ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

มนุษย์เงินเดือนรู้ไว้! เงินเกษียณอายุ ประกันสังคม กรณีชราภาพ มีกี่แบบ และมีวิธีรับเงินอย่างไร


ตามที่เรารู้ๆ กันดีว่า เงินที่พนักงานเอกชน หรือมนุษย์เงินเดือน ที่ทำประกันสังคมตามมาตรา 33 จะถูกหักเงินเข้าไปสมทบประกันสังคม โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ประกันว่างงาน และสุดท้ายคือ เงินชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน ก็จะถูกหักเงินเข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท ทันที

ประกันสังคม กรณีชราภาพ รับเงินได้กี่แบบ

เงินออมชราภาพที่ได้รับนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ “เงินบำเหน็จ” ที่จ่ายเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว กับ “เงินบำนาญ” ที่จะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยเราไม่สามารถเลือกเองได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ แต่จะขึ้นอยู่ระยะเวลาส่งเงิ

สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไข คือ

1.บำเหน็จชราภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

-จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบเท่านั้น

-จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบ บวกกับเงินที่นายจ้างสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนที่ประกันสังคมกำหนด

– กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

2.บำนาญชราภาพ : จ่ายสมทบมากกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ได้

เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือส่งติดต่อกัน 15 ปีก็ตาม จะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท)

แต่ถ้ามีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้บำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี เช่น จ่ายเงินสมทบ 35 ปี ก็จะได้รับบำนาญเป็น 20% + (1.5% x 20 ปี) เท่ากับ 50%

จะได้รับเมื่อไร?

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ

-จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

-มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

– ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ

-จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

-ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

-มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ

-แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย

-สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย

-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

-สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบริดามารดา (ถ้ามี)

-สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร

-หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

กรณีบำนาญชราภาพ

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ

-สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้

1.ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

2.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)

3.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)

4.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

5.ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)

6.ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)

7.ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

9.ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)

10.ธนาคารออมสิน

11.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

-ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

-เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา

-สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

-พิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน

ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่าง การทำงานมากมายแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง อุ่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม