ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

“ร้านโชห่วย” อยู่รอดอย่างไรในช่วงโควิด 19 ระบาดระลอก 2


ในช่วงที่ โควิด-19 กลับมาระบาดระลอก 2 ทำให้ผู้คนต้องหันกับมาป้องกันตัวเองมากขึ้น ซึ่งในระลอก 2 ดูเหมือนว่าจำนวนผู้ติดเชื่อจะมากขึ้นและไวกว่ารอบแรก ทำให้ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจธุรกิจอย่างร้าน “โชห่วย” ตามแหล่งชุมชนกับสวนกระแสเพราะมีลูกค้าหันมาซื้อสินค้ากันมากขึ้น เรียกว่าเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤต แต่จะทำอย่างไรให้ “ร้านโชว์ห่วย” เล็กๆ ได้ถือโอกาสสร้างศักยภาพและพัฒนาปรับปรุงให้เป็นร้านที่น่าซื้อ สามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง ชี้ช่องรวย มี 4 กลยุทธ์ดีๆ มาฝากดังนี้

1.เพิ่มบริการส่งแบบ Delivery

สำหรับร้านค้าโชว์ห่วยในชุมชนที่เป็นที่รู้จักของกลุ่มคนในหมู่บ้าน อาจใช้วิธีให้ลูกค้าโทรสั่งสินค้าแล้วนำไปส่งให้ลูกค้าถึงบ้านหรือที่พัก ถือเป็นการบริการที่สามารถสร้างยอดขายในช่วงวิกฤตได้ นอกจากนี้ คุณยังคงต้องเช็คสต๊อกสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้หาสินค้ามาเติมให้เต็ม เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที

2.เน้นขายสินค้าผ่านออนไลน์และเพิ่ม Customer Engagement ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

เจ้าของร้านโชว์ห่วยจะต้องเตรียมความพร้อมด้วยการเพิ่มระบบการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ให้สามารถรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นมาก รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้า พร้อมทั้งศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าด้วยที่หันมาซื้อสินค้าออนไลน์จะเป็นโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคได้ตลอดเวลา เจ้าของร้านโชว์ห่วยอย่างคุณจึงควรใช้โอกาสนี้หันมาขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น

3.ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกค้าเป็นอันดับแรก

โดยเน้นปรับปรุงการบริการต่าง ๆ เพื่อแสดงออกถึงความเอาใจใส่และห่วงใยต่อทั้งผู้บริโภคและพนักงาน เสริมสร้างภาพลักษณ์ของร้านค้าเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและความประทับใจจากลูกค้า โดยอาจนำเอาบริการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างเช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น การจัดให้มีเวลาที่เปิดให้บริการสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้โดยเฉพาะเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อและป้องกันการขาดแคลนสินค้าจำเป็น รวมถึงการพัฒนารูปแบบการส่งสินค้าใหม่ ๆ เช่น การส่งสินค้าแบบไร้การสัมผัส เป็นต้น

4.เตรียมความพร้อมให้บริการหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย

โดยคุณควรเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของการบริหารจัดการสต็อกสินค้าและอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะกลับมาฟื้นตัวภายหลังวิกฤติ หรืออาจใช้โอกาสที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยหรือในช่วงที่ต้องปิดการให้บริการในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการกลับมาเข้าใช้บริการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นภายหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลาย