โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

เลือกขนส่งให้เหมาะกับธุรกิจ

ต้นทุนสำคัญตัวหนึ่งของการค้าขายคือการขนส่งสินค้า หากมีการออกแบบและเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสม จะทำให้ได้ต้นทุนถูก และสินค้าถึงมือลูกค้าในสภาพที่ดี โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1.ชนิดของสินค้า

อันดับแรกที่คุณต้องรู้คือสินค้าคุณคืออะไร ต้องบรรจุแบบใด ภาษีเท่าใด ใช้สิทธิพิเศษได้หรือไม่ ต้องมีเอกสารสำคัญแนบการขนส่งด้วยหรือไม่ ต้องขออนุญาตรึเปล่า ทั้งหมดนี้ที่ต้องรู้ก็เพราะว่า สินค้าบางชนิดที่คุณเห็นว่าเป็นสินค้าธรรมดาบ้านๆ ใช้กันทั่วไป แต่มีข้อกำหนดข้อจำกัดในการนำเข้าหรือส่งออกอยู่ด้วยหรือต้องขออนุญาตหรือเปล่าในกรณีที่ต้องขนส่งข้ามเขตจังหวัดหรือการขนส่งข้ามไปยังต่างประเทศ

2.ขนาดของสินค้า

ขนาดสินค้าที่จะขนส่ง พาหนะในการขนส่งของแต่ละประเภทก็มีข้อจำกัดเรื่องขนาดแตกต่างกันไป ถ้าสินค้าใหญ่มาก ตู้คอนเทนเนอร์ของรถก็ใส่ไม่ได้ รวมถึงจะขนส่งสินค้าโดยเครื่องบินก็ไม่ได้เช่นกัน คุณอาจต้องใช้ภาชนะบรรจุที่ใช้อาจจะต้องเป็น Flat Rack Container ซึ่งยืดหยุ่นมากกว่าและรองรับสินค้าขนาดใหญ่ได้ จึงอาจจะจะเหมาะสมมากกว่า ดังนั้นก่อนที่จะส่งอะไรอย่าลืมบอกขนาดกับบริษัทผู้รับจ้างขนส่งสินค้าด้วย

3.น้ำหนักของสินค้ารวมวัสดุหีบห่อ

น้ำหนักสินค้า น้ำหนักรวมของสินค้าหรือ Gross weight คือสิ่งที่บริษัทขนส่งสินค้าต่างๆ จะใช้คำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกเก็บเงินกับคุณ และน้ำหนักต่อชิ้นของตัวสินค้าก็มีผลต่อการเคลื่อนย้ายสินค้า ถ้าใช้คนยกไม่ได้แล้วมีค่าใช้จ่ายสำหรับรถยกเพิ่มขึ้นมาอาจจะขาดทุนก็เป็นได้ ดังนั้นถ้าหากสามารถลดน้ำหนักของวัสดุหีบห่อ หรือน้ำหนักรวมหีบห่อต่อชิ้นลงได้ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ด้วย

4.ต้นทาง และปลายทางของการขนส่ง

ปลายทางการขนส่งของแต่ละจังหวัดหรือแต่ละประเทศก็มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ต่างกัน บางจังหวัดมีสถานีที่เป็นชุมทางการขนส่งเช่นรถไฟ รถโดยสารหรือหรือระบบโลจิสติกส์แบบต่างๆก็จะมีตัวเลือกในการขนส่งที่หลากหลาย บางจังหวัดหรือบางประเทศก็ไม่มีพรมแดนติดทะเล การขนส่งทางเรืออาจจะไม่เหมาะนัก สำรวจดูให้ดีก่อนตกลงซื้อขายกันก่อน

5.จำนวนวันที่ใช้ในการขนส่งสินค้า

ระวังเรื่องนี้ให้ดีๆนะครับ เพราะระยะทางยิ่งไกล ก็ยิ่งต้องใช้เวลามาก หรือในเส้นทางเดียวกันการขนส่งสินค้าบางประเภทอาจจะวิ่งได้เร็ว แต่บางประเภทก็ขนส่งได้ช้า ยิ่งถ้ากำหนดส่งสินค้าเข้ามาใกล้แล้ว แต่ของยังผลิตไม่เสร็จ แล้วต้องไปใช้บริการขนส่งที่รวดเร็วกว่า เช่นทางอากาศแทนเพื่อให้ขนส่งได้เร็วขึ้น จากกำไรอาจจะกลายเป็นขาดทุนได้ทันที ผู้ใช้บริการจึงต้องชั่งน้ำหนักการตัดสินใจให้ดีนะครับในเรื่องระยะเวลาในการขนส่งสินค้าที่มักแปรผกผันกับค่าใช้จ่าย

