โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ร้านอาหารขนาดเล็ก รู้ไว้! รวมขั้นตอนนำร้านเข้าสู่ระบบ Delivery สร้างยอดขายในช่วงวิกฤต

สำหรับร้านอาหารขนาดเล็ก ที่ต้องการยอดขายเพิ่มในช่วงวิกฤต และต้องการนำร้านเข้าสู่ระบบ Delivery ชี้ช่องรวย ขอมาบอกต่อวิธีการขั้นตอนการนำร้านของคุณเข้าระบบของแอปฯ บริการส่งอาหารพร้อมรายละเอียดต่างๆ มาให้เลือก ชอบแบรนด์ไหนเลือกแบรนด์นั้นได้เลยนะคะ

1.GRAB FOOD

-ลงทะเบียนการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ร้านอาหารผ่านเว็บไซต์ https://www.grab.com/th/merchant/food/

-รับเอกสารสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอีเมลล์ (ได้ภายในวันศุกร์ หากลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เข้ามาวันศุกร์ คุณได้รับเอกสารสัญญาในวันศุกร์ถัดไป)

-ลงนามเอกสารสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ภายในวันอาทิตย์ก่อนเที่ยง เรียนรู้วิธีการเปิดระบบพาร์ทเนอร์ร้านค้าด้วยตนเองในวันศุกร์ผ่าน SMS

-เพิ่มเมนู รูปภาพ และราคาก่อนเปิดสถานะร้านค้า ศึกษาขั้นตอนการเปิดระบบพาร์ทเนอร์ร้านค้าด้วยตนเองจาก SMS ดาวน์โหลดแอปร้านค้า เพิ่มเมนู รูปภาพ และราคา จากนั้นเปิดสถานะร้านค้าเพื่อรับออเดอร์ได้เลย

ข้อควรรู้

-คิดค่าบริการเป็นรายเดือน คิดเป็นค่าคอมมิชชั่น 30% จากยอดขายผ่าน Grab Food

-บางร้านราคาหน้าร้านกับราคาใน App ไม่ตรงกัน

2. LINE MAN

-ดาวน์โหลด Wongnai Merchant App (RMS)

-กรอกข้อมูลร้านของคุณลงบน Wongnai Merchant App (RMS) เปิดแอปพลิเคชั่น ขึ้นมา แล้วกด “ลงทะเบียนร้าน” (Sign up) ระบบจะพาไปหน้าลงทะเบียนร้านเดลิเวอรี่

-เพิ่มข้อมูลร้านให้ครบถ้วน พิมพ์ชื่อร้านของคุณในกล่องกรอกชื่อร้าน แล้วกดลงทะเบียน หากไม่พบ กด “คลิกที่นี่ เพื่อใส่ข้อมูลเอง” จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและเลือกความสนใจ

-รอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตน หลังจากลงทะเบียนแล้ว ทางร้านจะได้รับรหัส OTP และคู่มือการใช้งานแอปพลิเคชัน ผ่านทาง SMS กรอกรหัส OTP ลงไปในแอปฯ จากนั้นกรอกข้อมูลร้านและเมนูที่ขายตามคู่มือที่ได้รับ เริ่มบริการได้ทันที

ข้อควรรู้

-ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครและการให้บริการ

-ร้านค้าไม่ถูกหักเปอร์เซ็นต์ใดๆ จาก Line Man

-หากเข้าร่วมโครงการค่าส่ง 10 บาท เก็บค่าคอมมิชชั่น 25-30%

3. GET

-เข้าเว็บไซต์ https://www.getthailand.com/merchant/ แล้วคลิก “ลงทะเบียนเป็นร้านค้าพาร์ทเนอร์”

-กรอกรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ วัน เวลา เปิด ปิด ร้าน และอัพโหลดเมนูของร้านเข้าสู่ระบบการพิจารณา

-รับเอกสารผ่านทางออนไลน์

-ร้านอาหารออนไลน์บน Get Food พร้อม

ข้อควรรู้

-มีค่าคอมมิชชั่น 30% (โดยยังไม่คิดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

-ร้านค้าจะต้องติดตั้งแอปฯ GoBiz เพื่อรับออเดอร์และตรวจสอบยอดขาย

4. Foodpanda

-ลงทะเบียนออนไลน์และกรอกรายละเอียดที่เว็บไซต์ https://www.restaurant.foodpanda.co.th/th

-รอการอนุมัติร้านอาหาร

-ได้รับหนังสือสัญญาจาก foodpanda ร้านอาหารอ่านหนังสือสัญญาและตกลงเซ็นสัญญา

-ตรวจสอบเมนูอาหาร

-ร้านอาหารได้รับแท็บเล็ตจากทาง foodpanda แนะนำการใช้งานแท็บเล็ต

-ร้านอาหารออนไลน์บน foodpanda พร้อมให้บริการได้เลย

ข้อควรรู้

-เก็บค่าคอมมิชชั่น 35% จากมูลค่าออเดอร์ทั้งหมดที่สั่งผ่าน foodpanda ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีออเดอร์มูลค่า 100 บาท โดยยังไม่หักภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้านค้าจะต้องจ่ายส่วนแบ่งให้ทาง Foodpanda 35% หรือเท่ากับ 35 บาท ขณะที่ร้านค้าจะถูกหักภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในตัวอย่างนี้จะถูกหัก 2.45 บาท ทำให้รายได้สุทธิ (Net Income) ที่ร้านค้าได้รับอยู่ที่ 62.55 บาท

-ได้รับแท็บแล็ตสำหรับ foodpanda

-บริการกระจายตามจังหวัดทั่วประเทศต่างๆ

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการ Food Delivery ทั้ง 4 เจ้ามีค่าบริการและรูปแบบที่แตกต่างกัน ร้านอาหารแต่ละร้านสามารถเลือกใช้บริการได้มากกว่า 1 เจ้า ร้านควรเลือกโดยคำนึงถึงยอดขายและจำนวนออเดอร์ของร้าน เพราะในช่วงวิกฤตโควิด-19 การเพิ่มช่องทางการขายที่เหมาะสมก็เป็นทางออกสำหรับร้านอาหารในช่วงนี้

ขอขอบคุณที่มาจาก : Thumbsup