สำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจแฟรนไชส์ หรือที่เรียกว่า มือใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทีมที่ปรึกษามาคอยชี้แนะแนวทางในการดำเนินกิจการของตัวเองให้ประสบความสำเร็จ หลายคนสงสัยว่าทำไมจะต้องมีทีมที่ปรึกษา ในเมื่อระบบการบริหารจัดการในรูปแบบนี้ถูกวางไว้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกันอยู่แล้ว การดูแลจึงไม่น่าจะยาก วันนี้ ชี้ช่องรวย มีคำตอบค่ะ
สำหรับเหตุผลที่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษามาจากปัจจัยหลักๆ ดังนี้
1.แบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จัก
เพราะคุณยังถือว่าเป็นน้องใหม่ในวงการ หรือยังเป็นมือใหม่สำหรับธุรกิจนี้ การจ้างที่ปรึกษาที่จะช่วยในเรื่องของการสร้างแบรนด์ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องสร้างการรับรู้หากอยากให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จัก
2.ไม่คุ้นเคยกับระบบแฟรนไชส์
แม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะถูกออกแบบอย่างมีมาตรฐานเดียวกัน แต่เนื่องจากคุณยังเป็นมือใหม่ที่ยังไม่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจนี้ หรือแม้ว่าคุณจะทำการศึกษามาเป็นอย่างดี แต่ถ้าพูดถึงประสบการณ์ก็ถือว่าคุณยังมีน้อยนัก การมีที่ปรึกษาที่ดีจะช่วยให้คุณมั่นใจที่จะก้าวมากขึ้นค่ะ
3.ขาดทีมงานที่เข้าใจระบบแฟรนไชส์
และแม้ว่าคุณจะมีความเข้าใจกับธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอย่างดี แต่ทีมงานของคุณยังมีความรู้เรื่องนี้ไม่ดีพอมากนัก ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะล้มๆไม่เป็นท่าได้ เพราะคุณไม่สามารถที่จะบริหารงานได้เพียงลำพัง หากขาดทีมงานที่มีความรู้และชำนาญการอย่างดี การมีที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เข้ามาให้ความรู้และปรับทัศนคติของทีมงานให้คิดมุ่งไปในทางเดียวกันจะช่วยคุณได่มากทีเดียวค่ะ
4.ระบบแฟรนไชส์ต้องมีการออกแบบทั้งกลยุทธ์และระบบปฏิบัติงาน
การทำงานของทีมที่ปรึกษา มิใช่เพียงงานเอกสาร แต่มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ สองประการ คือ งานกลยุทธ์ ที่ประกอบด้วยข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ การออกแบบธุรกิจ เพื่อให้แผนงานและนโยบายในการปฏิบัติการมีความถูกต้อง แม่นยำ ระบบจึงถูกคิดด้วยกลยุทธ์ และตรวจสอบด้วยตัวเลขทางการเงินและการคาดการณ์ผลลัพธ์ในทุกทางที่เป็นไปได้
5.ต้องวางระบบงานแฟรนไชส์ ผ่านความสำเร็จ 3 ขั้น
ความสำเร็จขั้นที่ 1 คือ การทดลองขยายแฟรนไชส์ เพื่อหานักลงทุนเข้ามาสู่ธุรกิจ
ความสำเร็จขั้นที่ 2 คือ การบริหารจัดการสาขาที่เปิดใหม่ ให้มีความสำเร็จ เกิดรายได้ เกิดกำไร เป็นที่พึงพอใจของนักลงทุน และ
ความสำเร็จขั้นที่ 3 คือ การบริหารความสัมพันธ์ให้สาขาแฟรนไชส์ ทำกำไรให้กับบริษัทฯ ต่อเนื่อง เกิดรายได้ในเชิงส่วนแบ่งยอดขายเข้าสู่บริษัทยั่งยืน มีกระบวนการจัดการสื่อสารและกระตุ้นการทำงานของสาขา
ความต่อเนื่องของความสำเร็จจะเป็นการบริหารให้เกิดปัญหาน้อย และผลลัพธ์ความสำเร็จมาก ต้องอาศัยความมุ่งมั่นทุ่มเทของผู้บริหาร พนักงาน และที่ปรึกษาร่วมกัน โดยมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมการทำงานให้สะดวกยิ่งขึ้น