ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน
รถกระบะ

แชร์ไอเดียธุรกิจ 9 อาชีพที่ใช้ “รถกระบะ” สร้างงาน สร้างรายได้ให้คนไทยมากที่สุด

ปัจจุบันบรรดารถเอนกประสงค์ที่สามารถนำมาประกอบอาชีพหรือใช้ทำธุรกิจได้มากทีสุดคงหนีไม่พ้น “รถกระบะ” จากยอดการผลิตรถกระบภายในประเทศสูงสุดเกือบ 50% หรือ 7.3 แสนคัน จากประเภทของรถที่ผลิตออกมาทั้งหมด และส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ วันนี้ ชี้ช่องรวย จึงอยากจะมารวบรวมให้ดูว่าสามารถนำมาใช้ในธุรกิจอะไรได้บ้างเพื่อเป็นไอเดียให้กับคนที่ดกำลังจะออกรถใหม่เพื่อนำมาประกอบอาชีพ

1.รถบรรทุกหรือรับจ้างส่งของ

รถกระบะ

เห็นได้ชัดเลยว่าตามท้องถนนรถกระบะจะเป็นหนึ่งในรถที่ใช้สำหรับการบรรทุกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตู้ทึบ รถคอก จะนำมาใช้ส่งของ บรรทุกสินค้า เรียกได้ว่าในทุกรูปแบบของการขนส่งที่ไม่ขัดต่อจ้อกฏหมายที่กำหนดไว้สามารถใช้ได้หมด

2.Food Truck

รถกระบะ

รถขายอาหารแบบเคลื่อนที่ เป็นอีกเทรนด์ธุรกิจมาแรงที่หลายคนให้ความสนใจและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคนี้มาก โดยหลังนำรถกระบะมาต่อยอดเป็นรถ Food Truck ขายอาหารหรือเครื่องดื่มก็สามารถขับไปขายตามชุมชน ตลาดนัด หน้าห้างสรรพสินค้า หรือตามงานอีเวนต์ต่าง ๆ เรียกว่าอยากย้ายทำเลขายของก็สามารถทำได้ทันที ที่สำคัญทุกวันนี้มีธุรกิจแฟรนไชส์ Food Truck ให้ผู้สนใจลงทุนซื้อไปเปิดด้วย

3.Barber Truck

รถกระบะ

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเภทธุรกิจที่พบเห็นกันอยู่บ่อย ๆ กับร้านตัดผมเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งไอเดียธุรกิจด้านบริการที่ตอบโจทย์และเข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยใช้รถกระบะมาดัดแปลงทำเป็นร้าน นำส่งบริการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย หรือจะเคลื่อนย้ายไปไหนก็สะดวกรวดเร็ว

4.รถพุ่มพวง

รถกระบะ

เชื่อว่าหลายคนต้องรู้จัก “รถพุ่มพวง” หรือรถขายกับข้าวที่เป็นลักษณะรถเปิดท้ายมีวัตถุดิบทำอาหารแควนขายมากมาย เหมือนตลาดสดเคลื่อนที่ มีวัตถุดิบสำหรับทำอาหารครบครัน โดยข้อได้เปลี่ยนคือสามารถเคลื่อนที่ได้ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

5.Bathe pet Truck

รถกระบะ

อาบน้ำ ตัดแต่งขน สัตว์เลี้ยง ก็เป็นอีกหนึ่งประเภทธุรกิจที่เริ่มได้รับความนิยม และมีผู้สนใจทำธุรกิจนี้บ้างแล้ว นี่ก็เป็นตัวอย่างรถ Truck ที่นำมาดัดแปลงให้เข้ากับธุรกิจ ตอบโจทย์การขาย หรือบริการได้อย่างเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี

6.รถขายผลไม้

รถกระบะ

สำหรับใครที่ต้องการขายของ แต่ไม่รู้ว่าควรเปิดท้ายอะไรดี ขอนำเสนออีกหนึ่งอาชีพยอดฮิตที่พบเห็นได้บ่อย อย่างการรับซื้อผลไม้ตามฤดูกาลจากสวน ตลาดไท หรือตลาดสี่มุมเมืองแล้วไปเปิดท้ายขายของตามตลาดนัด ย่านชุมชน หรือขับรถวิ่งตามหมู่บ้าน เมื่อขายผลไม้หมดก็ค่อยไปรับซื้อผลไม้มาขายใหม่จนกว่าจะหมดฤดูกาลแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นผลไม้ชนิดอื่น โดยผลไม้ที่นิยมนำใส่ท้ายรถมาขาย มีทั้งส้ม กล้วย มังคุด สัปปะรด เงาะ ฝรั่ง ลองกอง มะม่วง ทุเรียน มะพร้าว ชมพู่ และลำไย เป็นต้น

