โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

กระทรวงเกษตรฯ ชวน “เลี้ยงจิ้งหรีด” ฟาร์มมาตรฐานส่งออกต่างประเทศ รายได้ 1.6 ล้านต่อเดือน

ตลาดต้องการอื้อ! กระทรวงเกษตรฯ ชวนเกษตรกร “เลี้ยงจิ้งหรีด” แบบฟาร์มมาตรฐาน ชี้ เมืองนอกต้องการ ให้ผลผลิตเร็ว รายได้ 1.6 ล้านต่อเดือน

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด ชุติกาญน์ ของคุณชุติกาญจน์ เจี้อยแจ้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่จิ้งหรีดท่าชัย-ศรีสัชนาลัย ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

นายประพัตร ระบุว่า “ฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดชุติกาญน์” เป็นฟาร์มจิ้งหรีดที่ได้มาตรฐานสากลด้านสุขอนามัยและการแปรรูปที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดในประเทศไทยและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าต่างประเทศ

วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่จิ้งหรีดท่าชัย-ศรีสัชนาลัย มีสมาชิก 36 ราย เลี้ยงจิ้งหรีดในระบบโรงเรือนทั้งแบบปิดและแบบเปิดแปลงใหญ่ ผ่านการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด GAP)

ปัจจุบันส่งออกตลาดต่างประเทศ เช่น สหรัฐ เม็กซิโก สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มอียู ฯลฯ รูปแบบผงโปรตีนจากจิ้งหรีด 100% เพื่อนำไปทำพาสต้า ส่วนลูกค้าในประเทศจะเน้นจำหน่ายออนไลน์ทั้งปลีก-ส่ง ทั้งผงโปรตีนจากจิ้งหรีด 100% ซึ่งนำไปเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ และแปรรูปเป็นจิ้งหรีดอบกรอบปรุงรส ข้าวเกรียบ คุกกี้ และน้ำพริก มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 1.6 ล้านบาท หรือประมาณ 19.2 ล้านบาทต่อปี

ซึ่งสมาชิกของกลุ่มจะเน้นเลี้ยงจิ้งหรีดพันธุ์สะดิ้งเป็นหลัก ซึ่งแต่ละเดือนแม้ผลิตได้นับสิบตัน แต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะผงโปรตีนจากจิ้งหรีดซึ่งส่งออก 90% มีจำหน่ายภายในประเทศเพียง 10% เท่านั้น

เนื่องจากจิ้งหรีดเป็นอาหารโปรตีนคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ให้ให้ผลผลิตเร็ว ดังนั้น การเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อส่งออกถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจจึงในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

รมช.เพิ่มเติมว่า แม้จะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าส่งออกสูง แต่ยังประสบกับปัญหาต้นทุนอาหารที่แพง ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เข้ามาดูแลคิดค้นสูตรอาหารเพื่อลดต้นทุน และให้มีคุณภาพ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะเดินหน้าส่งเสริมสนับสนุนให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ หันมาเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริมในช่วงหน้าแล้ง ในรูปแบบฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะสร้างความยั่งยืนในการเลี้ยงสัตว์ปลอดจากโรค และได้สินค้าที่ปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค