โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

เคล็ดลับ! 9 ขั้นตอน หากคิดจะเปิด “ร้านเบเกอรี่” ทำได้ตามนี้ รุ่งแน่!

หนึ่งในฝันของคนอยากเป็นเจ้าของกิจการรองจากอาหารและเครื่องดื่มก็คือ การมี “ร้านเบเกอรี่” เล็กๆ ตกแต่งร้านแบบน่ารักๆ บนทำเลที่มีผู้คนพลุกพล่าน ซึ่งก็คงจะเป็นเพียงแค่ความฝัน หากคุณยังไม่เริ่มต้นลงมือทำ สำหรับใครที่มีความฝันแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นหรือยังไม่รู้แนวทางว่าจะทำอย่างไร ชี้ช่องรวย มี 9 เคล็ดลับดีมาแนะนำ ดังนี้

1.คอนเซ็ปต์ร้านต้องชัดเจน

การคิดคอนเซ็ปต์ร้านต้องไม่ไปลอกเลียนแบบใคร เพียงแค่คุณสำรวจความต้องการของตัวเองอาจจะเป็นความชอบส่วนตัว ไลฟ์สไตล์ของคุณแล้วนำมาประยุกต์ให้เข้าความเป็นคุณ สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่าเราจะขายอะไร ขายให้ใคร และลูกค้าชอบอะไร
การวางคอนเซ็ปต์ร้านที่ดี ต้องมาจากการสำรวจความต้องการตลาดที่ถูกต้อง จงจำไว้ว่า “รสชาติ” อาจไม่ใช่จุดขายเสมอไป ในเมื่อจุดขายของร้านไม่ใช่รสชาติ ก็ต้องตอบให้ได้ว่า ลูกค้าต้องมาร้านเราเพราะอะไร

2.ทำเล ใช่แล้วหรือยัง
ทำเล ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะตัดสินว่า ร้านจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลตั้งร้านเบเกอรี่ ไม่ว่าจะเป็น ฐานลูกค้า คู่แข่ง การเข้าถึง ที่จอดรถ รวมไปถึงการมองเห็น นอกจากนี้ ทำเลในหรือนอกห้างสรรพสินค้าก็เป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา

3.ชื่อร้านต้องสะดุดหู

ชื่อของร้านอาหารเปรียบได้กับประตูบานแรกที่ลูกค้าจะรู้จักกับเรา ฉะนั้นให้เวลากับการตั้งชื่อสักนิด เพราะนอกจากจะเป็นตัวบอกว่าร้านเราอยู่ตรงไหนของตลาดแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการทำแบรนด์ดิ้งด้วย

เรื่องเทคนิคตั้งชื่อร้านเบเกอรี่นั้นมีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การเอาชื่อตัวเองมาตั้ง หรือตั้งชื่อตามทำเลที่อยู่ เช่น ปังเมืองชล ตั้งชื่อโดยอิงกับประเภทสินค้าที่ขาย เช่น ร้านปังเว้ยเฮ้ย ที่เน้นขายขนมปัง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะตั้งชื่อแบบไหน ให้พยายามเลี่ยงตั้งชื่อร้านที่เรียกยาก ไม่คุ้นหูคนไทย รวมไปถึงชื่อร้านที่คล้ายๆ กับคู่แข่ง เพราะจะทำให้ลูกค้าสับสน ยิ่งชื่อที่ฟังแล้วติดหูจำง่ายแค่ไหน ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะจดจำเราได้ง่ายขึ้น

4.แหล่งเงินทุน หาจากไหน

ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรหรือแม้กระทั่งขายออนไลน์เอง เงินทุน คือ สิ่งจำเป็นเสมอ แหล่งเงินทุนทำร้านนั้นอาจจะมาจากเงินของเราเอง เงินของครอบครัว หุ้นส่วน หรือธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อสำหรับธุรกิจ แต่กรณีสุดท้ายจำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

การลงทุนทำร้านเบเกอรี่ จะต้องวางแผนเงินลงทุนตั้งต้นช่วงก่อนเปิดร้าน (Pre-operating)ให้ครอบคลุม เช่น เงินมัดจำค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่ง ค่าอุปกรณ์ ค่าวัตถุดิบในตอนต้น ค่าโฆษณาตามช่องทางต่างๆ ฯลฯ แต่ไม่ว่าคุณจะคิดคำนวณเป็นอย่างดีแค่ไหน ก็ต้องเผื่องบประมาณฉุกเฉินไว้อีก 10% เพราะมักมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือแผนเสมอ เช่น ค่าทำกราฟฟิก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม แม้กระทั่งค่าขออนุญาตต่างๆ

