ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

ขั้นตอนการ “นำเข้าสินค้า” จากต่างประเทศมาขายต้องทำอย่างไร ?


เสน่ห์เฉพาะตัวของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศคือคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกับของประเทศไทยเรา ความแตกต่างนี้จึงเป็นจุดสนใจเติมเต็มความต้องการของลูกค้าได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่หลายคนอาจจะกลัวกับการต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แต่จริงๆ แล้ว วิธีการต่างๆ ไม่ได้ยากอย่างที่ทุกคนคิด ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ทุกคนก็สามารถนำเข้าสินค้ากันได้อย่างง่ายๆ เลย

ธุรกิจนำเข้าสินค้าเป็นอย่างไร

ส่วนใหญ่สินค้าที่นำเข้ามาจะเน้นเป็นสินค้าที่มีต้นทุนถูก เพราะฉะนั้นสินค้าส่วนใหญ่จึงหนีไม่พ้นสินค้าจากแดนมังกร (ประเทศจีน) ขนส่งผ่านกันมาทางเรือ ทางเครื่องบิน มักจะสั่งตรงมาจากโรงงานเลยเพราะต้นทุนของสินค้าจะถูกลงกว่าตลาดทั่วไป
เอกสารสำคัญประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1. ใบขนสินค้าขาเข้า
  2. ใบตราส่งสินค้า
  3. บัญชีราคาสินค้า
  4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ
  5. ใบอนุญาต หรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
  6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)
  7. เอกสารอื่นๆ เช่น แค็ตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น

ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าเขาทำกันอย่างไร?

ขั้นตอนที่หนึ่ง ยื่นข้อมูลใบขนสินค้า

หลังจากที่พ่อค้าแม่ค้าเตรียมเอกสารข้างต้นกันครบหมดแล้ว ต้องนำข้อมูลทั้งหมดมากรอกลงในระบบ Service counter เพื่อแปลงข้อมูลของสินค้าเข้าสู่ระบบของกรมศุลกากร

เมื่อขั้นตอนขั้นสู่กรมศุลกากรแล้ว ก็จะต้องตรวจความเรียบร้อยกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูว่า ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้านั้นมีความถูกต้องหรือไม่ ถ้าหากว่ามีข้อผิดพลาดก็จะต้องถูกส่งกลับมาแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง เมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกต้องแล้วก็จะได้ เลขที่ขนสินค้าเข้า มาครอบครอง

ขั้นตอนที่สอง การตรวจสอบพิสูจน์ข้อมูลอย่างละเอียด

ขั้นตอนนี้สินค้าจะถูกสำรวจอย่างละเอียดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ของกรมศุลกากร โดยขั้นนี้สินค้าจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน

  1. ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) ซึ่งถ้าสินค้าอยู่ในประเภทนี้ พ่อค้าแม่ค้าสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้า ไปชำระภาษีอากร และวางประกันที่เกี่ยวข้อง ที่กรมศุลกากรได้เลย
  2. ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) ในส่วนของใบขนสินค้าประเภทนี้ พ่อค้าแม่ค้าต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่านที่นำเข้าสินค้านั้นๆ ก่อนจนกลายเป็นสินค้าแบบ Green Line

ขั้นตอนที่สาม การตรวจและการปล่อยสินค้า

เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจสอบ และจ่ายเงินค่าภาษีอากรเรียบร้อย ทุกอย่างจะถูกส่งต่อไปที่ท่าเรือ โดยข้อมูลของสินค้าก็จะต้องถูกตรวจสอบอีกครั้ง บางรายอาจจะต้องโดนเปิดสินค้าเพื่อตรวจสอบอีกรอบก็ได้