โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ไขข้อข้องใจ ทำไม! ขายดี แต่ธุรกิจไปไม่รอด

เป็นเรื่องที่น่าปวดใจไม่น้อย หากเจ้าของกิจการอย่างคุณต้องมาประสบกับปัญหาขายดีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือ เจ๊ง นั่นเอง ยิ่งในปัจจุบันนักธุรกิจรุ่นใหม่ หรือมือใหม่มักจะประสบปัญหานี้ ชี้ช่องรวย มีคำตอบมาให้เพื่อจะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้ธุรกิจของคุณขายดีมีกำไร ยอดขายเติบโตจนสามารถขยายไปได้หลายสาขาเลยทีเดียว ดังนี้

1.ขายดีแต่ไม่มีกำไร

สำหรับนักธุรกิจมือใหม่จะพบปัญหานี้กันเยอะ ว่าทำไมยิ่งขายดียิ่งจน หลายคนทำธุรกิจแล้วอาจจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไมยิ่งขายก็ยิ่งจน นั่นเป็นเพราะคุณมักจะคิดแค่ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าจนลืมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการ ตัวอย่างเช่น นักธุรกิจบางคนอาจจะคำนวณว่า หากเขาขายของที่ลูกค้าสั่งทำทั้งหมด จะได้กำไร 2,000 บาท แต่เขาอาจจะลืมไปว่ามันยังมีต้นทุนส่วนอื่นๆ อีกเช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน ค่าแรงตัวเอง และค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางนั้นก็เป็นต้นทุนเช่นกัน ไปๆ มาๆ ต้นทุนอื่นๆ คำนวณออกมาที่ 3,000 บาท แบบนี้ต่อให้ขายดีแค่ไหน ก็ไม่มีกำไรแน่ๆ
ฉะนั้น คุณควรสนใจรายละเอียดของต้นทุนทุกอย่างที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนและนำมาพิจารณาว่าควรจะขายสินค้าอย่างไรให้ได้กำไร

2. รวยดีแต่ไม่มีเงินหมุนเวียน

สำหรับบางร้านมีลูกค้าสั่งซื้อหรือใช้บริการแทบทุกวัน แต่เมื่อมองดูเงินสดในกิจการแล้วกลับไม่พบเงินในกระเป๋าอย่างที่คิด อาจจะเป็นเพราะว่ามีการทำธุรกิจโดยให้มีเครดิตเทอมที่ยาวนาน และลืมไปว่าตัวเองก็มีหน้าที่จะต้องนำเงินไปชำระรายจ่ายเรื่องอื่นๆ เช่น ผู้ผลิตที่เราสั่งสินค้ามาขาย ค่าแรงคนงาน เงินเดือนลูกน้อง ค่าเช่าสถานที่ ฯลฯ หากขายของแล้วเก็บเงินไม่ได้ซักที แถมยังมีรายจ่ายอยู่เรื่อยๆ ก็เท่ากับว่าเราไม่สามารถหมุนเงินให้เกิดประโยชน์ได้ และเมื่อใดที่เงินสดที่มีอยู่นั้นหมดไป กลายเป็นว่าอาจต้องพึ่งพาเงินกู้จากที่ต่างๆ จนทำให้ยิ่งทำธุรกิจเรายิ่งจนลง เพราะดอกเบี้ยจากการยืมเงินมาหมุนในกิจการ แถมเป็นการสร้างผลกำไรให้กับเจ้าหนี้แทนอีกต่างหาก

3.ไม่แยกเงินส่วนตัวและเงินธุรกิจ

สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ที่เพิ่งเปิดบริษัท อาจแยกไม่ออกในเรื่องเงินบริษัทและเงินส่วนตัว เมื่อขายของได้ก็นำเงินไปจับจ่ายใช้สอย เพราะคิดว่าได้เงินได้กำไรมาแล้วเอาไปสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ทั้งหมด แต่กลายเป็นว่านำเงินบริษัทไปซื้อของ เที่ยวต่างประเทศ จ่ายค่าเทอมลูก และพอถึงจุดๆ หนึ่ง ก็จะพบว่าเงินทุนในกิจการนั้นหายไป และอาจจะโชคร้ายกว่านั้นเมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นของบริษัท และไม่สามารถแจ้งที่มาที่ไปของเงินบริษัทที่หายไปได้

การทำธุรกิจควรจะแยกกระเป๋าเงินของกิจการออกจากเงินส่วนตัวของเรา ธุรกิจมีรายรับรายจ่ายอะไรก็ควรบันทึกเอาไว้ว่าปัจจุบันมีเงินเหลือเท่าไหร่ และควรนำเงินไปทำอะไรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของธุรกิจ ในส่วนของเงินส่วนตัวนั้นเราจะได้มาในฐานะลูกจ้างของกิจการ เช่น ค่าจ้างหรือเงินเดือน ควรแยกทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อวางแผนสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ให้ใช้จ่ายตามที่มี เหลือจากเก็บออมก็นำไปลงทุนต่อเพื่อให้บรรลุความสำเร็จทางการเงินส่วนตัว