ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

บุคคลชลประทาน “อภิรักษ์ ช่วยพยุง” ชลประทาน ม.ปลาย กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ สร้างกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานด้วย 2 มือ


ปลายทางแห่งความสำเร็จคือรางวัลอันทรงเกียรติที่ได้รับ แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้นั้น การเดินทางและฟันฝ่ามาตลอดระยะเวลา 30 ปี ของ อภิรักษ์ ช่วยพยุงพนักงานชลประทาน บ.2 สำนักงานชลประทานที่ 3 ผู้มีต้นทุนทางการศึกษาไม่สูงเพราะจบการศกึ ษาเพียงแคชั่้น ม.6 แต่ด้วยยความเพียรพยายามจะแสวงหาความรู้อยู่ตลอด จึงทำให้บั้นปลายชีวิตของเขางดงามและน่าค้นหาไม่น้อยไปกว่าใคร
จบชั้น ม.6 แต่ไม่หยุดเรียนรู้

นายอภิรักษ์ เล่าให้ฟังว่า เขาเกิดและเติบโตในครอบครัวเล็กๆ ที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พ่อและแม่ประกอบอาชีพค้าขายและไม่ได้มีเงินทองให้ใช้จ่ายอย่างเพื่อนร่วมรุ่นเท่าใดนัก ในวัยศึกษาเล่าเรียนนั้น จึงสามารถส่งเสียให้นายอภิรักษ์เรียนจบได้เพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนตะพานหินในปี 2529 และจบมัธยมปลายที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอตะพานหิน

แต่ด้วยความที่พ่อแม่ประกอบอาชีพค้าขาย จึงหมายมั่นอยากให้ลูกได้ทำงานในอาชีพที่มั่นคง ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่กรมชลประทานเปิดสมัครสอบรับหลายตำแหน่ง นายอภิรักษ์ จึงได้นำวุฒิการศึกษาไปสมัครสอบจนเข้ารับตำแหน่งผู้รักษาอาคารชลประทาน
“ผมบรรจุครั้งแรกเป็นลูกจ้างประจำที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดงเศรษฐีจังหวัดพิจิตร ในตำแหน่งผู้รักษาอาคารชลประทาน จะมีหน้าที่คอยเปิด-ปิดอาคารบังคับน้ำ แจ้งระดับน้ำ และบำรุงรักษาเครื่องกว้านบานระบาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เล็กมาก จากนั้นได้ย้ายมาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าบัว จังหวัดพิจิตร ในตำแหน่งเดิม ก่อนจะขยับมาเป็นพนักงานส่งน้ำ ดูแลรับผิดชอบส่งน้ำใหก่เกษตรกรในพื้นที่ 10,000 ไร่”
ลูกจ้างประจำ ผู้มีความรู้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม

 

ปี 2548 ขณะที่เขาเป็นพนักงานส่งน้ำ ในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดงเศรษฐี จังหวัดพิจิตร ที่นี่นับเป็นจดเริ่มต้นให้นายอภิรักษืได้รู้จักกับแนวคิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพราะในช่วงนั้นกรมชลประทานเริ่มมีการจัดอบรมเรื่องการทำงานแบบมีส่วนร่วมอยู่บ่อยครั้งโดยนายอภิรักษ์เองแม้จะมีตำแหน่งหน้าที่การงานไม่ใหญ่โต แต่เขาก็ใฝ่หาความรู้ให้ตนเองอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ทุกครั้งที่กรมชลประทานมีการเปิดรับสมัครอบรมเขาจะขออาสาเป็นหนึ่งในตัวแทนโครงการเข้าไปรับอบรมด้วยเสมอ“บุคคลที่มาปลุกใจผมในเรื่อง
กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม และผมมักจะกล่าวถึงเขาอยู่ตลอด คือ นายสุรินทร์ ทรัพย์สกุล หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 (ท่าบัว) ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานเรศวร) เขาเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงต้องการคนรุ่นใหม่ที่สนใจกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและมองหาคนที่จะสามารถทำงานขับเคลื่อนแนวคิดนี้ให้เดินหน้าไปด้วยกัน”

