โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

รู้ไหม ทำไม! “แฟรนไชส์มือใหม่” ต้องทำ “Operation Manual” เพื่อให้กิจการไปต่อได้ไม่สะดุด

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมผู้ที่ลงทุนซื้อแฟรนไชส์บางรายประสบความสำเร็จ กับอีกบางรายกลับไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุเพราะอะไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เป็นอย่างนั้น

จากการสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์ ทำให้ ชี้ช่องรวย พอจะจับจุดได้ว่า หนหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ คือ การทำ “Operation Manual” หรือ “คู่มือแฟรนไชส์” นั่นเอง

หลายคนคงสงสัยว่า “คู่มือแฟรนไชส์” คืออะไร และการทำ “Operation Manual” ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง วันนี้ ชี้ช่องรวย จะมาแถลงไขให้เข้าใจค่ะ

คู่มือแฟรนไชส์ ถือเป็นโปรแกรมการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์ เป็นทรัพย์สินหรือลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ รวมถึงเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ของระบบแฟรนไชส์ ในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ เรียกได้ว่า คู่มือแฟรนไชส์ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบแฟรนไชส์ ที่เกิดจากการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้ ซึ่งธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ต้องมีเก็บเอาไว้

โดยองค์ประกอบและแนวทางการเขียนคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน และเป็นที่ต้องการของแฟรนไซส์ซี จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

1.มีวัตถุประสงค์การใช้งานชัดเจน

ผู้ที่ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องมีวัตถุประสงค์ของคู่มือแฟรนไชส์ชัดเจน เพื่อนำไปใช้อะไรบ้าง โดยคู่มือแฟรนไชส์จะแสดงถึงภาพพจน์ของระบบแฟรนไชส์ และยังถูกใช้สำหรับถ่ายทอดความรู้ เอกสารอ้างอิง การอบรมระบบแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี คู่มือแฟรนไชส์จะเป็นเครื่องมือควบคุมระบบ มาตรฐาน วิธีการปฏิบัติงานของแฟรนไชส์ รวมถึงใช้เป็นส่วนต่อขยายความชัดเจน การควบคุม เงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งในคู่มือจะต้องระบุเงื่อนไขสัญญาให้มีความละเอียดชัดเจนถูกต้อง

2.เนื้อหาสาระ

เนื้อหาสาระในคู่มือแฟรนไชส์ ต้องระบุถึงภาพธุรกิจทั่วให้ผู้อ่านเข้าใจ ได้รับรู้สาเหตุที่มาของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการทำธุรกิจ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ในการทำธุรกิจ มาตรฐานระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ประวัติของธุรกิจ โครงสร้างองค์กร ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายธุรกิจแฟรนไชส์ เนื้อหาสาระยังต้องมีองค์ประกอบส่วนหลัก เพื่อถ่ายทอดถึงระบบปฏิบัติการต่างๆ การทำงานประจำวัน การผลิต รูปแบบการขาย การให้บริการลูกค้า ระบบการขนส่งสินค้า การจัดเก็บและสต็อกสินค้า การจัดเก็บเงิน นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาส่วนเสริม ระบุเกี่ยวกับระบบการบริหารง่านส่วนต่าง เช่น การตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น บุคลากร พนักงาน การแต่งกาย การเงิน การบัญชี เป็นต้น

3.รูปแบบการนำเสนอ

ปัจจุบันรูปแบบนำเสนอมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่ว่าผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์จะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง อ่านแล้วไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่าย เชิญชวนให้อ่าน รูปแบบการนำเสนอของคู่มือแฟรนไชส์ในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้ เช่น แบบเอกสารคู่มือทั่วไป แบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบ ภาพเคลื่อนไหว เสียง คลิป นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอแบบ สามารถโต้ตอบ แสดงความคิดกลับไปได้ อีกทั้งนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เว็บไซต์ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ควบคุม แก้ไข และส่งถึงกันได้โดยง่าย โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซีที่อยู่ไกล

