โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

แฟรนไชส์ต้องรู้ “Cloud Kitchen” คืออะไร นำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างไร

สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องมีการขยายสาขาเพื่อตอกย้ำถึงการเติบโตและความสำเร็จของแบรนด์ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ร้านอาหาร ที่ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น สั่งซื้ออาหารผ่านแอพพลิเคชั่น ช่องทางออนไลน์

ในแวดวงธุรกิจร้านอาหาร เรามักจะได้ยินคำว่า “Cloud Kitchen” กันอยู่บ่อยครั้ง และถือว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่แปลว่า ครัวที่ใช้ร่วมกัน โดยมีสตาร์ทอัพสัญชาติอินเดียรายหนึ่งได้ใช้โมเดลธุรกิจนี้และถือเป็นครัวอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่สุดในโลก มีมูลค่าประเมินกว่า 1.61 หมื่นล้านบาท

ข้อมูลจาก สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ ได้ระบุคำว่า “Cloud Kitchen” คือ โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่รวบรวมร้านอาหารหลายร้านเข้ามาไว้ในครัวกลางบนแอพพลิเคชั่น ทำให้การขยายสาขาสำหรับเจ้าของร้านอาหารจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
โดย Cloud Kitchen เป็นร้านอาหารแบบ Shared-Kitchen มีพื้นที่ครัวพร้อมอุปกรณ์ทำครัวให้เช่าสำหรับร้านอาหารต่างๆ ช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่อยากมีร้านอาหารของตัวเองแต่ไม่มีหน้าร้านได้ ปัจจุบันมีอยู่ในหลายประเทศแล้ว เช่น Keatz ของประเทศเยอรมนี , Rebels Food ในอินเดีย และ Grab Kitchen ที่ประเทศอินโดนีเซีย

โมเดลธุรกิจนี้ขยายเข้าสู่ประเทศไทย เนื่องจากเราเองก็เป็นตลาดอาหารที่ค่อนข้างใหญ่ รวมถึงปัญหาปัจจุบันของร้านอาหาร “การสเกล” แม้ว่าหลายร้านต้นฉบับจะขายดีขนาดไหน แต่อุปสรรคสำคัญ คือ การขยายร้านไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยหลายคนไม่กล้าลงทุนเปิดสาขาใหม่ เพราะไม่แน่ใจว่าพื้นที่นั้นจะขายได้หรือไม่ กว่าจะได้หน้าร้าน 1 แห่ง ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนที่สูงมาก ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ ครัว ค่าเช่าสถานที่ในทำเลดี โดยทุกอย่างเป็นต้นทุนที่แพงกว่าการเช่าอย่าง Cloud Kitchen แน่นอน ดังนั้น จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์สำหรับเจ้าของร้านอาหารด้วยเม็ดเงินลงทุนที่น้อยลง แต่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับ Cloud kitchen เจ้าแรกที่จะมาเปิดในไทย คือ Grab Kitchen ของ “Grab Food” ประเดิมที่แรกที่ ตลาดสามย่าน แถมยังช่วยแก้ปัญหาการส่งอาหาร Delivery ได้เป็นอย่างดี โดยให้บริการในรัศมี 5 กิโลเมตรเท่านั้น ใกล้ชิดผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

ในเมื่อมีครัวและศูนย์กระจายอาหารใกล้ๆ ลูกค้าก็จะมีตัวเลือกในการสั่งอาหารมากขึ้น โดยสามารถสั่งจากร้านอาหารที่อยู่ไกลออกไปได้และได้รับอาหารเร็วขึ้น ผู้บริโภคให้ได้ทานอาหารร้านอร่อยในราคาค่าจัดส่งที่ถูกลง และไม่ต้องขับรถไปไกล แค่นั่งรอที่บ้านก็ได้ทานแล้ว นับว่าได้ประโยชน์กันทั้งร้านอาหารและผู้บริโภคเลยทีเดียว
แต่โจทย์ของร้านอาหารที่เลือกเช่าพื้นที่บน Cloud Kitchen สิ่งสำคัญคือ “การรักษามาตรฐานอาหาร” ว่าจะสามารถรักษาเอกลักษณ์ของอาหารแบบร้านต้นฉบับได้ดีขนาดไหน เราคงต้องจับตาดูต่อไปว่ารูปแบบธุรกิจ Shared-kitchen ในประเทศไทยจะเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

ขอขอบคุณที่มาจาก : สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์