นอกจากนี้ยังต้องกันเงินลงทุนสำรองไว้สำหรับช่วงเปิดร้าน 3 เดือนแรก อย่างน้อยต้องให้เพียงพอกับค่าเช่า เพราะเราตอบไม่ได้เลยว่า ช่วงแรกที่เปิดร้านจะมีลูกค้ามากน้อยแค่ไหน การวางแผนเงินทุนสำรองจะช่วยให้ร้านผ่านช่วงที่ยากลำบากนี้ไปได้

5.จัดทำแผนธุรกิจให้ครอบคลุม

ธุรกิจร้านเบเกอรี่เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการเจ๊งสูงมาก คนที่เข้ามาในธุรกิจนี้ล้วนมี passion ที่แรงกล้าโดยมั่นใจว่าถ้า ทำเลดี ร้านสวย ขนมอร่อยยังไงก็ขายได้ แต่สิ่งที่พบเกือบทั้งหมดคือ ไม่มีการทำแผนธุรกิจ (Business Plan) ก่อนหรือแม้แต่ขณะทำร้าน และหลายครั้งมักลงเอยด้วยการขาดทุนเพราะขาดกระแสเงินสด ขายได้แต่ไม่มีกำไรเพราะขาดการบริหารจัดการต้นทุน ฯลฯ

ไม่ว่าคุณจะเริ่มธุรกิจด้วยเงินหลักหมื่น แสน หรือหลักล้าน การทำแผนธุรกิจ (Business Plan) และการศึกษาความเป็นไปได้ในลงทุน (Feasibility Study) จะทำให้เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เสียไปเกิดประโยชน์สูงสุด

การทำธุรกิจโดยขาดการวางแผน เหมือนกับคุณกำลังเดินไปหาเป้าหมายโดยขาดเข็มทิศนำทาง เจ้าของธุรกิจมักลืมไปว่า การที่ร้านเบเกอรี่จะเป็นที่รู้จัก ขายได้ และสำคัญที่สุดคือมีกำไร นอกเหนือจากแค่อาหารอร่อย แต่งร้านสวย ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาด คู่แข่ง ต้นทุนวัตถุดิบ และการลงทุน ฯลฯ
การเขียนรายละเอียดทุกอย่างและแบ่งแยกหมวดหมู่จะทำให้คุณเห็นภาพรวมธุรกิจชัดเจนขึ้น คุณอาจจะเห็นปัญหาหรืออุปสรรคบางอย่างที่คุณไม่เคยคิดมาก่อน เช่น ต้นทุนการดำเนินการและโครงสร้างรายได้พนักงานที่สูง การขออนุญาตทางราชการและภาษีต่างๆ ที่อาจกระทบต่อการเปิดร้าน ซึ่งการที่คุณเจอปัญหาตั้งแต่ในกระดาษย่อมดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดตอนที่เริ่มทำร้านอาหารไปแล้ว เพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาในภายหลัง

6.ออกแบบตกแต่งให้มีเอกลักษณ์

ในยุคที่โซเชียลมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ขนมอร่อยหรือบริการที่ดีเลิศ อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว การตกแต่งร้านที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์ย่อมสร้างโอกาสในการแข่งขัน ทำให้ลูกค้าประทับใจและแชร์ประสบการณ์เหล่านั้นลง Social Media ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว หนทางที่ดีที่สุดในการสร้างร้านให้เป็นไปตามที่เราวาดฝันไว้ คือ การมอบความรับผิดชอบนี้ให้สถาปนิกหรือดีไซเนอร์ เพื่อที่คุณใช้เวลาที่เหลือไปโฟกัสกับการวางแผนด้านอื่นๆ โดยคุณอาจกำหนดงบประมาณการตกแต่ง รวมถึงธีมร้านส่งให้สถาปนิกออกแบบต่อไป

7.จัดทำเมนู Signature

การจัดทำเมนูถือเป็นหนึ่งในงานยากที่สุดงานหนึ่ง เพราะเมนูเป็นมากกว่าแค่รายการเบเกอรี่ที่แสดงราคา แต่คือตัวแทน คือสิ่งที่บอกตัวตนร้าน คือเหตุผลหลักที่ลูกค้าอุตส่าห์เดินทางมา เพื่อลิ้มลองเบเกอรี่ที่คุณตั้งใจนำเสนอ

เบเกอรี่ นอกจากรสชาติจะต้องถูกปาก อีกสิ่งที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องตกแต่งจานให้ดูสวยน่ากิน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าถ่ายรูปและแชร์ ที่สำคัญอาหารจานนั้นต้องสร้างรายได้ให้ร้านอาหารได้ด้วย

การจัดทำ Soft Opening ก่อนเปิดร้านจริง เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทดลองระบบต่างๆ รวมทั้งเมนูอาหารว่าเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ ทั้งในเรื่องของรสชาติ การจัดการ ต้นทุน ฯลฯ คุณควรอัพเดตข้อมูลวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าต้นทุนวัตถุดิบยังอยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้รวมทั้งต้องคอยสังเกต Feedback จากลูกค้าว่ารู้สึกอย่างไรกับรสชาติขนม

8.เฟ้นหาทีมงานคุณภาพ

ต้องยอมรับว่า เมื่อคุณก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้ คุณไม่ได้อยู่ในธุรกิจเบเกอรี่เพียงอย่างเดียว แต่คุณกำลังอยู่ในธุรกิจเกี่ยวกับ “คน” ด้วย ดังนั้น นอกจากเมนูเบเกอรี่แล้ว การบริการที่ดีจากพนักงานผู้เปรียบเหมือนตัวแทนเจ้าของร้าน คือคนสำคัญที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทำให้ร้านคุณแตกต่างจากคู่แข่งและช่วยให้ธุรกิจของคุณมีกำไร

นอกจากนี้ ต้องคิดด้วยว่า หน้าที่ของเจ้าของร้านหลักคือ วางแผน (Planning) ควบคุม(Controlling) และติดตาม (Monitoring) การมีทีมงานดีก็เหมือนกับเรือที่มีคุณภาพสูง หางเสือก็ไม่ต้องทำงานหนัก และทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

9.วางแผนการตลาดให้โดน

หากคุณเริ่มทำการตลาดตอนที่เปิดร้านแล้ว อย่าลืมว่าวันนั้นคุณจะเริ่มมีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเช่า ค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบอาหาร หากร้านคุณขายได้ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าวันนั้นลูกค้ายังไม่รู้จัก นั่นหมายถึงร้านคุณกำลังเสี่ยงต่อการขาดทุนทันที

การทำโปรโมชั่นเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้ามาที่ร้าน แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ลูกค้ากลุ่มหนึ่งอาจเข้ามาลองร้านอาหารคุณเพราะโปรโมชั่นราคา และจะหายไปหากวันหนึ่งคุณเลิกทำโปรโมชั่น ดังนั้น ความสม่ำเสมอต่อเนื่องเรื่องโปรโมชั่นจึงควรมีอยู่ตลอด

สิ่งสำคัญอีกข้อที่ ชี้ช่องรวย อยากจะบอกต่อเพื่อความสำเร็จในอนาคตก็คือ การจัดทำ “คู่มือธุรกิจ” หรือ “คู่มือปฏิบัติการ” (Operation Manual) ที่จะช่วยให้คุณสามารถบริหารจัดการร้านเบเกอรี่ของคุณได้อย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐานเดียวกัน และยังสามารถต่อยอดส่งต่อ How to ขั้นตอนปฏิบัติการอย่างแม่นยำหากในอนาคตคุณมีแผนที่จะขยายสาขา

สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำ “คู่มือธุรกิจ” หรือผู้ประกอบการมือใหม่ที่ต้องการจะเปิดร้านเบเกอรี่แต่ยังไม่มีประสบการณ์บริหารจัดการ ชี้ช่องรวย ขอแนะนำ หลักสูตร “Chain Store Management & Franchise System” ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงระบบการจัดทำ “คู่มือปฏิบัติการ” (Operation Manual) ให้ร้านอาหารของคุณมีระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐานและสามารถต่อยอดธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

โดยที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการหลากหลายธุรกิจให้ความสนใจสมัครเข้ามาฝึกอบรมพร้อมทดลองทำ “คู่มือธุรกิจ” และได้นำคู่มือฉบับนี้ไปใช้ได้จริง ซึ่งเปิดรับสมัครในรุ่นที่ 3 แล้วหลังจากที่ รุ่น 1 และ 2 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

หลักสูตร Chain Store Management & Franchise System รุ่น 3 นี้ จะมีการนำเอาความรู้และประสบการณ์การจัดทำ “คู่มือธุรกิจ” เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานเจ้าของธุรกิจร้านอาหารและร้านสาขา รวมไปถึงธุรกิจแฟรนไชส์ให้ดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ด้วยมาตรฐานสาขา และคุณภาพธุรกิจกับกระบวนการสอนทำ Operation Manual ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรักษาและควบคุมการปฏิบัติของร้านแฟรนไชส์ให้ได้มาตรฐานพร้อมเวิร์กชอปการทำ Operation Manual ในรูปแบบเฉพาะของแต่ละธุรกิจ ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์แบบอัดแน่นและเจาะลึกรวม 3 วัน

สอนโดย ดร. วิชัย เจริญธรรมานนท์ ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟรนไชส์ และ Chain Store มามากกว่า 30 ปี และ มีประสบการณ์ตรงจากการเป็นที่ปรึกษาบริษัทแถวหน้าของเมืองไทย

หลักสูตรนี้ จะรับผู้ประกอบการที่สนใจเพียง 20 ธุรกิจ เท่านั้น หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 094-915-4624