นายอภิรักษ์ บอกอีกว่า เขาผ่านการอบรมมามากมาย เช่น cop ชุมชนนักปฏิบัติการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม-วิทยากรกระบวนการ และได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอด โดยใช้ชุดเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หากไม่นำไปลงมือปฏิบัติใช้ก็ไม่ต่างกับคนมีจอบ มีเสียม แต่เอาไปทำมาหากินต่อไม่เป็น แล้วยังนำองค์ความรู้ที่มีไปเป็นวิทยากรให้หน่วยงานต่างๆ ด้วย
ย้อนไปเมื่อสิบกว่าปีก่อนแม้ทั้กษะการทำงานของเขาในด้านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมจะยังมีไม่มาก แต่หากมีความมุ่งมั่น ไม่หวั่นเกรงต่ออุปสรรค เขามั่นใจในหลักการทำงาน การคิดวิเคราะห์เชิงระบบและหยาดเหงื่อเหมือนน้ำที่โรยรดลงสู่พื้นดิน ย่อมสร้างต้นไม้ใหญ่ที่มีรากหยั่งลึกให้ร่มไทรได้เสมอ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างภาวะผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำ
หลายปีที่นายอภิรักษ์ เข้าไปทำความรู้จักกับเกษตรกร สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มบริหารการใช้น้ำ เขาเดินหน้าถ่ายทอดความรู้ที่มีในระดับพนักงานส่งน้ำให้หัวหน้ากกลุ่มบริหารการใช้น้ำ ชลประทานคลองซี 94 และกลุ่มพื้นฐาน 21 กลุ่มย่อยซึ่งมีสมาชิกต่อกลุ่มตั้งแต่ 25-40 คน โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้ข้อดีและข้อด้อยของแต่ละกลุ่ม เพื่อต่อยอดต่อไปไม่สิ้นสุดและนำสันติมาถ่ายทอดให้เข้าใจง่ายๆ แบบชาวบ้าน เพื่อแก้ไขข้อพิพาทของเกษตรกรในพื้นที่อย่างได้ผล เป็นธรรมเสมอภาคและเท่าเทียม พื้นที่ในความรับผิดชอบรวม 10,000 ไร่ ก่อเกิดเป็นกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94 ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ผู้นำกลุ่มที่ต้องบอกเลยว่า “เป็นคนปั้นมากับมือ” มีทักษะการบริหารจัดการน้ำเก่งไม่แพ้เจ้าหน้าที่ชลประทาน จนสามารถคว้ารางวัลจากสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่นมาหลายต่อหลายครั้งเช่น ปี 2556 และปี 2557
จากเดิมที่ไม่มีใครรู้จักกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานคลองซี 94 แต่หลังจากกลุ่มมีความเข้มแข็ง ไม่เพียงแต่จะได้รับคัดเลือกส่งเข้าประกวดกลุ่มผู้ใช้น้ำดีเด่นหลายครั้ง นายอภิรักษ์ยังผลักดันให้กลุ่มได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนกับสถาบันการชลประทานและระบายน้ำประเทศญี่ปุ่น (Japanese Institute of Irrigation Drainage : JIID) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรประมงและป่าไม้ของประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียม ที่ถือเป็นต้นแบบการบริหารจัดการน้ำที่ประสบความสำเร็จ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันอีกด้วย

“การที่กลุ่มผู้ใช้น้ำจะเข้มแข็งไปได้ตลอด ต้องให้เขาคิดเป็น รู้ปัญหา รู้สาเหตุ รู้แนวทางแก้ไข และจะไม่กลับไปมีปัญหาอีกเหมือนกับหลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นกลุ่มที่สร้างขึ้นมาจึงต้องมีความเข้มแข็งและยั่งยืนไม่ทำตัวเหมือนเป็นพลุที่ยิงขึ้นฟ้าที่ลอยตัวเปล่งแสงอยู่สักพักแล้วก็หายไป”
รางวัลที่อภิรักษ์คู่ควรปัจจุบัน
แม้ตำแหน่งหน้าที่การงานของนายอภิรักษ์ยังอยู่ที่เดิม เพราะมีระดับการศึกษาเป็นสาเหตุ แต่จากความทุ่มเทหยาดเหงื่อและแรงใจมาหลายปี ผลงานของเขาจึงเป็นที่เด่นชัด ทำให้ได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำดีเด่น ประจำปี 2558 ซึ่งในการคัดเลือกนั้นจะต้องผ่านการแข่งขันโดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณารางวัลในด้านการครองตน ครองคน และครองงาน รางวัลในครั้งนี้น่าจะมาจากความตรงไปตรงมา กล้าคิด กล้าพูดบวกกับการทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ จึงพิสูจน์ให้เห็นว่า ชายคนนี้สมควรแก่คำว่าบุคคลชลประทานอย่างแท้จริง