7.รถขายสินค้าเบ็ดเตล็ด

รถกระบะ

สินค้าเบ็ดเตล็ดได้แก่ ของพลาสติก อุปกรณ์ช่าง อุปกรณ์ทำความสะอาด ของประดับตกแต่งบ้าน เสื้อผ้ารองเท้า ฯลฯ ซึ่งรถสำหรับขายของเบ็ดเตล็ดเหล่านี้มีข้อดีคือสินค้าไม่มีวันหมดอายุ ขายไม่หมดวันนี้สามารถขายในวันอื่นๆ ได้ด้วย อย่างไรก็ดีการลงทุนคือสิ่งสำคัญเพราะต้องลงทุนค่อนข้างเยอะในการซื้อสินค้าต่างๆ เพราะหากมีสินค้าให้เลือกน้อย ลูกค้าก็จะไม่ได้สินค้าที่ต้องการ การลงทุนในลักษณะนี้จะมีรายได้หมุนเวียนแต่หากมีระบบการบริหารจัดการที่ดีอาจทำให้มีรายได้เหลือกินเหลือเก็บมากขึ้น

8.รถขายต้นไม้

รถกระบะ

ถือเป็นอีกไอเดียที่ช่วยสร้างรายได้ที่ดีสำหรับในเมือง เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อยากจะปลูกต้นไม้แต่การจะหาซื้อไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับคนที่อยู่ใน กทม. โดยชนิดของต้นไม้ที่ได้รับความนิยมก็มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็น ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น สมุนไพร อย่างต้นไม้ฟอกอากาศ ต้นไม้มงคล หรือแคคตัส นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูก การจัดสวนให้ลูกค้าได้เลือกอย่างครบวงจรจะช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

9.รถรับซื้อของเก่า

รถกระบะ

จะเห็นได้ว่าทั้งรถคอก รถธรรมดา บางคนยึดอาชีพรับซื้อพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าด่างๆ ตามบ้าน ซึ่งหากเราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากประสบการณ์ที่สะสมมาทั้งหมด ก็สามารถนำมาต่อยอดเปิดพื้นที่รับซื้อของเก่าได้เลย โดยราคาของเก่าก็น่าสนใจ อย่างหนังสือพิมพ์เก่ากิโลกรัมละ 10 บาท ขวดเบียร์กิโลกรัมละ 10-14 บาท กระป๋องโค้กกิโลกรัมละ 38 บาท พลาสติก(ขวดน้ำ) กิโลกรัมละ 15 บาท เป็นต้น บางรายอาจสามารถสร้างรายได้หลักพันบาทต่อวัน

สำหรับใครที่กำลังวางแผนที่จะออกรถกระบะคันใหม่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ วันนี้ ชี้ช่องรวย มีข่าวดีมาบอก โครงการดี ๆ กระทรวงการคลัง” เปิดตัวมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” บสย. SMEs PICK-UP ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปีแรก ปลดล็อก SMEs เข้าถึงสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะใหม่

โดยรัฐบาล กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้ ส่วนปีที่ 4-7 คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันต่ำเพียง 1.5% ต่อปี ของภาระหนี้ค้ำประกันในแต่ละปี เช่นภาระหนี้สินเชื่อปีที่ 4 คงเหลือ 300,000 บาท SMEs จะจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันเพียง 4,500 บาทเท่านั้น พร้อมค้ำประกันนานสูงสุด 7 ปี หรือ 84 งวด วงเงินค้ำประกันสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อราย ถือเป้นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่ขอสินเชื่อเช่าซื้อสำหรับซื้อรถใหม่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยเปิดรับคำขอค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 และสิ้นสุดรับคำขอค้ำประกันภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2568

นอกจากนี้ยังช่วยเหลือลูกหนี้ที่ออยู่ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 “บสย. SMEs ยั่งยืน” ดังนั้น ลูกหนี้ SMEs ที่ถือหนังสือค้ำประกัน บสย. จะได้รับความช่วยเหลือในกรณีที่ประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดต่อได้จนกลายเป็นหนี้เสีย และรถถูกยึดขายทอดตลาดเสร็จสิ้นแล้ว โดยไฟแนนซ์พิจารณาส่งยอดหนี้คงเหลือมาเคลมกับ บสย. ซึ่งลูกหนี้ที่ถูกจ่ายเคลมภายใต้มาตรการนี้ สามารถเข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ “บสย. พร้อมช่วย” หรือ มาตรการ 3 สี ม่วง เหลือง เขียว

ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ บสย. (SMEs ที่ บสย. จ่ายเคลม) ผ่อนยาวสูงสุด 7 ปี ดอกเบี้ย 0% ตัดเงินต้นก่อนตัดดอก และสำหรับลูกหนี้ดี มีวินัย สามารถปลดหนี้ได้เร็วขึ้น โดย บสย. ลดเงินต้นให้สูงสุด 10-15% และพิเศษลดเงินต้น 30% สำหรับลูกหนี้ “กลุ่มเปราะบาง” ที่เงินต้นไม่เกิน 2 แสนบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือ SMEs ครอบคลุมทุกกลุ่ม พร้อมปรับสิทธิประโยชน์ให้มีความยืดหยุ่น ผ่อนปรนมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถแก้หนี้ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น พร้อมฟื้นฟูธุรกิจเดินหน้าต่อได้อย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิก


อ่านบทความที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ คลิก