โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

“วันนี้... เป็นวันสงกรานต์” แต่ทำไม...ต้องมี 3 วัน?

 "สงกรานต์" ถือเป็นประเพณีที่เก่าแก่ของไทยประเพณีหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คู่กับประเพณีตรุษ หรือที่เรียกกันรวมๆ ว่าประเพณีตรุษสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของไทย ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันส่งท้ายปีเก่า และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2483 เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก คำว่าตรุษ เป็นภาษาทมิฬ ใช้ในชนเผ่าหนึ่งทางอินเดียตอนใต้ แปลว่า ตัด หรือขาด คือตัดปี หรือขาดปี หมายถึงการสิ้นปี ซึ่งจะถือหลักทางจันทรคติ (วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก) คือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ส่วนคำว่าสงกรานต์ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้น หรือการเคลื่อนที่ ย้ายที่ หมายถึง เวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุกๆ เดือน เรียกว่า สงกรานต์เดือน ยกเว้นเมื่อย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นสงกรานต์ปี จะเรียกชื่อพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยวิธีนับทางสุริยคติ (วิธีนับวันและเดือนโดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก)

ดังนั้น การกำหนดนับวันสงกรานต์จึงตกอยู่ในระหว่างวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ซึ่งทั้ง 3 วันจะมีชื่อเรียกเฉพาะดังนี้ คือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า มหาสงกรานต์หมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ผ่านการเข้าสู่ราศีอื่นๆ แล้วครบ 12 เดือน

  • วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หมายถึง การที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าอยู่ราศีเมษประจำที่เรียบร้อยแล้ว
  • วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก หรือวันขึ้นศก คือ วันที่เริ่มเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่กำหนดให้อยู่ในวันนี้นั้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่าดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นอยู่ราศีเมษแน่นอนแล้ว อย่างน้อย 1 องศา
Tags: