โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

Franchise & Chain store ต่างกันอย่างไร ความสำคัญแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหน

ในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็ตาม เมื่อถึงจุดหนึ่งที่จะต้องต่อยอดเพื่อขยายกิจการ ซึ่งรูปแบบการขยายธุรกิจหรือกิจการก็จะมีหลากหลายต่างกันไป แต่จะมีอยู่ 2 รูปแบบ ที่คนส่วนใหญ่นิยมกันมากนั่นก็คือ การขยายในรูปแบบ Franchise และ Chain store ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่า 2 รูปแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ชี้ช่องรวย รวบรวมรายละเอียดมาให้ได้ศึกษากัน ดังนี้

การขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นหนึ่งทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่อยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ซึ่งแฟรนไชส์ หมายถึง สิทธิพิเศษหรือสิ่งที่บริษัทมอบให้กับผู้ที่เข้าร่วมธุรกิจครอบคลุมเกือบทุกขั้นตอนทุกระบบ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมธุรกิจสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้ โดยไม่ต้องมีความรู้หรือมีประสบการณ์มาก่อน ในลักษณะการถ่ายทอดรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการขาย การบริหาร การผลิต การตลาด เป็นต้น แต่สิ่งสำคัญ คือ การสร้างมาตรฐานหรือควบคุมคุณภาพให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันให้ได้

ธุรกิจแฟรนไชส์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.Product and Brand Franchising

ลักษณะแฟรนไชส์ระบบนี้มีลักษณะ คือ การที่ผู้ผลิตสินค้าให้สิทธิบุคคลอื่นในการขยายสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยแฟรนไชส์ เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตด้วย

2.Business Format Franchising

ธุรกิจแฟรนไชส์ลักษณะนี้เป็นการให้สิทธิบุคคลอื่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ และสิ่งสำคัญที่ต่างจากประเภทแรก คือการใช้ระบบการดำเนินธุรกิจที่พิสูจน์แล้วของแฟรนไชส์ซอร์
เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต เพื่อขายสินค้าหรือบริการ โดยมีการถ่ายทอดวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน

3.Conversion Franchising

เป็นระบบแฟรนไชส์ที่พัฒนามาจากแฟรนไชส์ประเภท Business Format โดยการออกแบบระบบเพื่อเปลี่ยนร้านค้าอิสระที่มีอยู่ในระบบนั้น ๆ ให้เข้ามาร่วมในระบบแฟรนไชส์เพื่อได้ประโยชน์ร่วมกันทางการค้าและทำโฆษณาร่วมกันในระดับประเทศ และเป็นระบบแฟรนไชน์ที่ให้สิทธิเพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ซอร์ รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตได้เปลี่ยนธุรกิจที่มีอยู่เดิม ให้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบใหม่

การลงทุนแฟรนไชส์มีกี่รูปแบบ อย่างไรบ้าง

แฟรนไชส์มีลักษณะของการลงทุนหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1.จะต้องมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่ายก็คือ แฟรนไชส์ซอร์ และ แฟรนไชส์ซี ซึ่งมีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญาจะต้องมีเครื่องหมายการค้าหรือบริการ

2.มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือ สูตรที่คิดค้นขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน

3.ต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่างคือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า Franchise Fee และค่าตอบแทนผลดำเนินการ Royalty Fee
ปัจจัยแห่งความสำเร็จใน การลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์ นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแฟรนไชส์หรือ แบรนด์สินค้านั้นเพียงอย่างเดียว ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นเช่น กลุ่มลูกค้า ทำเลที่เหมาะกับการลงทุน ขนาดของธุรกิจ งบประมาณ และ รูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เลือกลงทุน

ดังนั้น การลงทุนทำ ธุรกิจแฟรนไชส์ จึงต้องศึกษาในรายละเอียดให้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ มีระบบขั้นตอนการทำงานในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการลงทุนทำแฟรนไชส์ได้อย่างประสบความสำเร็จ

การขยายธุรกิจในรูปแบบ Chain Store

หรือจะเรียกว่าเป็นการค้าปลีกที่มีการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย (Final Consumers) โดยมี "ร้านค้าปลีก" เป็นองค์กรสำคัญ รูปแบบการค้าปลีก แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การค้าปลีกที่ต้องอาศัยหน้าร้าน (Store Retailing) และที่ไม่ต้องอาศัยหน้าร้าน (Non-store Retailing)

ประเภทของร้านค้าปลีก

ธุรกิจร้านค้าปลีกในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากรูปแบบร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) จากร้านค้าปลีกขนาดเล็กเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ จากร้านค้าปลีกร้านเดียว เป็นร้านค้าปลีกเครือข่าย (Chain Store Retailing) และจากร้านค้าปลีกที่เป็นของคนไทยบริหารโดยคนไทยเป็นร้านค้าปลีกที่มีเจ้าของและผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติเกือบทั้งสิ้น ถ้าแบ่งประเภทร้านค้าปลีกที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันจะพบร้านค้าปลีกหลายประเภททั้งแบบดั้งเดิมและแบบทันสมัย แบ่งเป็น

1.Small Retailer (ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก) หรือเรียกกันติดปากว่า "ร้านโชห่วย" เป็นรูปแบบร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่บริหารงานโดยเจ้าของคนเดียว ใช้พื้นที่น้อย ขายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ไม่มีการพัฒนารูปแบบการจัดการ จัดหาสินค้ามาโดยการซื้อจากหน่วยรถเงินสดหรือจากร้านค้าส่ง ถึงแม้ความนิยมของผู้บริโภคต่อร้านค้าประเภทนี้จะลดน้อยลง แต่ก็ยังปรากฏมีร้านค้ากระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศอีกเป็นจำนวนมาก

2.Specialty Store (ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง) เป็นร้านค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น ร้านดอกไม้ ร้านเครื่องเขียน ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ร้านขายปืน ร้านขายอุปกรณ์กีฬา ร้านค้าเหล่านี้พยายามพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยขึ้นเพื่อแข่งขันกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้ แต่ด้วยข้อจำกัดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปซื้อสินค้าในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ทำให้ปริมาณลดน้อยลงไปเช่นกัน

3.Department Store (ห้างสรรพสินค้า) เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ตกแต่งหรูหราให้บริการครบครันขายสินค้าครบทุกประเภทโดยจัดแบ่งเป็นแผนกและหมวดหมู่ของสินค้าอย่างชัดเจน ทำให้ลูกค้าสนุกสนานและเพลินเพลินในการซื้อสินค้าในลักษณะ One-Stop Shopping นอกจากนี้ในบริเวณศูนย์การค้าขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้ายังมีสิ่งอำนวยความสะดวก และกิจกรรมมากมายที่จะสามารถทำให้สมาชิกทั้งครอบครัวสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจรจึงเป็นประเภทร้านค้าปลีกที่ได้รับความนิยมจากคนไทยยุคหนึ่งเป็นอย่างสูง มีการขยายสาขาออกไปเป็นจำนวนมาก เช่น ห้างเซ็นทรัล โรบินสัน เดอะมอลล์

4.Supermarket (ซุปเปอร์มาร์เก็ต) จำหน่ายสินค้าที่จำเป็น ประกอบด้วย สินค้าประเภทอาหารและของใช้จำเป็นในครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีกำไรต่ำ จึงต้องบริหารอย่างรัดกุม ลดความสูญเสีย ใช้พื้นที่ไม่มากมักจะเลือกทำเลที่ใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย หรืออยู่ในเส้นทางจราจรที่อำนวยความสะดวกในเส้นทางกลับบ้าน เดิมซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เป็นแผนกหนึ่งในห้างสรรพสินค้า ปัจจุบันมีการแยกตัวเปิดเป็นอิสระหรือแบบ Stand-alone เช่น ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต เคยเป็นแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลและโรบินสัน ปัจจุบันแยกการบริหารโดยมีบริษัท รอแยล เอ โฮล ของเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เน้นขยายสาขาเป็นแบบ Stand-alone ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

5.Convenience Store (ร้านค้าสะดวกซื้อ) เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่พัฒนารูปแบบการจัดการให้เป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เน้นความสะดวกทั้งด้านทำเลที่ตั้ง มีสาขาจำนวนมาก และเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงสินค้าที่ขายเน้นประเภทอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค สนองความต้องการซื้อแบบเร่งด่วน ร้านค้าประเภทนี้ได้ขยายตัวเข้ามาทดแทนร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั้งนี้โดยอาศัยรูปแบบที่สะอาด สะดวก มีการจัดการดีภาพพจน์เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ เช่น ร้าน 7-ELEVEN สามารถขยายสาขาได้ถึง 1,500 สาขา ในเวลาประมาณ 10 ปี ร้าน Am-Pm ร้าน Family Mart นอกจากนี้ยังพบเห็นร้านสะดวกซื้อตามสถานบริการน้ำมันทุกยี่ห้อ เช่น ร้าน Jiffy Sho, Select, Tiger Mart, Star Mart เป็นต้น แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภครุ่นใหม่อย่างชัดเจน

6.Discount Store (ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่) ขายสินค้าครบทุกประเภท ใช้นโยบายราคาถูกทุกวัน(Everday Low Price) หวังยอดขายในปริมาณสูง กำไรต่อหน่วยต่ำ ไม่เน้นบริการและความหรูหรา ถึงแม้การลงทุนสูง แต่เป็นประเภทร้านค้าปลีกที่กำลังได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตสูงสุดในปัจจุบัน เช่น Tesco Lotus, Carrefour, Big-C, Makro ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นร้านค้าปลีกที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างประเทศที่มีกำลังเงินสูงกำลังกล่าวขวัญกันว่าจะทำลายระบบการค้าปลีกเดิม และทำให้ร้านค้าปลีกของคนไทยได้รับความเสียหาย

7.Category Killer (ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เน้นขายสินค้าเฉพาะกลุ่ม) เช่น เครื่องใช้สำนักงานวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้านตกแต่งและสวน และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา อาศัยความชำนาญและความได้เปรียบในการจัดหาสินค้าเฉพาะกลุ่ม จึงทำให้สามารถนำเสนอสินค้าได้ครบถ้วน ราคาถูกและยังมีบริการหลังการขายอีกด้วย เช่น Home Pro ร้านค้าปลีกที่ชำนาญด้านอุปกรณ์แต่งบ้านและสินค้า DIY (Do in Yourself) Power Buy ร้านค้าปลีกสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า Makro Office Center จำหน่ายเฉพาะสายผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สำนักงาน

นอกจากร้านค้าปลีกดังกล่าวยังมีการค้าปลีกที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน (Non-Store Retailing) เป็นรูปแบบการค้าใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างร้านค้า รูปแบบดังกล่าว ได้แก่ การขายตรง (Direct Sales) การตลาดทางตรง (Direct Marketing) การขายผ่านสื่อ (Media Retailing) เครื่องจำหน่วยสินค้าอัตโนมัติ (Automatic Vending Machine), การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) แบบ BZC (Business to consumer)

สรุปแล้วข้อแตกต่างความน่าสนใจของการขยายธุรกิจระหว่าง แฟรนไชส์ กับ Chain Store คือ ขนาดของแต่ละธุรกิจ โดย แฟรนไชส์ จะมีรูปแบบการลงทุนไม่ว่าจะเป็น เงินลงทุน ระบบการบริหารจัดการที่น้อยกว่าใน Chain Store และระบบแฟรนไชส์นั้นมีระบบการบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพได้มาตรฐานเอื้อประโยชน์ในเรื่องการขยายสาขาที่รวดเร็วและครอบคลุมทั่วประเทศได้มากกว่า Chain Store ในขณะที่ Chain Store นั้นจะมีรายละเอียดปลีกย่อย เงินลงทุนที่สูงกว่า และต้องใช้ระยะเวลานานต่อการที่จะขยายสาขาให้ครอบคลุม แต่ก็มีข้อดี คือ หากมีการเปิดสาขาในที่ใดแล้ว สาขานั้นมักจะเป็นสำนักงานหลักในแต่ละพื้นที่ การบริหารจัดการจึงแม่นยำและเป็นมาตรฐานที่สูงกว่านั่นเอง

สำหรับหลายคนที่ยังไม่เข้าใจยังไม่มีประสบการณ์หรือไม่รู้ว่าจะขยายธุรกิจในรูปแบบใดดี ชี้ช่องรวย ขอแนะนำหลักสูตร “Chain Store Management & Franchise System” ที่จะช่วยทำให้คุณค้นหาความต้องการและความเหมาะสมในเรื่องการต่อยอดขยายธุรกิจสาขาว่าจะให้เป็นในรูปแบบใด พร้อมการจัดทำ Operation Manual หรือ คู่มือธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจของคุณมีรูปแบบการบริหารจัดการอย่างมีระบบ เพื่องสร้างมาตรฐานทำให้การขยายธุรกิจขอบคุณมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยง

หลักสูตรนี้สอนโดย ดร. วิชัย เจริญธรรมานนท์ ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟรนไชส์ และ Chain Store มามากกว่า 30 ปี มีประสบการณ์ตรงจากการเป็นที่ปรึกษาบริษัทแถวหน้าของเมืองไทย ที่จะมาให้ความรู้และคำแนะนำดีๆ เรื่องแนวทางการขยายสาขาและธุรกิจ

โดยหลักสูตรนี้ได้เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าเรียนในรุ่นที่ 3 แล้ว หลังจากที่รุ่น 1 และ 2 ได้สอนนักธุรกิจหน้าใหม่หลายราย และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาบริษัทให้มีระบบการจัดการที่ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ยังเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 จำกัดผู้เรียนเพียง 20 ธุรกิจ เท่านั้น สนใจติดต่อสอบถามรายเอียด โทร. 094-915-4624