ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

รู้จักวิธีการสร้างรูปแบบ “คู่มือปฏิบัติการ” ปูทางธุรกิจ “แฟรนไชส์” ให้ผ่าน ฉลุย!


ในการที่จะเปลี่ยนกิจการของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์นั้น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้นั่นก็คือ การทำ “คู่มือปฏิบัติการ” แล้วคู่มือปฏิบัติการนี้มีความสำคัญอย่างไร และมีขั้นตอนการทำอย่างไร ชี้ช่องรวย มีคำตอบค่ะ

หากจะพูดถึงขั้นตอนการทำ คู่มือปฏิบัติการ แม้ไม่ค่อยมีความซับซ้อนแต่ก็จำเป็นต้องใช้ หากอยากให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในอนาคตของคุณประสบความสำเร็จและไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลัง คู่มือปฏิบัติการ จะเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ ต้องใช้เวลาในการจัดทำและมีการทบทวนและแก้ไขจนกระทั่งสามารถใช้งานได้จริง

และแม้ว่าในรายละเอียดแต่ละเรื่องที่สร้างเป็นคู่มืออาจจะดูว่าไม่สำคัญแต่มักจะพบว่าเรื่องเหล่านั้นเป็นความรู้ที่สะสมมาจนเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น จึงต้องมีความละเอียดและพยายามบันทึกจัดระบบเอกสารให้ได้มากที่สุดในทุกๆ กระบวนการทำงาน ดังนี้

1.การกำหนดหัวข้อสำคัญ

โดยจะต้องนำเสนอวิธีการประกอบธุรกิจให้กับคนที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนแต่สามารถให้ความรู้ในการประกอบธุรกิจได้จริงให้กับแฟรนไชส์ และต้องคำนึงถึงวิธีการที่จะสามารถควบคุมและป้องกันการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนรูปแบบส่วนผสมที่สำคัญมาเป็นวัตถุดิบที่ทางสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้นำส่งให้

2.การวางรูปแบบหลักของคู่มือ

เช่น การสร้างลักษณะเฉพาะของเอกสาร การวางขั้นตอน การจัดเก็บเอกสาร และวิธีการวิเคราะห์เพื่อการจัดบันทึก การสร้างดัชนีการวัดคุณภาพของงานเพื่อการประเมินผลในแต่ละขั้นตอน

3.ขั้นตอนและการทำคู่มือต้องชัดเจน

การศึกษาขั้นตอนและการทำคู่มือต้องชัดเจนและสามารถสร้างขึ้นได้ตามการติดตามของทีมที่ปรึกษา (ถ้ามี) การตรวจสอบที่ ร้านค้าพื้นที่จริงเพื่อดูการปฏิบัติงานจริงว่าเป็นไปในรูปแบบที่กำหนดได้หรือไม่

การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์นั้นมีความสำคัญ เนื่องจากแนวคิดการดำเนินธุรกิจของระบบงานสาขา ที่ต้องมีการสร้างทีมงานที่ต้องแบ่งแยกหน้าที่การทำงานชัดเจน และง่ายต่อการหาพนักงานในการทำงานแต่ละขั้น การออกแบบงานภายในร้านจะต้องสามารสร้างวิธีการทำงานให้ง่ายที่สุด เลียนแบบการทำงานระบบรับช่วงหรือระบบสายพานของงานอุตสาหกรรม การวางเป็นแต่ละช่วงนี่เองจึงต้องมีคู่มือที่ใช้สำหรับการฝึกหัดพนักงานในแต่ละขั้นตอน การใช้อุปกรณ์ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ละกระบวนการทำงาน การสร้างเครื่องมืออุปกรณ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ระบบงานแฟรนไชส์จะมีการออกแบบอุปกรณ์ที่จะสามารถรักษามาตรฐานต่างๆในการทำงานทุกๆขั้นตอน

ดังนั้น จึงต้องมีการอธิบายการใช้เครื่องต่างๆอย่างดี นอกจากนั้นคู่มือที่มาเกี่ยวข้องในการบริหารงาน การตลาด บุคคล บัญชี การเงินก็เป็นสิ่งที่จะต้องมีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในกระบวนการทำงานของแฟรนไชส์ซีด้วย

