆ

สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าธุรกิจที่เป็นรูปแบบเป็นอย่างไร ชี้ช่องรวย มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ดังนี้

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (คศง.) แนะข้อสังเกต วงจรแบบเดิมๆ ที่สร้างมูลค่าความเสียหายมหาศาล โดยมี 5 ข้อสังเกตดังนี้

  1. จัดฉาก สร้างให้บริษัทดูน่าเชื่อถือ โดยเสนอขายสินค้าต่างๆ พร้อมชักช่วนให้ร่วมธุรกิจ การลงทุน / การกู้ยืม ฯลฯ
  2. ชักชวน ให้เหยื่อเข้าร่วมขบวนการโดยเน้นให้ลงเงินทุนครั้งแรกมากๆ ในรูปแบบของสมาชิกหรืออื่นๆ
  3. ชักชวนต่อ ให้เหยื่อไปชักชวนญาติมิตรให้มาร่วมด้วย แม้มีคนเตือนก็จะไม่ยอมฟัง
  4. บ่ายเบียง เหยื่อไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่สัญญาไว้ มีเพียงข้ออ้างต่างๆ เพื่อประวิงเวลา เช่น “วันนี้ยังโอนไม่ได้” “ต้องรอเจ้าหน้าที่” “บัญชีมีปัญหา”
  5. ปิดฉาก เหยื่อพากันไปหามิจฉาชีพ…แต่ปิดทำการไม่มีกำหนด

อ่านบทความอื่น ๆ คลิก