ความน่าสนใจของธุรกิจชาบูชาบู
ความง่ายของการเป็นเจ้าของร้านชาบูชาบูนั้นใครๆก็สามารถเปิดธุรกิจนี้ได้หากมีความรู้ความเข้าใจนอกเหนือจากสูตร สิ่งสำคัญที่สุด คือ การคิดคำนวณต้นทุน
ร้าน ชาบู ถือเป็นเมนูที่ต้องเน้นความสำคัญในเรื่องของวัตถุดิบมากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น น้ำจิ้มและน้ำซุป ถือว่าเป็นหัวใจหลักของอาหารประเภทนี้ ฉะนั้นหากทำเอง และมีรสชาติที่แตกต่าง อร่อย ก็จะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าได้ดี
องค์ประกอบหลักของเมนูชาบูชาบู
- น้ำซุป
- น้ำจิ้ม น้ำจิ้มชาบูชาบู สูตรอร่อยที่ขาดไม่ได้
- เนื้อต่างๆ
- ผัก และเห็ดต่างๆ
- เมนูเส้น
- เครื่องเคียงอื่นๆ
- ของหวาน
- เครื่องดื่ม
ราคาอุปกรณ์ร้านชาบูชาบู
องค์ประกอบสำคัญที่ร้านชาบูชาบูจะขาดไปไม่ได้เลย นอกจากวัตถุดิบอาหาร นั่นก็คือ “อุปกรณ์” ที่ใช้ภายในร้าน ผู้ประกอบการควรศึกษาและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบถ้วนเพื่อสามารถบริการลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ไว้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ราคาค่าอุปกรณ์ ค่าตกแต่งร้านโดยประมาณ ดังต่อไปนี้ คำนวณในจำนวน 10 โต๊ะ เฉพาะอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเปิดร้านเบื้องต้นประมาณ 100,000 บาท ไม่รวมค่าสถานที่
โดยแบ่งออกเป็นอุปกรณ์ ดังนี้
- เตาแม่เหล็กไฟฟ้าแบบปรับอุณหภูมิได้
- หม้อน้ำซุปแบบ 2 ช่อง
- เครื่องสไลด์เนื้อ
- ตู้แช่สำหรับเก็บเนื้อและวัตถุดิบต่างๆ
- ชุดโต๊ะ เก้าอี้
- ถาด ถ้วย กระบวย กระชอน
- อื่นๆ
การบริหารต้นทุน
การบริหารต้นทุนมักเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการใหม่ๆ คิดไม่ถึง หลายคนมีเงินลงทุนเท่าไหร่ก็นำมาซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น โดยไม่คำนึงถึงเงินหมุนเวียนจนทำให้กิจการสะดุด เพราะฉะนั้นการบริหารเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้กิจการรุ่งดำเนินต่อไปได้ ซึ่งมีสูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้
- ต้นทุนอาหาร ควรอยู่ที่ 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
- ต้นทุนด้านแรงงาน ควรอยู่ที่ 15 – 25 เปอร์เซ็นต์
- ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ควรอยู่ที่ 15 – 20 เปอร์เซ็นต์
- ต้นทุนผันแปร ควรอยู่ที่ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์
ด้วยต้นทุนเหล่านี้ หากตั้งเป้ายอดขายที่วัน ละ 10,000 บาท
- ต้นทุนด้านอาหารควรอยู่ที่ 2,500 – 3,500 บาท
- ต้นทุนด้านแรงงาน ควรอยู่ที่ 1,500 – 2,500 บาท
- ต้นทุนคงที่ ควรอยู่ที่ 1,500 – 2,500 บาท
- ต้นทุนผันแปร ควรอยู่ที่ 1,000 – 1,500 บาท
จากค่าตัวอย่างนี้ หากนำอัตรา ‘ต่ำสุด’ มาคำนวณ จะได้ต้นทุนต่อวันที่ 6,500 บาท ได้กำไร 3,500 บาท
จากค่าตัวอย่างนี้ หากนำอัตรา ‘สูงสุด’ มาคำนวณ จะได้ต้นทุนต่อวันที่ 10,00 บาท เท่ากับไม่ได้กำไรเลย
ฉะนั้นควรบริหารต้นทุนให้ดี อย่าให้มากจนเกินไป แต่ก็อย่าลดต้นทุนจนทิ้งคุณภาพที่ดีไป
สิ่งที่ควรพิจารณาให้ดี คือเรื่องต้นทุนค่าเช่า และค่าแรงพนักงาน เพราะทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนที่คงที่ ไม่สามารถลดได้
ทั้งนี้บางคนได้ทำเลร้านที่อยู่ในเมืองและมีค่าเช่าสูง แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะขายได้เท่าไร ต่อให้ลงกลางเมืองแต่ค่าเช่าสูง การประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าทำเลห่างจากเมืองออกมานิดหน่อย แต่สามารถดึงลูกค้าให้มากินได้ อาศัยว่าค่าเช่าถูกลง ก็จะสามารถอยู่ได้ยั่งยืนกว่า
สิ่งที่จะทำให้ร้านชาบูอยู่รอดได้
จุดเด่นของร้านที่ต้องให้เด่นและแตกต่างจากคู่แข่งที่มีจำนวนมาก นั้นหมายถึงคุณภาพของวัตถุดิบ การบริการ ราคา (โดยส่วนใหญ่มักเป็นแบบบุฟเฟต์ คิดราคาต่อคนเริ่มต้นที่ประมาณ 299 บาท) และความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของร้านโดยจะออกมาในรูปแบบของ รสชาต รูปแบบร้าน การให้บริการ เป็นต้น