ความเข้าใจเรื่องคู่มือปฏิบัติงานในระบบแฟรนไชส์

ทุกๆ บริษัทที่ใช้ระบบแฟรนไชส์จะต้องมีการจัดทำ “คู่มือปฏิบัติการ” (Operation Manual) เรียกว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน คู่มือเล่มเดียวนี้จะสามารถบอกได้ว่าใครจะต้องทำอะไรและทำอย่างไร เป็นคู่มือที่ใช้ได้ทั้งกับแฟรนไชส์ซีและกับพนักงานทุกคน ถ้าหากปฏิบัติได้ตามคู่มือทุกอย่างก็จะทำให้บริการหรือสินค้านั้น ๆ มีมาตรฐานออกมาเหมือนกันหมดทุกสาขา

มีคนจำนวนมากที่เข้าใจผิดคิดว่าถ้า ถ้าซื้อธุรกิจระบบแฟรนไชส์แล้วจะสบายไม่ต้องทำอะไรมากนัก เป็นหน้าที่ของบริษัทแม่ที่จะต้องช่วยให้ประสบความสำเร็จจนได้ แต่หลักความจริงแล้ว การทำแฟรนไชส์จะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการมากกว่า 80% โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่อีก 20% เท่านั้น อุปสรรคสำคัญในการพัฒนาธุรกิจของไทย โดยเฉพาะในธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจที่ต้องการขยายหลายๆ สาขาให้เติบโต สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมายก็เพราะขาดขบวนการถ่ายทอดที่ได้ผลจริงๆ

ยังมีสิ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ก็คือทีมงาน การขาดทีมงานหรือขาดกำลังคน หรือมีทีมที่ด้อยคุณภาพ นั่นเป็นปัญหาอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ความเข้มแข็งอดทนต่อการทำงานร่วมกันของคนไทย ยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ของการทำธุรกิจในระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ขายแฟรนไชส์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่ได้คัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์มากนัก การเลือกแฟรนไชส์ที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นเคล็ดลับที่สำคัญมากต่อการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ปัญหาทั่วไปในระบบแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ที่ไม่ดีทำแล้วขาดทุน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะความไม่เข้าใจโครงสร้างของธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการสูงสุดคือกำไร แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีการลดต้นทุนแล้วเกิดกำไร การทำธุรกิจในสาขาแรกประสบความสำเร็จอย่างมากและมีกำไรสูงในทุกปียังไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ ความสำเร็จได้ว่าจะสามารถขยายด้วยระบบแฟรนไชส์แล้วจะประสบความสำเร็จด้วย เพราะในแต่ละท้องถิ่นหรือพื้นที่สภาพแวดล้อมต่างกัน อาจจะไม่เป็นไปตามแนวทางเดิมที่สร้างไว้ก็ได้ ควรจะทดลองในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งการสร้างร้านต้นแบบเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่จะสร้างระบบแฟรนไชส์ และบริหารร้านต้นแบบให้ประสบความสำเร็จก่อนที่จะขายแฟรนไชส์

ดังนั้นแล้ว หลักสูตร “Chain Store Management & Franchise System” จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงระบบการจัดทำ “คู่มือปฏิบัติการ” (Operation Manual) ซึ่งเปิดรับสมัครเจ้าของกิจการที่ต้องการเปลี่ยนกิจการให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยรุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ 3 หลังจากที่ รุ่น 1 และ 2 ได้สร้างนักธุรกิจเข้าสู่การวางระบบแฟรนไชส์มาแล้ว

หลักสูตร Chain Store Management & Franchise System รุ่น 3 นี้ จะมีการนำเอาความรู้และประสบการณ์การจัดทำ “คู่มือธุรกิจ” เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานเจ้าของธุรกิจร้านอาหารและร้านสาขา รวมไปถึงธุรกิจแฟรนไชส์ให้ดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ด้วยมาตรฐานสาขา และคุณภาพธุรกิจกับกระบวนการสอนทำ Operation Manual ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรักษาและควบคุมการปฏิบัติของร้านแฟรนไชส์ให้ได้มาตรฐานพร้อมเวิร์กชอปการทำ Operation Manual ในรูปแบบเฉพาะของแต่ละธุรกิจ ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์แบบอัดแน่นและเจาะลึกรวม 3 วัน

สอนโดย ดร. วิชัย เจริญธรรมานนท์ ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟรนไชส์ และ Chain Store มามากกว่า 30 ปี และ มีประสบการณ์ตรงจากการเป็นที่ปรึกษาบริษัทแถวหน้าของเมืองไทย

โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 13 พ.ย. 2563 นี้ โดยจะรับผู้เรียนเพียง 20 ธุรกิจ เท่านั้น สนใจติดต่อสอบถามโทร. 094-915-4624