6.ต้นทุนในการขนส่งสินค้า

ต้นทุนในการขนส่ง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งในการทำธุรกิจในทุกวันนี้ คือการลดต้นทุนให้น้อยที่สุดโดยไม่ส่งผลกับคุณภาพของสินค้าและระยะเวลาในการขนส่งสินค้ามากนัก ดังนั้นการจัดการข้อนี้ ควรเป็นไปอย่างรอบคอบ ก่อนจะตกลงเริ่มการขนส่งสินค้า อย่าลืมเช็คราคาค่าขนส่งกับบริษัทขนส่งสินค้าหรือผู้ให้บริการรถรับจ้างขนส่งสินค้าก่อนทุกครั้งนะครับว่าราคาเหมาะสมกับต้นทุนที่เราวางแผนไว้หรือไม่

ซึ่งหลังจากที่เราทราบเงื่อนไขต่างๆของสินค้าตามที่ได้กล่าวมาแล้ว คราวนี้เราก็เริ่มเลือกประเภทในการขนส่งสินค้าประเภทของการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันการขนส่งมีความเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น มีวิธีการขนส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลือกหลายวิธี ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งให้เหมาะสมกับต้นทุนและความต้องการของธุรกิจของตนเอง ซึ่งสามารถจำแนกการขนส่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

1.การขนส่งสินค้าทางน้ำ (Water Transportation)

การขนส่งทางน้ำ เป็นวิธีการขนส่งเก่าแก่มีมาตั้งสมัยโบราณ โดยการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้า รวมถึงการขนส่งทางทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งทางน้ำนี้เหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมากเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ ข้าวเปลือก เครื่องจักร ยางพารา เป็นต้นส่วนประกอบของการขนส่งทางน้ำ

1.1 ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ

1.2 อุปกรณ์การขนส่ง คือ เรือ ได้แก่ เรือโดยสาร เรือสินค้าและเรือเฉพาะกิจ เช่น เรือลากจูง เรือประมง ฯลฯ

1.3 ท่าเรือ

1.4 เส้นทางเดินเรือ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

- เส้นทางเดินเรือภายในประเทศ

- เส้นทางเดินเรือชายฝั่งทะเล

- เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางน้ำ

• ข้อดี
1. อัตราค่าขนส่งถูกกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งทางอื่น
2. ขนส่งได้ปริมาณมาก
3. มีความปลอดภัย
4. สามารถส่งได้ระยะไกลๆ

• ข้อเสีย

1. มีความล่าช้าในการขนส่งมาก
2. ในฤดูน้ำลดหรือฤดูร้อน น้ำอาจมีน้อย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง เพราะเรือเกยตื้นได้
3. ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนในการขนส่งได้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ และ ภูมิประเทศ

2.การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation) จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 การขนส่งทางรถไฟ (Railroads)

การขนส่งทางรถไฟ เป็นเส้นทางการลำเลียงที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหนัก ๆ ปริมาณมากและในระยะทางไกล อัตราค่าบริการไม่แพง การขนส่งทางรถไฟจะมีกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทางในระยะเวลาแน่นอนและมี ความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้าส่วนประกอบของการขนส่งทางรถไฟ1) ผู้ประกอบการ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)2) ขบวนการรถไฟ คือ อุปกรณ์ขนส่งทางรถไฟ ได้แก่- ขบวนรถไฟโดยสาร ใช้ขนส่งผู้โดยสาร ได้แก่ ขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถดีเซลราง- ขบวนรถไฟสินค้า ใช้ขนส่งสินค้า มี 3 ประเภท คือ

2.1.1 รถปิด คือ รถไฟที่ปิดทุกด้าน เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่เสียหายง่ายเมื่อถูกแดดถูกฝน

2.1.2 รถเปิด คือ รถไฟที่ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เสียหายเมื่อถูกแดด ถูกฝน

2.1.3 รถเฉพาะกิจ คือ รถไฟที่ออกแบบสำหรับใช้เฉพาะงาน เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกปูนซีเมนต์ รถบรรทุกน้ำมัน เป็นต้น – เส้นทางรถไฟ ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางรถไฟ

