ธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณเงินสดหมุนเวียนในระบบน้อย การบริหารเงินสดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นทักษะที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้ให้ดี บ่อยครั้งที่ธุรกิจเริ่มส่งญาณทางการเงินที่ไม่ดี แต่เจ้าของกลับไม่ได้ให้ความสนใจจึงทำให้ปัญหาใหญ่เกินแก้ไข และนี่คือ 5 สัญญาณอันตรายทางการการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องคอยระวัง อย่าให้เกิดขึ้นเด็ดขาด
1. เงินสดในมือน้อยกว่า 6 เดือน
ตามหลักการบริหารทั่วไป ปริมาณเงินสดที่ต้องมีติดบัญชีไว้เสมอ คือไม่น้อยกว่า 6 เท่าของค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าใช้จ่ายประจำ) ต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน หากธุรกิจใด มีเงินสดในกว่าจำนวนดังกล่าว ถือว่าธุรกิจมีสภาพคล่องในระดับอันตราย ต้องรีบจัดการกับเรื่องการเก็บเงินจากการขายและลดค่าใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน
2. หนี้ค้างรับสูงกว่าหนี้ค้างจ่าย
สิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำให้เรื่องการซื้อขายคือ การขายแล้วเก็บเงินได้เร็วและซื้อของแต่จ่ายเงินช้าและมันจะดีที่สุดถ้าเราสามารถใช้เวลาเก็บเงินได้น้อยกว่าระยะเวลาที่เราต้องจ่ายเงิน เพราะนั่นหมายถึงเราเอาเงินที่ได้จากลูกค้ามาจ่ายค่าสั่งซื้อโดยที่เราไม่ต้องใช้เงินของเราเองเลย
แต่ในความเป็นจริงอาจไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะหนี้ค้างรับจากการขายเครดิตมักมีปริมาณมากเสมอ เมื่อใดที่ธุรกิจของเรามีหนี้ค้างรับสูงกว่าหนี้ค้างจ่ายติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน แสดงว่าธุรกิจของเราเริ่มมีสัญญานไม่ดีแล้ว ควรแก้ไขด้วยการออกมาตรการจูงใจให้ลูกค้าซื้อเงินสดหรือชำระเงินเร็วขึ้น รวมถึงการหยุดขายลูกค้าที่ชอบดึงเครดิตยาวๆ เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างหนี้และบริหารเงินสดให้อยู่ในระดับปกติเสียก่อน
3. สต็อกมากเกินไป
มีประโยคที่ว่า ถ้าไม่รู้ว่าเงินของบริษัทหายไปไหน ก็ให้ไปดูที่คลังสินค้า ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอ เพราะในการดำเนินงานปกติของธุรกิจ เงินสดจะหายหรือเปลี่ยนสถานะเป็น 1 ใน 3 รายการนี้มากที่สุด ได้แก่ สินค้าคงคลังหรือสต็อก หนี้จากการขายที่ยังเก็บไม่ได้ และค่าใช้จ่ายที่ต้องทยอยจ่ายออกไปทุกเดือน ระดับสต็อกที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไป
4. ควบคุมรายจ่ายไม่ได้
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการบริหารการเงินคือ การไม่จดบันทึกรายการเงินเข้าออกว่ามีการใช้จ่ายไปกับเรื่องใดบ้าง เมื่อไหรก็ตามที่เราดูเงินในบัญขีแล้วพบว่ามันน้อยลงแต่เรากลับไม่ทราบว่าเราจ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง นั่นแสดงว่าธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในขั้นอันตราย
5. EBIDTA ติดลบ
ถ้าธุรกิจของมีการทำบัญชีแบบจริงจัง สิ่งที่เจ้าของจะใช้เกณฑ์ตัดสินว่าธุรกิจนี้ดีพอจะเลี้ยงตัวเองหรือไม่คือ การดูกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA)
ธุรกิจที่ EBITDA ติดลบ คือธุรกิจที่รายได้จากการบริหารงานล้วนๆ น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น ธุรกิจที่มีกำไรก่อนหักค่าเสื่อมติดลบต่อเนื่องกว่า 3 เดือน ต้องถือว่าธุรกิจเริ่มอยู่ในสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจแล้ว ต้องรีบปรับแผนการทำงานอย่างเร่งด่วน
แม้ว่าเรื่องการบริหารการเงินจะดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆคน แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่คนทำธุรกิจทุกคนต้องเรียนรู้ เพราะการวางแผนและบริหารการเงินที่ผิดพลาดอาจส่งผลถึงขั้นธุรกิจล่มสลายได้
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก ธนาคารกรุงไทย
อ่านบทความ HOW TO อื่นๆ คลิก