ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

เปรียบเทียบ 3 ประเภท “แฟรนไชส์” ต่างกันอย่างไร ลงลงทุนแบบไหนถึงจะเหมาะกับตัวคุณ


วันนี้ ชี้ช่องรวย จะมาเปรียบเทียบ ความแตกต่างของ Product and Brand Franchise, Business Format Franchise และ Conversion Franchise ว่ามีความแตกต่าง มี ข้อดี ข้อด้อย อย่างไร เพื่อให้คุณพิจารณาประกอบการตัดสินใจว่าคุณเหมาะที่จะลงทุนแฟรนไชส์แบบไหน

Product and Brand Franchise

ในเมืองไทยที่พบเห็นกันมาก โดยรูปแบบของธุรกิจจะอยู่ในแนวแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ขายอุปกรณ์ วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์บางส่วนให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ร้านชา 25 บาท, ลูกชิ้นปิ้ง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น ซึ่งหากจะขยายสาขาเจ้าของธุรกิจจะต้องสร้างรูปแบบร้าน และการสอนงานให้ผู้สนใจ สามารถผลิตสินค้าหรือขายสินค้า ให้เหมือนกันกับร้านต้นทางของแฟรนไชส์ซอร์ ผลกำไรที่ได้จะมาจากสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละสาขา

ถ้าแฟรนไชส์ซอร์มีอำนาจการซื้อมาก ก็จะได้กำไรมาก ซึ่งแฟรนไชส์ประเภทนี้จะไม่มีการเรียกเก็บค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) รายเดือนจากแฟรนไชส์ซี แต่จะเรียกเก็บเพียงแค่ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่แฟรนไชส์ประเภทนี้จะใช้เงินลงทุนต่ำ เริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสน จ่ายครั้งเดียวก็เปิดร้านได้เลย ธุรกิจแฟรนไชส์รูปแบบ Product Franchise บางครั้งอาจไม่ได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์ จึงมีโอกาสไม่สำเร็จก็มีสูง

Business Format Franchise

จะเป็นรูปแบบ แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดระบบของการดำเนินธุรกิจให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่างๆ รวมทั้งแผนการตลาด โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี จะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์

โดยแฟรนไชส์ซอร์จะมีการถ่ายทอดระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจที่สำเร็จมาแล้ว เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งนี้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ โดยยึดถือประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด กาแฟอเมซอน เป็นต้น

Business Format Franchise ถือเป็นการซื้อระบบธุรกิจที่สมบูรณ์แบบจากแฟรนไชส์ซอร์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายเงินค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty fee) หรือค่าสัมปทานตามที่ตกลงไว้ เมื่อได้รับสิทธิแล้วแฟรนไชส์ซีจะได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์ ภายใต้แผนการและขั้นตอนโดยละเอียด เกี่ยวกับเกือบทุกแง่มุมของธุรกิจ การฝึกอบรมและการสนับสนุนเบื้องต้นและต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนหมดอายุสัญญาแฟรนไชส์

CONVERSION FRANCHISE

ระบบแฟรนไชส์ในรูปแบบนี้มีศักยภาพสำหรับการเติบโตอย่างรวดเร็วในแง่ของหน่วยและรายได้ค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง หลายแห่งเติบโตขึ้นโดยการแปลงธุรกิจอิสระในอุตสาหกรรมเดียวกันเป็นหน่วยแฟรนไชส์

Franchisee รับเอาเครื่องหมายการค้าโปรแกรมการตลาดและการโฆษณาระบบการฝึกอบรมและมาตรฐานบริการลูกค้าที่สำคัญ อีกทั้งยังเพิ่มการออมเพื่อการจัดหา อาทิ บริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์, ร้านดอกไม้, บริษัทบริการมืออาชีพ เช่น ช่างประปาช่างไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศและอื่น ๆ เป็นระบบแฟรนไชส์ที่เหมาะกับผู้ประกอบการอิสระที่มีอยู่เดิม ที่ต้องการให้ธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ซึ่งมีรูปแบบ หรือ ใช้เครื่องหมายทางการค้าที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค

ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีเงินทุนไม่เพียงพอ นิยมแฟรนไชส์ประเภทนี้ เพราะถ้าดำเนินกิจการโดยอิสระเพียงลำพัง อาจต้องเจอปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง และไม่สามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้ แฟรนไชส์รูปแบบนี้จึงอาจเป็นการร่วมทุนกันระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ และผู้ซื้อ ซึ่งต้องพิจารณาผลเสียที่ว่า การดำเนินงานจะถูกควบคุมจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่าการดำเนินธุรกิจโดยปกติและผลตอบแทนที่ได้ต้องแบ่งกับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วน ตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์ธุรกิจโรงแรม