ชี้ช่องรวย แนะ 5 เรื่องสำคัญที่นักลงทุน “แฟรนไชส์” มือใหม่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อธุรกิจ
อีกหนึ่งรูปแบบการลงทุนที่ดูจะเป็นเหมือนสูตรสำเร็จที่ใครหลายคนคิดอยากจะลงทุนซักครั้งในชีวิต คงหนีไม่พ้นธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการลงทุนที่เราไม่ต้องเริ่มจาก 0 แต่รู้หรือไม่ว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการลงทุนในรูปแบบนี้
วันนี้ ชี้ช่องรวย จึงอยากจะมาแนะนำ 5 เรื่องสำคัญที่นักลงทุนมือใหม่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนโดยสูญเปล่า เรามาดูกันเลยว่าจะมีอะไรบ้าง
1.สำรวจความต้องการของตลาด
ถือเป็นหัวใจสำคัญไม่ว่าจะลงทุนทำธุรกิจอะไรเราต้องดูว่า สินค้า บริการ ของเรานั้นเป็นที่ต้องการมากน้อยแค่ไหนต้องลองศึกษาให้มั่นใจก่อนว่าเทรนด์ธุรกิจ Franchise ในท้องตลาดภาพรวมยังมีความต้องการใช้บริการหรือซื้อผลิตภัณฑ์ สนใจจะลงทุนอยู่หรือเปล่า? เราจะต้องเลือกให้แน่ใจว่าธุรกิจมีความ “ยั่งยืนและสามารถขายได้จริง” เพื่อการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราสนใจเลือกลงทุนในระยะยาว
โดยวิธีที่จะเช็กความต้องการของตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ มีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
- ธุรกิจ Franchise จะต้องมีความน่าเชื่อถือ
- ยอดการเจริญเติบโตของสาขา และยอดขายของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในช่วง 2-3 ปีให้หลัง จนถึงปัจจุบัน
- เจ้าของ Franchise มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากพอ
- Target Market ของธุรกิจ Franchise นั้นเป็นยังไง
- Location ที่เจ้าของ Franchise กำหนดมานั้นดูแล้วมีความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจมากน้อยแค่ไหน
2.มีเงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน
สิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรเราจะต้องมีเงินทุน หลายคนคิดว่าการลงทุน Franchise จ่ายเงินแล้วจบดำเนินธุรกิจได้ในทันทีนั่นไม่จริง เพราะเงื่อนไขของแต่ละ Franchise ไม่เหมือนกัน ไหนจะค่า Franchise ค่าก่อสร้างตกแต่ง ค่าอุปกรณ์ ค่าธรรมเนียม รายเดือน รายปี เหล่านี้ ผู้ลงทุนควรศึกษารูปแบบการลงทุนกับแบรนด์นั้น ๆ ๆให้ดีเสียก่อน
ถึงแม้ว่าคุณจะมีโมเดลธุรกิจและแนวทางปฏิบัติอยู่แล้วจากเจ้าของธุรกิจ Franchise แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับเส้นทางการเริ่มต้นเพราะในธุรกิจ Franchise อาจเกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการเอาตัวรอดจากจุดคุ้มทุน และช่วงขาดทุนสุทธิก่อนที่ธุรกิจ Franchise ของคุณจะโฟลว์ ตรงจุดนี้ ต้องบอกเลยว่าคุณจะต้องมีรูปแบบทางการเงินที่ดีระดับหนึ่งเลยหล่ะ เพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจ Franchise ของคุณ เดินต่อได้แบบไม่สะดุด ขอแนะนำให้คุณเข้าถึงเงินทุนที่ครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายทางธุรกิจและค่าครองชีพส่วนบุคคลเป็นเวลาประมาณหกเดือน จริงอยู่ว่า Franchise ได้ให้แผนความสำเร็จแก่คุณแล้ว แต่คุณจะทำให้ธุรกิจ Franchise ของคุณสำเร็จหรือไม่ นั้นมันขึ้นอยู่กับคุณแล้วที่จะทำให้ธุรกิจ Franchise แรกของคุณนั้นไปรอด
3.สำรวจตัวเองว่าพร้อมที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือไม่
การเป็นเจ้าของ Franchise ไม่ใช่สำหรับทุกคน หากคุณเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าหาญ ที่ไม่ทำตามกฎหรือทำอาหารโดยไม่มีสูตร… ลงทุนในธุรกิจ Franchise อาจจะไม่ใช่ทางสำหรับคุณ เราต้องขอโทษที่ต้องบอกคุณตรง ๆ แบบนี้ แต่ในโลกของธุรกิจ Franchise นั้นมันมีกฎที่ต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ ซึ่งนั้นเป็นงานของคุณที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจ Franchise ของคุณดำเนินต่อไปได้ ภายใต้การทำสิ่งนี้ ตามแนวทางของผู้อื่น คุณจะเป็นผู้ดำเนินการแทน หรืออาจกล่าวได้ว่าคุณเป็นผู้ดำเนินการ แต่ไม่ใช่ผู้สร้าง หากคุณเป็นนักฉีกไม่ทำตามกฎ อย่าเพิ่งซื้อธุรกิจ Franchise มาลงทุนเลย มันอาจจะกลายเป็นหายนะก็ได้
4.ลงทุนแล้วต้องรู้ว่าคืนทุนเมื่อไหร่
นักลงทุนทุกคนล้วนขาดหวังกับผลกำไร และแน่นอนว่าการลงทุนธุรกิจ Franchise สามารถคำนวณได้ซึ่งเราสามารถพูดคุยกับเจ้าของแบรนด์และรับตัวเลขทางการเงิน หรือคำนวณจุดคุ้มทุน (Break-Even Point) จากเจ้าของแบรนด์เพื่อพูดคุยถึงสิ่งที่คาดหวังก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยตัวเลขที่ได้มานั้นจะสามารถคำนวณระยะเวลาและรายได้ในการที่จะคืนทุนในอนาคต อย่างไรก็ตามการลงทุนนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นเกมที่ต้องคาดเดา ในหลายปัจจัยที่จะเข้ามามีส่วนให้ธุรกิจออกมาในรูปแบบไหนก็ได้
5.เช็กเงื่อนไขให้ดีก่อนลงทุนเสมอ
การซื้อธุรกิจ Franchise อาจมีเรื่องของความซับซ้อนทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในข้อตกลงด้วย ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะก่อนที่จะตกลงทำสัญญา ในส่วนของค่าธรรมเนียมผู้ซื้อธุรกิจ Franchise จะต้องรับรู้และเข้าใจในข้อตกลงว่ามีค่าธรรมเนียมอะไรบ้างที่ต้องจ่าย โดยค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อธุรกิจ Franchise จะต้องจ่ายมีดังต่อไปนี้
- ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น เพื่อซื้อ Franchise (ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินก้อน) ให้กับผู้ถือสิทธิ์ในการที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเงินรายงวด เป็นสิ่งที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง
- โดยการจ่ายเงินครั้งนี้ มักจะเป็นรอบรายเดือน, 2 เดือน, หรือไตรมาส เงินส่วนนี้ เหมือนเป็นการจ่ายเพื่อให้เจ้าของสิทธิ์นำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารกรุงศรี
อ่านบทความ How to อื่น ๆ คลิก