โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ซอฟต์แวร์ปาร์ก ร่วมกับ สวทช. อบรมนักวิจัยภาคใต้

รวมถึงผู้ประกอบการภาคเอกชน บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด และบริษัท เพอร์เฟค รีเสิร์ช โซลูชั่น จำกัด มากกว่า 30 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 7 กลุ่ม ผลงานวิจัย เพื่อค้นหาแนวคิดใหม่ในการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยให้เกิดศักยภาพและสร้างผลกระทบสูงสุด รวมถึงหลักการออกแบบรูปลักษณ์สินค้าให้น่าสนใจตรงความต้องการกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ การอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้เรื่องการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ การทำความรู้จักกับขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนเรียนรู้พันธุนวัตกรรม (Innovation DNA) ที่ได้คัดเลือกให้เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมอบรม ได้แก่ Innovation DNA ชนิดที่ 1 - 3 ที่เหมาะสมกับการลดต้นทุนการผลิต รวมถึงทดลองใช้งาน DNA ชนิดต่างๆ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คุณธีรศักดิ์ วงศ์ปิยะ และคุณสุทธิศักดิ์ วงศ์ปิยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากโบลด์ กรุ๊ป ไทยแลนด์ และเรียนรู้ถึงหลักการออกแบบรูปลักษณ์สินค้า (Styling design for business) เพื่อให้น่าสนใจตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ เพื่อเป็นโอกาสทางธุรกิจแก่เอกชนมากขึ้น โดย คุณนิพิฐพนธ์ ภูริชบุญทรัพย์ นักออกแบบ จาก Millennium Ducks Design Store ในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ทีมวิทยากรโดยโบลด์ กรุ๊ป ไทยแลนด์ ให้คำปรึกษาการคิดและช่วยสร้างไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า ได้ใช้เครื่องมือ Systematic Inventive Thinking (SIT) ซึ่งเป็นหลักการทางวิชาการที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2003 ที่หากเรามองดูผลิตภัณฑ์และบริการของโลกแล้วทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งกลุ่มเป็น 5 แนวทาง (ประกอบด้วย Subtraction / Multiplication / Task Unification / Attribute Dependency และ Division ข้อมูลเพิ่มเติม www.bold.group) เรียกว่าเป็น DNA ของนวัตกรรม ฉะนั้น หากเราคิดย้อนกลับ (reverse) ทั้ง 5 กระบวนการ

แต่ละ DNA เรียนรู้เครื่องมือ และเริ่มทดลองใช้ทันที โดยกลุ่มเป้าหมายหลักที่เข้าร่วมอบรม คือ นักวิจัยและทีมงาน 3-5 คน ประกอบด้วยนักวิจัย ที่มีหน้าที่วิจัยเป็นหลัก และผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มนำผลที่ได้ไปใช้งานจริงและในทันที ซึ่งทั้งนักวิจัยและผู้ประกอบการมีความรู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และได้ทำงานด้วยโครงการผลงานวิจัยของตัวเอง ฉะนั้น ภายหลังการอบรม ผู้อบรมจึงสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดสินค้า บริการ หรือกระบวนการให้ดียิ่งๆ ขึ้นได้