โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

แจกสูตรคำนวณ “จุดคุ้มทุน” ได้เท่าไหร่ถึงจะไม่ขาดทุน

การคำนวณ “จุดคุ้มทุน” ถือเป็นเรื่องสำคัญของการทำธุรกิจ ส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการรายเล็กมักจะไม่ค่อยใส่ใจเรื่องนี้ซักเท่าไหร่นัก วันนี้ ชี้ช่องรวย จึงอยากจะมาบอกให้เห็นถึงความสำคัญรวมไปถึงสูตรการคำนวณให้ได้ทราบกัน

“จุดคุ้มทุน” คืออะไร คิดง่าย ๆ ก็คือ จำนวนของรายได้ที่ต้องมากพอกับค่าใช้จ่ายของกิจการในแต่ละเดือน ซึ่งหากมีรายได้ที่มากกว่าจุดคุ้มทุน เรียกว่า “กำไร” และในทางตรงข้าม รายได้ที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนก็คือ ขาดทุนนั่นเอง เราสามารถเขียนเป็นสมการเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจุดคุ้มทุน ต้นทุน และราคาขายได้ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1

  • จุดคุ้มทุน (บาท) = จุดคุ้มทุน (หน่วย) X ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนคงที่รวม + ตันทุนแปรผันรวม

วิธีที่ 2

  • จุดคุ้มทุน (บาท) = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย – ตันทุนแปรผันรวม)

ต้นทุนคงที่ หมายถึง ค่าใช้จ่ายรายเดือน ในส่วนที่ไม่ขึ้นกับจำนวนการผลิต โดยมากจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น ค่าเช่าร้าน

ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าต่อ 1 ชิ้น เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน

ยกตัวอย่าง

ร้านขายไก่ทอด มีต้นทุนคงที่ 5,000 บาท / เดือน ตันทุนแปรผันชิ้นละ 20 บาท ตั้งราคาขายอยู่ที่ชิ้นละ 30 บาท

ดังนั้น จุดคุ้มทุน = 5,000 / (30 - 20) = 500 ชิ้น หมายความว่า ร้านไก่ทอดต้องขายให้ได้ 500 ชิ้น / เดือน จึงจะคุ้มทุน หรือ ขายได้มากกว่า 500 ชิ้น ถึงจะมีกำไร

นอกจากนี้ยังมีการวิธีการลด จุดคุ้มทุน ให้ต่ำลง ธุรกิจก็จะสามารถคืนทุน และสร้างกำไรได้รวดเร็วขึ้นด้วยการผลิตและยอดขายที่น้อยลง ซึ่งจากสูตรการคำนวณ จะเห็นได้ว่า การลดจุดคุ้มทุน ทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนคงที่ ลดต้นทุนแปรผัน หรือเพิ่มราคาขายต่อหน่วย จากตัวอย่าง เพื่อต้องการลดจุดคุ้มทุนลง ยกตัวอย่างจาก ร้านไก่ทอด อาจปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ดังนี้

  • ลดต้นทุนคงที่ เช่น เปลี่ยนจากการเช่าหน้าร้าน เป็นการขายออนไลน์ ทำให้ต้นทุนคงที่เหลือ 3,000 บาท ดังนั้น จุดคุ้มทุน = 3,000 / (30-20) = 300 ชิ้น
  • ลดต้นทุนแปรผัน เช่น ต่อรองราคาวัตถุดิบได้ในราคาที่ถูกลงเหลือหน่วยละ 15 บาท ดังนั้น จุดคุ้มทุน = 5,000 / (30-15) = 333 ชิ้น
  • เพิ่มราคาขาย เป็น 35 บาท ดังนั้น จุดคุ้มทุน = 5,000 / (35-20) = 333 ชิ้น

จากตัวอย่างข้างต้นสามารถนำตัวเลขของ จุดคุ้มทุน ไปเทียบกับการคาดการณ์ยอดขายในแต่ละเดือนเพื่อดูความเป็นไปได้ของธุรกิจ เช่น ร้านไก่ทอด ต้องข่ายไก่ให้ได้มากกว่า 500 ชิ้น / เดือน หรือเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 17 ชิ้น เพื่อให้เท่าทุน หรืออาจตั้งยอดขายให้สูงกว่า 17 ชิ้น เพื่อให้ได้กำไร จากตัวเลขดังกล่าวเราสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่า ทำเลที่ตั้งร้าน หรือ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสที่จะขายได้ตามเป้าที่วางไว้หรือไม่

นอกจากนี้ หากในกรณีที่ธุรกิจมีกำลังการผลิตที่จำกัด อีกหนึ่งวิธีในการปรับกลยุทธ์ คือ การปรับราคาขาย โดยเราสามารถดัดแปลงสมการจุดคุ้มทุน เพื่อใช้หาราคาขายขั้นต่ำ ดังนี้

  • ราคาขาย = (ต้นทุนคงที่รวม / จำนวนสินค้าที่ผลิตและขายได้) + ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย

หมายถึง หากร้านไก่ทอด มีกำลังการผลิตอยู่ที่เดือนละ 600 ชิ้น ดังนั้น ราคาขาย = (5,000 / 600) + 20 ต้องขายไก่ทอดมากกว่าชิ้นละ 285.33 บาท ขึ้นไป เพื่อไม่ให้ขาดทุนนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า การเพิ่มหรือลดค่าใช้จ่ายคงที่ ค่าใช้จ่ายผัรแปร ราคาขาย และยอดขาย ต่างมีจุดคุ้มทุนทั้งสิ้น ซึ่งการคำนวณจุดคุ้มทุนข้างต้นเป็นเพียงตัวเลขที่ตั้งบนสมมติฐาน หากนำไปใช้จริงอย่าลืมมองโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อได้ตัวเลขออกมาที่สมเหตุสมผลที่สุด