• ข้อดี
1. ประหยัด ขนสงสินค้าได้จำนวนมากหลายชนิด
2. รวดเร็ว สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
3. สะดวก เพราะมีตู้หลายชนิดให้เลือกเพื่อความเหมาะสมกับสินค้า
4. ปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น
5. ขนส่งได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ

• ข้อเสีย
1. ไม่สามารถขนส่งสินค้าให้ถึงที่ต้องการขนถ่ายได้
2. ความยืดหยุ่นมีน้อย เพราะมีเส้นทางตายตัว
3. มีความคล่องตัวน้อยกว่าการขนส่งแบบอื่น เพราะมีกฎระเบียบมากไม่เหมาะสมกับผู้ส่งสินค้ารายย่อย ปริมาณน้อย

2.2 การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือรถบรรทุก (Truck Transportation)

การขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุก ถือว่าเป็นหัวใจของการขนส่งทางบก ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการสร้างถนน ขยายถนนเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ซึ่งการขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุกน้สามารถแก้ปัญหาในด้านการจำหน่าย สินค้าของพ่อค้าได้เป็นอันมา เพราะการขนส่งสินค้าสะดวด รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ได้โดยตรงส่วนประกอบของการขนส่งทางรถยนต์ หรือ รถบรรทุก

1) ผู้ประกอบการ อาจเป็นรัฐหรือเอกชนดำเนินงานก็ได้ หรือเป็นการดำเนินงานร่วมกันก็ได้ เช่น รถยนต์รับจ้าง

2) อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ รถยนต์ และรถบรรทุก

3) ถนนหรือเส้นทางเดินรถข้อดีข้อเสียของการขนส่งทางรถยนต์

• ข้อดี
1. บริการได้ถึงที่โดยไม่ต้องมีการขนถ่าย
2. ขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาตามความต้องการของลูกค้า
3. สะดวก รวดเร็ว
4. เหมาะกับการขนส่งระยะสั้นและระยะกลาง
5. เป็นตัวเชื่อมในการขนส่งแบบอื่นที่ไม่สามารถไปถึงจุดหมาย ได้โดยตรง

• ข้อเสีย
1. ค่าขนส่งสูงเมื่อเทียบกับการขนส่งทางรถไฟ
2. มีความปลอดภัยต่ำ เกิดอุบัติเหตุบ่อย
3. ขนส่งสินค้าได้ปริมาณและขนาดจำกัด
4. กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรและดินฟ้าอากาศ

3.การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)

การขนส่งทางอากาศมีความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศเพราะทำการขนส่งได้รวดเร็วกว่าการขนส่งประเภท อื่นๆ ไม่เสียเวลาในการขนส่งนาน สะดวกและปลอดภัย เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น หรือสินค้าต้องการสั่งจองมาด้วยความรวดเร็วแก่การใช้งาน ถ้าล่าช้าอาจเกิดความเสียหายได้ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากและสินค้าราคาถูกๆ ไม่รีบร้อนในการขนส่ง ซึ่งการขนส่งประเภทนี้ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้รวดเร็วทั้งในและต่าง ประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขนส่งประเภทอื่น

ส่วนประกอบของการขนส่งทางอากาศ

3.1 ผู้ประกอบการ ได้แก่ บริษัทการบิน ให้บริการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ

3.2 อุปกรณ์ในการขนส่ง ได้แก่ เครื่องบิน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ- เครื่องบินโดยสาร ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร- เครื่องบินบรรทุกสินค้า ให้บริการขนส่งเฉพาะสินค้า- เครื่องบินแบบผสม ให้บริการทั้งผู้โดยสารและสินค้าภายในลำเดียวกัน

3.3 เส้นทางบิน คือ เส้นทางที่กำหนดจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง มี 2 ลักษณะ คือ – เส้นทางในอากาศ- เส้นทางบนพื้นดิน

3.4 สถานีในการขนส่งหรือทาอากาศยาน เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับการขึ้นลงของเครื่องบิน ประกอบด้วย- อาคารสถานี- ทางวิ่งและทางขับ- ลานจอด

• ข้อดี
1. สะดวก รวดเร็วที่สุด
2. สามารถขนส่งกระจายไปทั่วถึงได้อย่างกว้างขวางทั้งใน ประเทศและระหว่างประเทศ
3. สามารถขนส่งไปในท้องถิ่นที่การขนส่งประเภทอื่นไปไม่ถึงหรือไปยากลำบาก
4. เหมาะกับการขนส่งระยะไกลๆ
5. เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่เสียง่าย จำเป็นต้องถึงปลายทางรวดเร็ว
6. ขนส่งได้หลายเที่ยวในแต่ละวัน เพราะเครื่องบินขึ้นลงได้รวดเร็ว

• ข้อเสีย
1. ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงกว่าประเภทอื่น
2. จำกัดขนาดและน้ำหนักของสินค้าที่บรรทุกจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากไม่ได้
3. บริการขนส่งได้เฉพาะเมืองที่มีท่าอากาศยานเท่านั้น
4. การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ
5. การลงทุนและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์สูง
6. มีความเสี่ยงภัยอันตรายสูง

4.การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ (Container System)

การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นการพัฒนาการขนส่งอีกขั้นหนึ่ง โดยการบรรจุสินค้าที่จะขนส่งลงในตู้หรือกล่องเหล็กขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า คอนเทนเนอร์ แล้วทำการขนส่งโดยรถบรรทุก รถไฟ หรือเครื่องบิน ไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มีการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ระหว่างทำการขนส่ง เที่ยวนั้น ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ต้องสร้างจากเหล็กที่ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถวางไว้กลางแจ้ง ได้โดยปกติจะสร้างให้มีลักษณะแข็งแรงมาก เพื่อให้ทนทานต่อการยกขนถ่ายสินค้าและสับเปลี่ยนบรรทุกระหว่างรถบรรทุก รถไฟหรือเรือ ในการเคลื่อนย้ายตู้นี้จะใช้ปั้นจั่น ในการขนย้าย และจากคุณสมบัติดังกล่าว ตู้คอนเทนเนอร์ จึงสามารถป้องกันสินค้าชำรุดเสียหายได้เป็นอย่างดี

ชนิดของตู้ คอนเทนเนอร์ตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้สินค้าที่ใช้ในการขนส่งสินค้า เป็นตู้สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต ยาว 20,25,40,45 ฟุต ทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียมที่ได้รับการผนึกอย่างดีกันไม่ให้น้ำเข้าในตู้ได้ ใช้สำหรับบรรทุกสินค้า ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ

5.1 ตู้แห้งหรือตู้สินค้าทั่วไป เป็นตู้ทึบไม่มีแผ่นฉนวนอยู่ด้านใน ไม่มีเครื่องทำความเย็นติดตั้งหน้าตู้ ใช้บรรทุกสินค้าแห้งหรือสินค้าทั่วไป

5.2 ตู้ควบคุมอุณหภูมิ แบ่งได้ดังนี้- ตู้ห้องเย็น จะมีเครื่องทำความเย็นในตู้ ภายในระบุฉนวนทุกด้าน เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู้ด้านใน นิยมเก็บผักสด ผลไม้- ตู้ฉนวน ภายในจะบุฉนวนด้วยโฟมทุกด้านเพื่ออป้องกันความร้อนแผ่เข้าตู้ นิยมบรรทุกผัก- ตู้ระบายอากาศ เหมือนกับตู้เย็นแต่มีพัดลมมแทนเครื่องทำความเย็น พัดลมจะดูดก๊าซอีเทอร์ลีนที่ระเหยออกจากตัวสินค้า

5.3 ตู้พิเศษ ได้แก่- ตู้แท็งก์เกอร์หรือตู้บรรจุของเหลว- ตู้เปิดหลังคา- ตู้แพลตฟอร์ม- ตู้เปิดข้าง- ตู้บรรทุกรถยนต์- ตู้บรรทุกหนังเค็ม- ตู้สูงหรือจัมโบ้ประโยชน์ของระบบตู้คอนเทนเนอร์

• ข้อดี
1. ทำให้ขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็ว
2. ลดความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งและป้องกันการถูกโจรกรรมได้
3. ประหยัดค่าใช้จ่าย
4. สามารถขนส่งได้ปริมาณมาก
5. การสั่งจองเรือระวางเพื่อขนส่งสินค้าทำได้สะดวก
6. ตรวจนับสินค้าได้ง่าย

• ข้อเสีย
1.ไม่เหมาะกับการขนส่งระยะสั้นสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าเมื่อใช้วิธีขนส่งด้วยรถบรรทุก แล้วเปรียบเทียบกับรถบรรทุกที่ใช้คอกกระบะชนิดเบา

ขอบคุณข้อมูลจาก transport4thai.com (บจก.ทีเอฟที ทรานสปอร์ต)