ปัจจุบันช่องทางสังคมออนไลน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอคู่มือแฟรนไชส์ ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ รวมถึงเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ที่ได้พัฒนาตามหลังมาเรื่อยๆในอนาคตก็นำมาใช้ในการทำงานร่วมกันได้ การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน มีการใส่องค์ประกอบที่ครบถ้วน มีความสมบูรณ์แบบ จะมีส่วนช่วยให้คุณสามารถควบคุมระบบมาตรฐานแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีได้อ่านแล้ว เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ราบรื่น ก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

ลักษณะของคู่มือแฟรนไชส์ที่ดีและไม่ดี

คู่มือแฟรนไชส์ที่ดี

1.วิธีการเขียนและนำเสนออ่านง่าย ไม่ซับซ้อน

2.สร้างจากต้นแบบที่ดี

3.มีการทดลองใช้งานมาแล้ว ผ่านการตรวจสอบและทดสอบจนได้ผลสำเร็จ

4.มีความสมบูรณ์มากที่สุด มีการจัดแยกหมวดหมู่ของเรื่องได้ดี เพื่อง่ายในการค้นหา

5.มีการปรับปรุงข้อมูลให้ใหม่เสมอ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่

6.มีการยกตัวอย่างประกอบเปรียบเทียบวิธีการทำงานที่ถูก และผิด

7.มีแบบฟอร์มควบคุมการทำงานเป็นระบบชัดเจน

8.ได้นำไปใช้อบรมจริง

9.มีการตรวจสอบผลการปฏิบัติจากคู่มือและประเมินผลสำเร็จ

คู่มือแฟรนไชส์ที่ไม่ดี

1.ใช้ภาษาที่ยาก ภาษาเฉพาะทางมากเกิดไป

2.อธิบายสับสน วกไปวนมา เข้าใจยาก

3.ไม่มีการแยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน

4.มีจำนวนหน้าน้อยเกินไปต่ำกว่า 10 หน้า

5.ไม่จัดรูปแบบหน้ากระดาษให้ดี

6.ขาดรูปประกอบ ตาราง กราฟ แผนภูมิ เป็นต้น

7.ไม่มีการเขียนอธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน

8.ไม่มีตัวอย่างประกอบ เช่น กรณีศึกษา ตัวอย่าง

9.ไม่เคยนำเอาไปทดลองใช้งานมาก่อน

10.ไม่ได้การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย

11.ไม่เคยได้นำใช้อบรมจริง

12.ขาดการตรวจสอบหลังใช้คู่มือ รวมไปถึงการติดตาม และประเมินผลการใช้งานคู่มือ

สำหรับแฟรนไชส์มือใหม่ ผู้ประกอบการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ร้านขนมปัง ที่ต้องการวางโครงสร้างผังองค์กรเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือสู่การเป็นองค์กรที่ระบบการทำงานอย่างมืออาชีพ แต่ยังขาดความรู้และประสบการณ์ โดยเฉพาะเรื่องการวาง “Operation Manual” ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ ชี้ช่องรวย ขอแนะนำหลักสูตร Chain Store Management & Franchise System โดย ดร. วิชัย เจริญธรรมานนท์ กูรูด้านการขยายสาขาแฟรนไชส์ร้านอาหารกว่า 30 ปี

โดยคลาสเรียนนี้จะอัดแน่น ติวเข้ม แบบเจาะลึกที่ไม่เน้นรับคนเรียนจำนวนเยอะไป เรียนจบแล้วสามารถปรึกษานอกรอบได้ เสมือนมีที่ปรึกษาทางธุรกิจส่วนตัว พร้อมช่วยแก้ไขทุกปัญหาเมื่อเจอวิกฤติที่ไม่คาดคิด โดยเปิดสอนแล้วในรุ่นที่ 2 หลังจากที่รุ่นที่ 1 มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้ามาเรียนและนำความรู้ที่ได้รับกลับไปพัฒนาองค์กรหรือห้างร้านของตัวเอง

โดยในรอบนี้ จะรับเพียง 10 ที่นั่งสุดท้ายเท่านั้น สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 094-915-4624

สถานที่เรียน : สตูดิโอสถานีโทรทัศน์สมาร์ทเอสเอ็มอี ลำลูกกา ปทุมธานี

เริ่มเรียนในวันที่ 7 กันยายน 2563 นี้